14 ตุลา คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง
เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 วันมหาวิปโยคหรือวันมหาปิติ เป็นเหตุการณ์ปราบปราม ผู้ประท้วง บริเวณพระบรมมหาราชวัง และถนนราชดำเนินอย่างรุนแรง โดยรัฐบาล นายกรัฐมนตรี จอมพลถนอม กิตติขจร จนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และผู้สูญหาย อีกเป็นจำนวนมาก
วันมหาวิปโยค หรือ วันมหาปิติ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองจากเหตุรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 คน โดยเกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 แม้ด้านนึงจะเป็นโศกนาฎกรรม แต่อีกด้านก็ถือเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของกลุ่มประชาชนคนไทยเพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการ เหตุการณ์นี้มีอีกชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า “14 ตุลา” ถือเป็นคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญของประเทศไทย
วันมหาวิปโยค หรือ วันมหาปิติ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองจากเหตุรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 คน โดยเกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 แม้ด้านนึงจะเป็นโศกนาฎกรรม แต่อีกด้านก็ถือเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของกลุ่มประชาชนคนไทยเพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการ เหตุการณ์นี้มีอีกชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า “14 ตุลา” ถือเป็นคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญของประเทศไทย
14 ตุลา วันแห่งการต่อสู้ เรื่องเล่าแห่งความทรงจำอันเต็มไปด้วยเหตุชุลมุน ขณะที่ความหวังได้รับการเติมเต็มจากการเคลื่อนไหวอันมหาศาลของผู้คน แต่เสียงปริศนา ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น กลายเป็นปริศนาที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์ต่างบอกเล่าความจำเพื่อนำไปสู่ความจริงที่เกิดขึ้น
14 ตุลา ในมุมของนักศึกษาผู้ชุมนุมได้มีนิยามยุคสมัยนั้นว่า ยุคแสวงหา สำนึกของคนรุ่นใหม่ในยุคดังกล่าวเป็นอย่างไร กลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวมีการเดินทางทางความคิดของแต่ละคนอย่างไรบ้าง ? จึงได้เกิดจุดร่วมและกลายเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่บนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา แท้จริงแล้วมีรากทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยยาวนาน หากจะให้มองหาจุดเริ่ม อาจย้อนไปไกลนับแห่งช่วงเวลาที่ประเทศยังอยู่ในการปกครองของชนชั้นนำ รัฐประหารเปลี่ยนมือเปลี่ยนกลุ่มอำนาจการปกครอง นี่คือช่วงเวลาก่อนความเคลื่อนไหวจะปรากฏ