ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สเปกสูง ทำงานเยอะจนไม่มีเวลาหาคู่ คนไทยขอเป็นโสด?

สังคม
27 พ.ค. 67
17:14
2,582
Logo Thai PBS
สเปกสูง ทำงานเยอะจนไม่มีเวลาหาคู่ คนไทยขอเป็นโสด?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภาพัฒน์ฯ เผย ปี 2566 คนไทยวัยเจริญพันธุ์ อายุระหว่าง 15-49 ปี เป็นคนโสดถึง 40.5% ขณะที่การแต่งงานลดลง และการหย่าร้างเพิ่มสูงขึ้น คนโสดที่มีรายได้ดีไม่มีลูก เน้นใช้จ่ายเพื่อความสุขของตน ขณะที่ปัญหาสุขภาพจิตยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสังคมไทย

วันนี้ (27 พ.ค.2567) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงเรื่องภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 โดยข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) พ.ศ.2566 พบว่าคนไทยครองตัวเป็นโสดมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 23.9 หรือ 1 ใน 5 ของคนไทย และหากพิจารณาเฉพาะช่วงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ 15-49 ปีจะมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40.5 สูงกว่าภาพรวมประเทศเกือบเท่าตัว และเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2560 (ร้อยละ 35.7) โดย ร้อยละ 50.9 อยู่ในช่วงอายุ 15 – 25 ปี

สัดส่วนการแต่งงานในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ปี 2560 -2566 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ ร้อยละ 52.6 ลดลงจากปี 2565 ที่อยู่ที่ร้อยละ 53.2 และลดลงจากปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 57.9

ขณะเดียวกันการหย่าร้างในอัตราที่สูงขึ้น โดยในปี 2566 มีประมาณ 400,000 คู่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 22

โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสดแบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ

1) ค่านิยมทางสังคมของการเป็นโสดยุคใหม่ อาทิ “SINK (Single Income,No Kids)” หรือคนโสดที่มีรายได้และไม่มีลูก” เน้นใช้จ่ายเพื่อตนเอง จากข้อมูล SES ในปี 2566 พบว่า สัดส่วนคนโสด SINK สูงขึ้นตามระดับรายได้ “PANK (Professional Aunt, No Kids)” หรือกลุ่มผู้หญิงโสดอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ อาชีพการงานดีและไม่มีลูก” ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลหลาน เด็กในครอบครัวรอบตัว

โดยคนโสด PANK มีจำนวน 2.8 ล้านคน ส่วนใหญ่มีรายได้ดีและจบการศึกษาสูง และ “Waithood” กลุ่มคนโสดที่เลือกจะรอคอยความรักเนื่องจากความไม่พร้อม ไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากคนโสดร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 37.7 ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากถึงร้อยละ 62.6 มีระดับการศึกษาที่ไม่สูงนัก ทำให้ความสามารถในการหารายได้จำกัด

2) ปัญหาความต้องการ ความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน เป็นผลจากความคาดหวังทางสังคมและทัศนคติต่อการมองหาคู่ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยบริษัท มีทแอนด์ลันช์ สาขาประเทศไทย (2021) พบว่าผู้หญิงกว่าร้อยละ 76.0 จะไม่เดทกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า และร้อยละ 83.0 ไม่คบกับผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า ขณะเดียวกัน ผู้ชายร้อยละ 59.0 จะไม่คบกับผู้หญิงตัวสูงกว่า และอีกว่าร้อยละ 60.0 ไม่เดทกับผู้หญิงที่เคยหย่าร้าง

3) โอกาสในการพบปะผู้คน โดยใน พ.ศ.2566 คนโสดมีชั่วโมงการทำงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ โดยข้อมูลจาก LFS สำนักงานสถิติแห่งชาติ เฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมง/สัปดาห์ สูงกว่าภาพรวมประเทศ (42.3 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมง/สัปดาห์)

อีกทั้งกรุงเทพฯ ยังจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก ทำให้คนโสดไม่มีโอกาสในการมองหาคู่

4) นโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐยังไม่ต่อเนื่องและครอบคลุมความต้องการของคนโสด โดยนโยบายส่งเสริมการมีคู่ของไทยในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนัก โดยเน้นไปที่กลุ่มคนโสดที่มีความพร้อม ขณะที่ ในต่างประเทศมีแนวทางการส่งเสริมการมีคู่ที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างโอกาสในการมีคู่

ทั้งนี้ มีแนวทางสนับสนุนให้คนมีคู่ ดังนี้

1) การสนับสนุนเครื่องมือการ Matching คนโสด โดยภาครัฐอาจร่วมมือกับผู้ให้บริการพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมให้คนโสดสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น

2) การส่งเสริมการมี Work-life Balance ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทำให้คนโสดมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น และเพิ่มโอกาสให้คนโสดมีเวลาทำกิจกรรมที่ชอบและพบเจอคนที่น่าสนใจมากขึ้น

3) การยกระดับทักษะที่จำเป็นในการทำงาน เพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงานและรายได้ซึ่งคนโสดยังมีโอกาสพบรักจากสถานศึกษาได้อีกด้วย

4) การส่งเสริมกิจกรรมและการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนโสดมีโอกาสพบปะและสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆได้

อ่านข่าว : หนี้เสียสินเชื่อบ้านพุ่ง “สภาพัฒน์ฯ”เตือนสัญญาณอันตราย

คนไทยป่วยจิตเวชเพิ่ม เสี่ยงเครียด-ซึมเศร้า-ฆ่าตัวตาย

สำหรับปัญหาสุขภาพจิตยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสังคมไทย โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น จาก 1.3 ล้านคน ในปี 2558 เป็น 2.9 ล้านคน ในปี 2566 ซึ่งหากพิจารณาในรายละเอียด จะพบประเด็นที่มีความน่ากังวล ดังนี้

1.แม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 2.9 ล้านคน แต่ผู้มีปัญหาอาจมากถึง 10 ล้านคน ทำให้สัดส่วนผู้มีปัญหาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก และสะท้อนให้เห็นว่ายังมีผู้ที่ไม่ได้เข้ารับรักษาเป็นจำนวนมาก

2.ผู้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมีสัดส่วนสูงเช่นกัน โดยระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2566 – 22 เม.ย.2567 พบผู้มีความเครียดสูงถึงร้อยละ 15.48 เสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 17.20 และเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 10.63 ซึ่งแย่ลงกว่าในช่วงปีที่ผ่านมา

3) ปัญหาสุขภาพจิตไม่เพียงกระทบต่อตนเอง แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดคิด องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของประชากรทั่วโลก ทำให้วันทำงานหายไปประมาณ 12 พันล้านวัน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

4) เกือบ 1 ใน 5 ของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตไม่สามารถดูแลตนเองได้ ทำให้ครัวเรือนต้องจัดหาผู้ดูแลและเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ไม่ถึง 1 ใน 4 ที่ได้รับการติดตามดูแลและเฝ้าระวังตามแนวทางที่กำหนด

5) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความกดดันส่งผลให้คนไทยเป็นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลมากขึ้น ในงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบสัดส่วนผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า สูงเป็น 2 อันดับแรก สูงกว่าผู้ป่วยติดยาบ้าและยาเสพติดอื่น ๆ รวมกัน

6) การฆ่าตัวตายสูงใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 7.94 ต่อประชากรแสนคน ใกล้เคียงช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง (8.59 ต่อประชากรแสนคน)

7) ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตภายใน จากการศึกษาในประเทศอังกฤษพบว่า มลพิษทางอากาศส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าในเยาวชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ซึ่งไทยต้องเฝ้าระวังเนื่องจากกำลังประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

นอกจากนี้ หากพิจารณาตามช่วงวัย พบว่าวัยเด็กและเยาวชนมีปัญหาสุขภาพจิตที่น่ากังวลหลายเรื่องโดยเฉพาะความเครียด ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเรียนและความคาดหวังด้านการทำงานในอนาคต และสถานะทางการเงินของครอบครัว นอกจากนี้การกลั่นแกล้ง (Bully) ในโรงเรียน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า

วัยทำงานความรับผิดชอบสูง และหลายปัญหารุมเร้า บริษัท Kisi พบว่า ในปี 2565 กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 5 จาก 100 เมืองทั่วโลกที่มีผู้คนทำงานหนักเกินไป สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า คนกรุงเทพฯ 7 ใน 10 หมดไฟในการทำงาน อีกทั้ง ข้อมูลจากสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต พบว่า ปี 2566 วัยแรงงานขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงานถึง 5,989 สาย จากทั้งหมด 8,009 สาย

สำหรับ ผู้สูงวัยต้องอยู่กับความเหงาและโดดเดี่ยว สูญเสียคุณค่าในตนเอง ในปี 2566 พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 84.93 มีความสุขในระดับที่ดีแต่จะลดน้อยลงตามวัย ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดกิจกรรมและบทบาททางสังคม อีกทั้ง ยังพบผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้น และมีผู้สูงอายุอีก 8 แสนคน มีภาวะความจำเสื่อม ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพจิตด้านอื่นร่วมด้วย

สถานการณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาสุขภาพจิตต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งการป้องกันต้องสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันทางสังคม โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว เน้นเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

การรักษา เร่งเพิ่มบุคลากรด้านสุขภาพจิตให้เพียงพอรวมทั้งขยายบริการการรักษาผู้ป่วยจิตเวชในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด อีกทั้งต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการบริการ

รวมถึงการติดตามและฟื้นฟูเยียวยา ต้องจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพจิตที่ครอบคลุม เร่งติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงให้ได้รับการรักษาต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนและสังคม ในการส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพจิตใจและขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิต

Sandwich Generation กับการดูแลคนหลายรุ่น

แซนด์วิช เจเนอเรชัน (Sandwich Generation) มักใช้เรียกคนที่อยู่ตรงกลางที่ต้องรับผิดชอบดูแลทั้งพ่อแม่สูงอายุและลูกของตนเองที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากประชากรสูงวัยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่วัยแรงงานมีจำนวนลดลงหรือเท่าเดิม 

โดยครัวเรือนไทยที่มีลักษณะเป็น Sandwich มีจำนวนทั้งสิ้น 3.4 ล้านครัวเรือน ในปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 14.0 ของครัวเรือนทั้งหมด ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560 โดยส่วนใหญ่เป็นครัวเรือน 3 รุ่น 

และครัวเรือน Sandwich แม้สมาชิกส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน แต่มีอัตราการพึ่งพิงสูงกว่าครัวเรือนประเภทอื่นเนื่องจากวัยสูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ขณะที่วัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง อีกทั้งสมาชิกครัวเรือน Sandwich ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ โดยร้อยละ 47.2 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเป็นแรงงานทั่วไป ขณะที่หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 31.9 ทำงานส่วนตัว ทำให้กว่าร้อยละ 80 ขาดหลักประกันรายได้ที่มั่นคงในยามเกษียณอีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีทรัพย์สินทางการเงินเพื่อการออมน้อย

คนกลุ่มนี้มีภาระต้องแบกรับ ทำให้มีความเปราะบางทางการเงิน โดย 49.1% ของครัวเรือนกลุ่มนี้มีรายได้สุทธิคงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 และ 69.8 ยังมีภาระหนี้สินอีกทั้ง ภาระหนี้สินต่อรายได้ต่อเดือนยังสูงกว่าภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศ ส่งผลต่อความสามารถทางการเงินในระยะยาว

อ่านข่าว : 

อคส.เปิด TOR ขายข้าวค้างโกดัง 10 ปี ยื่นเสนอซื้อ 17 มิ.ย.67

“ภูมิธรรม” แจง อย่าด้อยค้าข้าวไทยกันเอง ย้ำข้าว 10 ปี มีคุณภาพ

เช็กขั้นตอนตรวจ โมบายแบงก์กิ้ง-ซิมมือถือชื่อเดียวกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง