"รถม้า" ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดลำปาง เพราะเป็นเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ยังคงใช้รถม้าเป็นพาหนะในการเดินทาง อาชีพคนขับรถม้าจึงเป็นอาชีพที่ทำกันมายาวนานคู่เมืองลำปาง
ที่บ้านวังหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง นั้น ถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ของรถม้า ที่นี่มีทั้งคนทำรถม้า คนเลี้ยงม้า คนขับรถม้า หากใครเข้าไปก็จะได้เห็นคอกม้าอยู่มากมาย ม้าเหล่านี้ถูกเลี้ยงดูเป็นอย่างดีเหมือนลูก และเจ้าของพวกมันก็คือคนที่มีอาชีพขับรถม้า คนขับรถม้าของที่นี่มีทั้งหญิงและชาย
พี่น้อย เกรียงศักดิ์ ปราสาท และพี่นา วัฒนา ปราสาท สองสามีภรรยาคนขับรถม้า ขับรถม้ามาร่วมสิบปี เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ทั้งคู่มีม้า 5 ตัว พี่น้อยผู้เป็นสามี เป็นคนสอนให้พี่นาภรรยาขับรถม้า พี่นาเล่าให้ฟังว่า เวลาขับม้ารู้สึกมีความสุข และม้าคือส่วนหนึ่งของครอบครัวเธอ เธอรักและดูแลดั่งคนในครอบครอบครัว เนื่องจากม้าเหล่านี้ช่วยเธอหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว ในทุก ๆ วันทั้งคู่ต้องออกจากบ้านแต่เช้า ก่อนออกไปทำงานต้องอาบน้ำแต่งตัวม้าคู่ใจ แล้วออกเดินทางไปคิวรถม้าที่หน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง เพื่อไปจองคิวในการออกวิ่งรถม้าทำงาน
เช่นเดียวกับน้ารัส จรัส แก้วธรรมชัย ที่เลี้ยงม้าไว้ที่คอกข้างบ้าน ทุกวันจะต้องตื่นมาให้อาหารและเอาไปเดินเล่นออกกำลังกาย ตอนกลางคืนก็ต้องหมั่นออกมาดูว่าม้านอนหลับดีหรือไม่ หรือมีอาการไม่สบายอะไรหรือเปล่า น้ารัส บอกว่า ม้าเป็นทั้งเพื่อนหาเงินและครอบครัว ม้าทุกตัวที่อยู่กับน้ารัส เมื่อตายไปก็จะฝังไว้ที่บ้าน และตัวเขาเองจะไม่กินเนื้อม้าเพราะว่าม้าเป็นผู้มีพระคุณหาเงินเลี้ยงชีพตน
ม้าที่ออกมาวิ่งรับนักท่องเที่ยวทุกตัวต้องผ่านการฝึก เพื่อให้คุ้นเคยกับคน ฝึกการเดินเทียมรถ ฝึกการหยุดเวลาเจอรถและไฟแดง โดยก่อนการฝึกม้าทุกตัวต้องถูกทำลายพลัง โดยการที่ผู้ฝึกต้องนำวิ่งเพื่อให้หมดแรง บางตัวใช้เวลาฝึกประมาณ 15 วัน - 1เดือน ม้าแต่ละตัวมีระยะเวลาในการฝึกไม่เท่ากัน จะฝึกยากหรือง่ายขึ้นกับนิสัยของม้าแต่ละตัว
เกือกม้าเป็นของสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับม้า เพราะเปรียบเสมือนกับรองเท้าของม้า ป้องกันไม่ให้กีบม้าฉีกง่ายหรือสึกเร็ว ม้าที่ต้องเดินบนพื้นถนนลาดยางหรือถนนปูนควรใส่อย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้เท้าของม้าได้รับบาดเจ็บ ขั้นตอนการใส่เกือกม้า ปรียบได้กับการทำสปาเท้าของคน เพราะม้าทุกตัวที่ใส่เกือกจะต้องตัด ขัด ตะไบ เล็บให้สะอาดเสียก่อนก่อนจะใส่เกือก การใส่เกือกม้าแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาหลายชั่วโมง คนที่ทำต้องอดทนและต้องใช้ความชำนาญและเชี่ยวชาญอย่างมาก
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"รถม้า" ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดลำปาง เพราะเป็นเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ยังคงใช้รถม้าเป็นพาหนะในการเดินทาง อาชีพคนขับรถม้าจึงเป็นอาชีพที่ทำกันมายาวนานคู่เมืองลำปาง
ที่บ้านวังหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง นั้น ถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ของรถม้า ที่นี่มีทั้งคนทำรถม้า คนเลี้ยงม้า คนขับรถม้า หากใครเข้าไปก็จะได้เห็นคอกม้าอยู่มากมาย ม้าเหล่านี้ถูกเลี้ยงดูเป็นอย่างดีเหมือนลูก และเจ้าของพวกมันก็คือคนที่มีอาชีพขับรถม้า คนขับรถม้าของที่นี่มีทั้งหญิงและชาย
พี่น้อย เกรียงศักดิ์ ปราสาท และพี่นา วัฒนา ปราสาท สองสามีภรรยาคนขับรถม้า ขับรถม้ามาร่วมสิบปี เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ทั้งคู่มีม้า 5 ตัว พี่น้อยผู้เป็นสามี เป็นคนสอนให้พี่นาภรรยาขับรถม้า พี่นาเล่าให้ฟังว่า เวลาขับม้ารู้สึกมีความสุข และม้าคือส่วนหนึ่งของครอบครัวเธอ เธอรักและดูแลดั่งคนในครอบครอบครัว เนื่องจากม้าเหล่านี้ช่วยเธอหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว ในทุก ๆ วันทั้งคู่ต้องออกจากบ้านแต่เช้า ก่อนออกไปทำงานต้องอาบน้ำแต่งตัวม้าคู่ใจ แล้วออกเดินทางไปคิวรถม้าที่หน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง เพื่อไปจองคิวในการออกวิ่งรถม้าทำงาน
เช่นเดียวกับน้ารัส จรัส แก้วธรรมชัย ที่เลี้ยงม้าไว้ที่คอกข้างบ้าน ทุกวันจะต้องตื่นมาให้อาหารและเอาไปเดินเล่นออกกำลังกาย ตอนกลางคืนก็ต้องหมั่นออกมาดูว่าม้านอนหลับดีหรือไม่ หรือมีอาการไม่สบายอะไรหรือเปล่า น้ารัส บอกว่า ม้าเป็นทั้งเพื่อนหาเงินและครอบครัว ม้าทุกตัวที่อยู่กับน้ารัส เมื่อตายไปก็จะฝังไว้ที่บ้าน และตัวเขาเองจะไม่กินเนื้อม้าเพราะว่าม้าเป็นผู้มีพระคุณหาเงินเลี้ยงชีพตน
ม้าที่ออกมาวิ่งรับนักท่องเที่ยวทุกตัวต้องผ่านการฝึก เพื่อให้คุ้นเคยกับคน ฝึกการเดินเทียมรถ ฝึกการหยุดเวลาเจอรถและไฟแดง โดยก่อนการฝึกม้าทุกตัวต้องถูกทำลายพลัง โดยการที่ผู้ฝึกต้องนำวิ่งเพื่อให้หมดแรง บางตัวใช้เวลาฝึกประมาณ 15 วัน - 1เดือน ม้าแต่ละตัวมีระยะเวลาในการฝึกไม่เท่ากัน จะฝึกยากหรือง่ายขึ้นกับนิสัยของม้าแต่ละตัว
เกือกม้าเป็นของสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับม้า เพราะเปรียบเสมือนกับรองเท้าของม้า ป้องกันไม่ให้กีบม้าฉีกง่ายหรือสึกเร็ว ม้าที่ต้องเดินบนพื้นถนนลาดยางหรือถนนปูนควรใส่อย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้เท้าของม้าได้รับบาดเจ็บ ขั้นตอนการใส่เกือกม้า ปรียบได้กับการทำสปาเท้าของคน เพราะม้าทุกตัวที่ใส่เกือกจะต้องตัด ขัด ตะไบ เล็บให้สะอาดเสียก่อนก่อนจะใส่เกือก การใส่เกือกม้าแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาหลายชั่วโมง คนที่ทำต้องอดทนและต้องใช้ความชำนาญและเชี่ยวชาญอย่างมาก
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live