ชัวร์หรือมั่ว : แมลงก้นกระดกมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสจะเสียชีวิตจริงหรือไม่?
แมลงก้นกระดก มีสารพิษชื่อว่า พีเดอริน (Paederin) มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน สามารถทำลายเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนังได้ โดยตัวเมียจะมีปริมาณสารพิษมากกว่าตัวผู้มาก เมื่อร่างกายสัมผัสกับสารพิษอาการจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณสารพิษที่สัมผัส โดยอาการจะไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะมีอาการหลังสัมผัสแล้วประมาณ 4-12 ชั่วโมง โดยมีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือเป็นรอยไหม้ รูปร่างมักเป็นทางยาว ผื่นมีขอบเขตชัดเจน ทิศทางหลากหลาย อาการคันมีไม่มากนัก แต่มักจะรู้สึกแสบร้อนและมีตุ่มหนองขนาดเล็กเกิดขึ้นตามมาบริเวณที่พิษสัมผัสกับผิวหนัง หากรอยโรคเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า รอบดวงตา หรือผิวอ่อน ๆ มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าที่อื่น เมื่อสัมผัสกับแมลงและสารพิษให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ อย่าเกา เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำที่รอยโรคได้ ทั้งนี้อาการที่พบไม่ได้รุนแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ยกเว้นมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย หากพบว่ามีอาการรุนแรงแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน
ชัวร์หรือมั่ว : หูอื้อ ปวดตึงคอและบ่า เป็นสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอจริงหรือไม่?
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบข้อมูล พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้นเป็นข้อมูลเท็จ และชี้แจงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะมึนงงได้ แต่อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เวียนศีรษะได้เช่นกัน เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศร้อน ความเครียด การทำงานหนัก เป็นต้น ส่วนการปวดตึงคอ บ่า หูอื้อ มีเสียงในหู ง่วงทั้งวันแต่นอนไม่ค่อยหลับ วิตกกังวล ประสาทตาเสื่อม ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ แต่อย่างใด
รู้ทันกันได้ : บังคับความยินยอมให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคล ผิด PDPA หรือไม่?
หลังจากมีกฎหมาย PDPA ขึ้นมา สิ่งที่เรียกว่าข้อมูลส่วนบุคคลก็กลายเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญกันมากขึ้น หวงแหนกันมากขึ้น และรู้ทันสิทธิ์ในการเปิดเผยและการใช้กันมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางกรณีที่ยังคงเป็นข้อสงสัย อย่างเช่น การขอความยินยอมจากเราเพื่อแลกกับการให้บริการของผู้ให้บริการ แบบนี้จะผิดหลักกฎหมาย PDPA หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : การตรวจสารเคมีในกลิ่นเหงื่อ ประเมินภาวะโรคชึมเศร้า
ที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวผู้ก่อเหตุความรุนแรง โดยไม่มีเหตุความขัดแย้งรุนแรงมาก่อน โดยมูลเหตุของการก่อเหตุความรุนแรงมักมาจากภาวะความเครียดจากการทำงานและปัญหาสุขภาพจิตที่สะสมมายาวนาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอาชีพความเสี่ยงสูงที่ต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของสาธารณะ หรือต้องตัดสินใจภายใต้แรงกดดันและความเร่งด่วนมาก เช่น ตำรวจ ทหาร นักผจญเพลิง ทางนักวิจัยไทยจึงคิดค้นนวัตกรรมวิธีการตรวจหาสารเคมีจากกลิ่นเหงื่อ เพื่อใช้ในการคัดกรองสภาวะทางจิตก่อนพบจิตแพทย์ มีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง
คุยกันวันใหม่ : รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะให้โลก
ถ้าพูดถึงเรื่องขยะแล้ว ตอนนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไข เพราะทุกวันนี้ขยะเกิดขึ้นได้ทุกวันและทุกเวลา แต่ถ้าพวกเราร่วมมือช่วยกัน ปัญหาขยะล้นโลกก็จะดีขึ้นมาก ชวนไปร่วมชมงานการแข่งขันเก็บขยะโลก ซึ่งไทยเราจะต้องเฟ้นหาผู้เข้าแข่งขันที่สามารถเก็บขยะได้มากที่สุดเพื่อไปแข่งขันกันต่อที่ประเทศญี่ปุ่น
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ชัวร์หรือมั่ว : แมลงก้นกระดกมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสจะเสียชีวิตจริงหรือไม่?
แมลงก้นกระดก มีสารพิษชื่อว่า พีเดอริน (Paederin) มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน สามารถทำลายเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนังได้ โดยตัวเมียจะมีปริมาณสารพิษมากกว่าตัวผู้มาก เมื่อร่างกายสัมผัสกับสารพิษอาการจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณสารพิษที่สัมผัส โดยอาการจะไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะมีอาการหลังสัมผัสแล้วประมาณ 4-12 ชั่วโมง โดยมีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือเป็นรอยไหม้ รูปร่างมักเป็นทางยาว ผื่นมีขอบเขตชัดเจน ทิศทางหลากหลาย อาการคันมีไม่มากนัก แต่มักจะรู้สึกแสบร้อนและมีตุ่มหนองขนาดเล็กเกิดขึ้นตามมาบริเวณที่พิษสัมผัสกับผิวหนัง หากรอยโรคเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า รอบดวงตา หรือผิวอ่อน ๆ มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าที่อื่น เมื่อสัมผัสกับแมลงและสารพิษให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ อย่าเกา เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำที่รอยโรคได้ ทั้งนี้อาการที่พบไม่ได้รุนแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ยกเว้นมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย หากพบว่ามีอาการรุนแรงแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน
ชัวร์หรือมั่ว : หูอื้อ ปวดตึงคอและบ่า เป็นสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอจริงหรือไม่?
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบข้อมูล พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้นเป็นข้อมูลเท็จ และชี้แจงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะมึนงงได้ แต่อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เวียนศีรษะได้เช่นกัน เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศร้อน ความเครียด การทำงานหนัก เป็นต้น ส่วนการปวดตึงคอ บ่า หูอื้อ มีเสียงในหู ง่วงทั้งวันแต่นอนไม่ค่อยหลับ วิตกกังวล ประสาทตาเสื่อม ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ แต่อย่างใด
รู้ทันกันได้ : บังคับความยินยอมให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคล ผิด PDPA หรือไม่?
หลังจากมีกฎหมาย PDPA ขึ้นมา สิ่งที่เรียกว่าข้อมูลส่วนบุคคลก็กลายเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญกันมากขึ้น หวงแหนกันมากขึ้น และรู้ทันสิทธิ์ในการเปิดเผยและการใช้กันมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางกรณีที่ยังคงเป็นข้อสงสัย อย่างเช่น การขอความยินยอมจากเราเพื่อแลกกับการให้บริการของผู้ให้บริการ แบบนี้จะผิดหลักกฎหมาย PDPA หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : การตรวจสารเคมีในกลิ่นเหงื่อ ประเมินภาวะโรคชึมเศร้า
ที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวผู้ก่อเหตุความรุนแรง โดยไม่มีเหตุความขัดแย้งรุนแรงมาก่อน โดยมูลเหตุของการก่อเหตุความรุนแรงมักมาจากภาวะความเครียดจากการทำงานและปัญหาสุขภาพจิตที่สะสมมายาวนาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอาชีพความเสี่ยงสูงที่ต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของสาธารณะ หรือต้องตัดสินใจภายใต้แรงกดดันและความเร่งด่วนมาก เช่น ตำรวจ ทหาร นักผจญเพลิง ทางนักวิจัยไทยจึงคิดค้นนวัตกรรมวิธีการตรวจหาสารเคมีจากกลิ่นเหงื่อ เพื่อใช้ในการคัดกรองสภาวะทางจิตก่อนพบจิตแพทย์ มีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง
คุยกันวันใหม่ : รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะให้โลก
ถ้าพูดถึงเรื่องขยะแล้ว ตอนนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไข เพราะทุกวันนี้ขยะเกิดขึ้นได้ทุกวันและทุกเวลา แต่ถ้าพวกเราร่วมมือช่วยกัน ปัญหาขยะล้นโลกก็จะดีขึ้นมาก ชวนไปร่วมชมงานการแข่งขันเก็บขยะโลก ซึ่งไทยเราจะต้องเฟ้นหาผู้เข้าแข่งขันที่สามารถเก็บขยะได้มากที่สุดเพื่อไปแข่งขันกันต่อที่ประเทศญี่ปุ่น
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live