สิงห์บุรีขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ทำนา ทำได้ปีละหลายครั้ง แต่บางพื้นที่ต้องว่างเว้นพักแปลงระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม เพราะเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมทุ่ง ซึ่งการมีน้ำมากนั้นสามารถที่จะทำให้ชาวบ้านสามารถหาอาหารมาทำเก็บเอาไว้กินในฤดูต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาชนิดต่าง ๆ ที่จะมีมากในช่วงหน้าน้ำ หากเดินทางเข้าพื้นที่ในช่วงนั้นจะเห็นชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนถือคันเบ็ดและอุปกรณ์ หาปลาชนิดต่าง ๆ ลงไปในนา เพื่อที่จะหาปู หาปลา มากินและขาย
ตัวอย่างของคนบ้านดอนตะโหนด ต.โพทะเล อ.ค่ายบางระจัน และบ้านทองเอน ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า น้ำที่ท่วมนั้นมีคุณกับพวกเขามากมาย โดยปลาที่คนบ้านดอนตะโหนดหามาได้ด้วยการวิธีปักเบ็ด ลงตาข่าย ก็จะนำมาหมักเกลือทำปลาร้า ปลาเค็ม และทำปลาย่าง โดยเฉพาะปลาช่อน จะทำปลาเค็มและปลาย่าง โดยวิธีคือตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ใน "ปี๊บ" สามารถเก็บไว้กินได้หลายเดือน ส่วนที่บ้านทองเอน ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี อีกหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ก็จะเอาปลามาทำเป็นปลาร้า แต่เนื่องจากคนที่นี่มีความเชี่ยวชาญด้านการดักลอบปูนา จึงใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ไปดักปูแถวตามริมคันนา ปูที่ได้ในช่วงเวลาที่น้ำหลากนั้นจะมีก้ามที่ใหญ่เป็นพิเศษ ชาวบ้านจึงแกะเนื้อก้ามปูมาขายได้ราคาสูงถึง 800 บาท/กก.
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
สิงห์บุรีขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ทำนา ทำได้ปีละหลายครั้ง แต่บางพื้นที่ต้องว่างเว้นพักแปลงระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม เพราะเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมทุ่ง ซึ่งการมีน้ำมากนั้นสามารถที่จะทำให้ชาวบ้านสามารถหาอาหารมาทำเก็บเอาไว้กินในฤดูต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาชนิดต่าง ๆ ที่จะมีมากในช่วงหน้าน้ำ หากเดินทางเข้าพื้นที่ในช่วงนั้นจะเห็นชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนถือคันเบ็ดและอุปกรณ์ หาปลาชนิดต่าง ๆ ลงไปในนา เพื่อที่จะหาปู หาปลา มากินและขาย
ตัวอย่างของคนบ้านดอนตะโหนด ต.โพทะเล อ.ค่ายบางระจัน และบ้านทองเอน ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า น้ำที่ท่วมนั้นมีคุณกับพวกเขามากมาย โดยปลาที่คนบ้านดอนตะโหนดหามาได้ด้วยการวิธีปักเบ็ด ลงตาข่าย ก็จะนำมาหมักเกลือทำปลาร้า ปลาเค็ม และทำปลาย่าง โดยเฉพาะปลาช่อน จะทำปลาเค็มและปลาย่าง โดยวิธีคือตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ใน "ปี๊บ" สามารถเก็บไว้กินได้หลายเดือน ส่วนที่บ้านทองเอน ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี อีกหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ก็จะเอาปลามาทำเป็นปลาร้า แต่เนื่องจากคนที่นี่มีความเชี่ยวชาญด้านการดักลอบปูนา จึงใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ไปดักปูแถวตามริมคันนา ปูที่ได้ในช่วงเวลาที่น้ำหลากนั้นจะมีก้ามที่ใหญ่เป็นพิเศษ ชาวบ้านจึงแกะเนื้อก้ามปูมาขายได้ราคาสูงถึง 800 บาท/กก.
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live