วันนี้ (29 ต.ค. 67) ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกรณีคดีตากใบหมดอายุความ 20 ปี ไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 67 โดยไม่สามารถตามตัวจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เลย ว่า กฎหมายไทยไม่สากล ในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น หากจำเลยหลบหนีคดีอายุจะความหยุดทันที
“อายุความในต่างประเทศคือการเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเร่งดำเนินคดี มุ่งคุ้มครองเหยื่อ ไม่ใช่คุ้มครองผู้ต้องหา ของไทยแม้จำเลยหนี อายุความยังนับต่อ ยิ่งส่งเสริมการหนีคดี พอหมดอายุความก็กลับมาทำงานใหม่ เป็นเรื่องต้องแก้ไข”
ส่วนกรณีการหยุดอายุความกฎหมายตอนนี้ที่มีนั้น ผศ. ปริญญา กล่าวว่า ต้องกรณีคอร์รัปชันที่ ป.ป.ช. ฟ้อง แต่ในคดีอาญา หากจะให้หยุดอายุความ ต้องแก้มาตรา 95 แต่แก้แล้วจะให้มาใช้กับกรณีตากใบ คงยาก เพราะขาดอายุความไปแล้ว
“แม้คดีตากใบขาดอายุความไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลยกฟ้อง และแม้ตามหลักของรัฐธรรมนูญยังระบุว่าอดีตจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา แต่การที่จำเลยหนีคดีจนทำให้อายุความขาด ก็เป็นมลทินที่เขาหนีคดี”
ผศ. ปริญญา กล่าวอีกว่า เสนอให้แก้ มาตรา 95 ในกฎหมายอาญาของไทย แนวทางที่ 1.อาจให้หยุดอายุคดีอาญาลง ถ้าศาลรับฟ้องแล้ว หรือจำเลยหนี หรือ 2.คดีคอร์รัปชัน หรือคดีที่เป็นความผิดต่อประชาชน ต่อประเทศ ต้องไม่มีอายุความ อย่างไม่ว่าเวลาจะผ่านไป 30-40 ปี หากจับตัวได้ ก็ต้องนำมาดำเนินคดีวันนี้ (29 ต.ค. 67) ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกรณีคดีตากใบหมดอายุความ 20 ปี ไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 67 โดยไม่สามารถตามตัวจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เลย ว่า กฎหมายไทยไม่สากล ในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น หากจำเลยหลบหนีคดีอายุจะความหยุดทันที
“อายุความในต่างประเทศคือการเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเร่งดำเนินคดี มุ่งคุ้มครองเหยื่อ ไม่ใช่คุ้มครองผู้ต้องหา ของไทยแม้จำเลยหนี อายุความยังนับต่อ ยิ่งส่งเสริมการหนีคดี พอหมดอายุความก็กลับมาทำงานใหม่ เป็นเรื่องต้องแก้ไข”
ส่วนกรณีการหยุดอายุความกฎหมายตอนนี้ที่มีนั้น ผศ. ปริญญา กล่าวว่า ต้องกรณีคอร์รัปชันที่ ป.ป.ช. ฟ้อง แต่ในคดีอาญา หากจะให้หยุดอายุความ ต้องแก้มาตรา 95 แต่แก้แล้วจะให้มาใช้กับกรณีตากใบ คงยาก เพราะขาดอายุความไปแล้ว
“แม้คดีตากใบขาดอายุความไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลยกฟ้อง และแม้ตามหลักของรัฐธรรมนูญยังระบุว่าอดีตจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา แต่การที่จำเลยหนีคดีจนทำให้อายุความขาด ก็เป็นมลทินที่เขาหนีคดี”
ผศ. ปริญญา กล่าวอีกว่า เสนอให้แก้ มาตรา 95 ในกฎหมายอาญาของไทย แนวทางที่ 1.อาจให้หยุดอายุคดีอาญาลง ถ้าศาลรับฟ้องแล้ว หรือจำเลยหนี หรือ 2.คดีคอร์รัปชัน หรือคดีที่เป็นความผิดต่อประชาชน ต่อประเทศ ต้องไม่มีอายุความ อย่างไม่ว่าเวลาจะผ่านไป 30-40 ปี หากจับตัวได้ ก็ต้องนำมาดำเนินคดี