เมื่อโลกหลังโควิด ที่นำพา Disruptor ลูกใหญ่มาสู่ชีวิตคนบนโลกใบนี้ มันคือโจทย์ใหญ่ที่ท้าทาย “เรา” ในฐานะ “มนุษย์” คนหนึ่ง ที่ต้องรับมือและเอาชีวิตรอดให้ได้กับความผันผวนนี้ แรงกระเพื่อมลูกใหม่ทำให้เราต้องหันมาตั้งรับและปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ เรื่องของชีวิต ตั้งแต่เรื่องการรักษาสุขภาพ ใส่ใจดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรค การเสพข้อมูล ข่าวสารในแต่ละวันและเท่าทันในทุกเนื้อหา แต่ในท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ชีวิตคนในสังคมไม่ได้มีแค่เรื่องการเฝ้าระวังการติดเชื้อเท่านั้น ยังมีโจทย์ใหม่ ๆ ที่ก้าวเข้ามาเคาะประตูชีวิตคนในวัยแรงงาน รวมถึงภาคการศึกษาที่กำลังสร้างคนเพื่อมาเผชิญกับโลกที่เปลี่ยนไว ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ จนเราจินตนาการไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่า 1 วัน 1 เดือน 1 ปี หลังจากนี้ โลกใบนี้จะหน้าตาเป็นอย่างไร ?
คำถามนี้น่าสนใจตรงที่ว่า เราคงไม่ต้องการคนที่มีความสามารถในการคาดเดาอนาคตได้แม่นยำ แต่เราต้องการคนที่มีทักษะพร้อมรับมือและปรับตัวได้รวดเร็ว ว่องไว สารคดีชุด โลกหลังโควิด The Disruption จึงเป็นเหมือนตำราเล่มใหม่ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านภาพและเสียง ด้วยความรู้สึกนึกคิดของความเป็นมนุษย์ผ่าน 5 ทางออกสำคัญ
คำนี้หลายคนอาจคุ้นเคยกันมาบ้างแล้ว เราถอดหัวใจสำคัญของคำนิยาม สู่การผลิตรายการสารคดีชิ้นนี้ ผ่านเนื้อหาที่ฉายภาพมาให้ผู้ชมได้มองเห็นเป็นตัวอย่าง สู่การจินตนาการภาพได้ว่า การรับมือโดยอาศัยทักษะที่เรียกว่า “Resilience” นั้น จะมี How to อย่างไรได้บ้าง
เมื่อโจทย์ใหม่ ๆ เข้ามา การทบทวนสิ่งที่เคยทำอยู่ด้วยการคิดใหม่ มันคือสารตั้งต้นของการเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อรับโจทย์ใหญ่ ๆ ของชีวิต ช่วง 1 ปีกว่าที่ผ่านมา เราเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในภาคธุรกิจ ที่กลับมานั่งคิดทบทวน หาทางรอดใหม่ ๆ เพื่อต่อลมหายใจให้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้ แม้ว่าจะเป็นเฮือกสุดท้ายก็ตาม เราเห็นคนมากมายบนโลกใบนี้ปรับตัว ปรับรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนบ้าน คอนโดมิเนียม ห้องเช่าเล็ก ๆ ให้กลายเป็นออฟฟิศส่วนตัวผ่านการ Work From Home เราเห็นหลายบริษัทพยายามมองให้ลึกลงไปถึงหัวใจของคนในยุคนี้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการ เราจึงเห็นสถาบันการศึกษาต้องปรับตัวมาสอนในรูปแบบออนไลน์
เมื่อแนวโน้มของโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือแม้แต่ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาแทนที่ ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ เพื่อป้องกันการระบาดจากคนสู่คน เพื่อลดความหนาแน่น ลดจำนวนคนในการทำงาน เพื่อให้เกิดการเว้นระยะห่างทางกาย ยิ่งเป็นตัวเลือกสำคัญของภาคธุรกิจมากขึ้น ฉะนั้นโควิด-19 เป็นตัวเร่งเครื่องให้ความต้องการทักษะใหม่ ๆ มาเร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว เราจึงต้องรีบทบทวนแล้วว่า หากวันใดวันหนึ่งงานที่เราเคยทำหาเลี้ยงชีพ ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เราจะต้องผ่าทางตันนี้ไปได้อย่างไร ?
เชื่อมโยงกับ Reskill หากเรามองไม่ออก จินตนาการใหม่ให้เห็นภาพต่อไปไม่ได้ว่าสิ่งที่เราจะต้องคิด ต้องทำ หลังจากนี้ควรมีอะไรบ้าง การต่อยอดไปสู่ทักษะใหม่ ๆ เราอาจจะจินตนาการไม่ออก ทักษะที่เราจำเป็นต้องมีคืออะไร ?
สุดท้ายทั้งแนวคิดใหม่ จินตนาการใหม่ การปรับตัวใหม่ แต่ถ้าไม่ลงมือทำ ก็ไม่อาจฝ่าด่านนี้ไปได้ ฉะนั้นการลงมือทำอะไรใหม่ ๆ ในแนวทางที่คิดว่าใช่ ด้วยทักษะที่มี เพื่อตอบโจทย์โลก ณ เวลานี้ จึงสำคัญที่สุด
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แน่นอนว่าประชาชนทำอยู่ฝ่ายเดียวอาจไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ อาจไม่มีเรี่ยวแรงมากพอในเชิงงบประมาณและอาจไม่ทันเวลา ฉะนั้น รัฐจำเป็นต้องหาทางออกและวิธีการใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้เกิดระบบนิเวศของการสร้าง “คน” ให้พร้อมกับโลกในวันนี้ สร้างคนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลง จึงเป็นที่มาว่าในท้ายที่สุดของสารคดีชุดนี้ จึงเชื้อเชิญทุกคนมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเมืองให้เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” เมืองที่มีสิ่งแวดล้อมและสร้างบริบทให้ประชากรเตรียมพร้อมที่จะมีทักษะและสมรรถนะใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทั้งหมดนี้จะเป็นอย่างไรติดตามไปพร้อมกับสองคนเดินเรื่อง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "รุสนันท์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เมื่อโลกหลังโควิด ที่นำพา Disruptor ลูกใหญ่มาสู่ชีวิตคนบนโลกใบนี้ มันคือโจทย์ใหญ่ที่ท้าทาย “เรา” ในฐานะ “มนุษย์” คนหนึ่ง ที่ต้องรับมือและเอาชีวิตรอดให้ได้กับความผันผวนนี้ แรงกระเพื่อมลูกใหม่ทำให้เราต้องหันมาตั้งรับและปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ เรื่องของชีวิต ตั้งแต่เรื่องการรักษาสุขภาพ ใส่ใจดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรค การเสพข้อมูล ข่าวสารในแต่ละวันและเท่าทันในทุกเนื้อหา แต่ในท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ชีวิตคนในสังคมไม่ได้มีแค่เรื่องการเฝ้าระวังการติดเชื้อเท่านั้น ยังมีโจทย์ใหม่ ๆ ที่ก้าวเข้ามาเคาะประตูชีวิตคนในวัยแรงงาน รวมถึงภาคการศึกษาที่กำลังสร้างคนเพื่อมาเผชิญกับโลกที่เปลี่ยนไว ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ จนเราจินตนาการไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่า 1 วัน 1 เดือน 1 ปี หลังจากนี้ โลกใบนี้จะหน้าตาเป็นอย่างไร ?
คำถามนี้น่าสนใจตรงที่ว่า เราคงไม่ต้องการคนที่มีความสามารถในการคาดเดาอนาคตได้แม่นยำ แต่เราต้องการคนที่มีทักษะพร้อมรับมือและปรับตัวได้รวดเร็ว ว่องไว สารคดีชุด โลกหลังโควิด The Disruption จึงเป็นเหมือนตำราเล่มใหม่ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านภาพและเสียง ด้วยความรู้สึกนึกคิดของความเป็นมนุษย์ผ่าน 5 ทางออกสำคัญ
คำนี้หลายคนอาจคุ้นเคยกันมาบ้างแล้ว เราถอดหัวใจสำคัญของคำนิยาม สู่การผลิตรายการสารคดีชิ้นนี้ ผ่านเนื้อหาที่ฉายภาพมาให้ผู้ชมได้มองเห็นเป็นตัวอย่าง สู่การจินตนาการภาพได้ว่า การรับมือโดยอาศัยทักษะที่เรียกว่า “Resilience” นั้น จะมี How to อย่างไรได้บ้าง
เมื่อโจทย์ใหม่ ๆ เข้ามา การทบทวนสิ่งที่เคยทำอยู่ด้วยการคิดใหม่ มันคือสารตั้งต้นของการเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อรับโจทย์ใหญ่ ๆ ของชีวิต ช่วง 1 ปีกว่าที่ผ่านมา เราเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในภาคธุรกิจ ที่กลับมานั่งคิดทบทวน หาทางรอดใหม่ ๆ เพื่อต่อลมหายใจให้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้ แม้ว่าจะเป็นเฮือกสุดท้ายก็ตาม เราเห็นคนมากมายบนโลกใบนี้ปรับตัว ปรับรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนบ้าน คอนโดมิเนียม ห้องเช่าเล็ก ๆ ให้กลายเป็นออฟฟิศส่วนตัวผ่านการ Work From Home เราเห็นหลายบริษัทพยายามมองให้ลึกลงไปถึงหัวใจของคนในยุคนี้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการ เราจึงเห็นสถาบันการศึกษาต้องปรับตัวมาสอนในรูปแบบออนไลน์
เมื่อแนวโน้มของโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือแม้แต่ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาแทนที่ ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ เพื่อป้องกันการระบาดจากคนสู่คน เพื่อลดความหนาแน่น ลดจำนวนคนในการทำงาน เพื่อให้เกิดการเว้นระยะห่างทางกาย ยิ่งเป็นตัวเลือกสำคัญของภาคธุรกิจมากขึ้น ฉะนั้นโควิด-19 เป็นตัวเร่งเครื่องให้ความต้องการทักษะใหม่ ๆ มาเร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว เราจึงต้องรีบทบทวนแล้วว่า หากวันใดวันหนึ่งงานที่เราเคยทำหาเลี้ยงชีพ ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เราจะต้องผ่าทางตันนี้ไปได้อย่างไร ?
เชื่อมโยงกับ Reskill หากเรามองไม่ออก จินตนาการใหม่ให้เห็นภาพต่อไปไม่ได้ว่าสิ่งที่เราจะต้องคิด ต้องทำ หลังจากนี้ควรมีอะไรบ้าง การต่อยอดไปสู่ทักษะใหม่ ๆ เราอาจจะจินตนาการไม่ออก ทักษะที่เราจำเป็นต้องมีคืออะไร ?
สุดท้ายทั้งแนวคิดใหม่ จินตนาการใหม่ การปรับตัวใหม่ แต่ถ้าไม่ลงมือทำ ก็ไม่อาจฝ่าด่านนี้ไปได้ ฉะนั้นการลงมือทำอะไรใหม่ ๆ ในแนวทางที่คิดว่าใช่ ด้วยทักษะที่มี เพื่อตอบโจทย์โลก ณ เวลานี้ จึงสำคัญที่สุด
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แน่นอนว่าประชาชนทำอยู่ฝ่ายเดียวอาจไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ อาจไม่มีเรี่ยวแรงมากพอในเชิงงบประมาณและอาจไม่ทันเวลา ฉะนั้น รัฐจำเป็นต้องหาทางออกและวิธีการใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้เกิดระบบนิเวศของการสร้าง “คน” ให้พร้อมกับโลกในวันนี้ สร้างคนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลง จึงเป็นที่มาว่าในท้ายที่สุดของสารคดีชุดนี้ จึงเชื้อเชิญทุกคนมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเมืองให้เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” เมืองที่มีสิ่งแวดล้อมและสร้างบริบทให้ประชากรเตรียมพร้อมที่จะมีทักษะและสมรรถนะใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทั้งหมดนี้จะเป็นอย่างไรติดตามไปพร้อมกับสองคนเดินเรื่อง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "รุสนันท์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live