"ทะเลน้อย" มีเนื้อที่ประมาณ 285,625 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ติดกับทะลสาบสงขลา จึงมีทั้งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางธรรมชาติ เป็นแหล่งทำมาหากินของผู้คนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ทั้งด้านการเกษตร การประมง ทำปศุสัตว์ และการท่องเที่ยว
พื้นที่ป่าพรุทะเลน้อย ด้านที่ติดกับ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่คนสองจังหวัดใช้เลี้ยงควายร่วมกัน ของคนตำบลบ้านขาว จังหวัดสงขลา และตำบลทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง วิธีการเลี้ยงคือการปล่อยในป่าพรุ ควายที่นี่มีรวมกันประมาณ 3,000 ตัว โดยแต่ละคอกมีควายไม่น้อยกว่า 20 ตัว และมากที่สุด 160 ตัว น้าศักดิ์ หรือศักดา คงเอียง ชาวตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนการเลี้ยงควายนั้นเอาไว้ใช้งาน ทำให้แต่ละบ้านมีควายไม่มาก แต่ปัจจุบันเลี้ยงไว้ขาย จึงเลี้ยงกันมากขึ้น
ในป่าพรุเลี้ยงควาย มีการสร้างคอกและขนำอยู่เป็นระยะ ๆ ริมคลอง ทั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและปลูกห่างออกไป รวม ๆ แล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง ลุงไสว ศรีสุวรรณ์ ชาวตำบลบ้านขาวบอกว่า คอกควายสำคัญสำหรับการเลี้ยงควายในป่าพรุทะเลน้อยโดยเฉพาะช่วงน้ำหลากน้ำท่วม เพราะแม้ใคร ๆ จะเรียกควายที่นี่ว่า "ควายน้ำ" แต่ที่จริงแล้วเป็นควายปลักเหมือนที่เลี้ยงอยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องมีที่สูง เนินดิน เพื่อสร้างคอกหรือโรงเรือนให้ควายได้พัก เพราะหากควายอยู่ในน้ำนานเกินไปจะทำให้ปอดบวม ป่วยหรือตายได้ โดยต้องถมดินยกพื้นให้สูงประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร เพื่อให้พ้นน้ำและต้องได้รับอนุญาตจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยก่อน
พี่กา สมใจ เอ่งเซ่ง คนเลี้ยงควายตำบลทะเลน้อย เล่าว่า ขนำจำเป็นสำหรับคนเลี้ยงควายที่ต้องมาดูแลควายตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ทั้งคนพัทลุงและสงขลา สร้างคอกควายและขนำอยู่ใกล้ ๆ จักคุ้นเคยกันหมด ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ช่วยเหลือกัน ได้กินข้าวด้วยกัน เป็นเพื่อนพี่น้อง ทุกขนำในป่าพรุสามารถขึ้นไปหลบแดดหลบฝนได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
การเดินทางมายังป่าพรุเลี้ยงควาย ต้องใช้เรือเป็นหลัก เพราะไม่มีถนนเข้าไปได้ เจ้าของควายทุกคนต้องมีเรือยนต์ขนาด 7 เมตร เพื่อการไล่ต้อนควายให้กินหญ้าในป่าพรุที่มีทั้งระยะทางไกล ใกล้ พื้นที่เป็นร่องน้ำและดินโคลน โดยทุกเช้าจะเอาควายออกจากคอก แล้วไล่ต้อนไปตามจุดต่าง ๆ ส่วนตอนเย็นก็รอควายกลับเข้าคอกเอง
นอกจากนี้การขนย้ายควายเพื่อขายหรือนำควายที่ป่วยไปรักษาก็ต้องใช้เรือเช่นกัน แต่ต้องใช้เรือที่มีขนาดใหญ่ คือ 12 เมตร น้าดาม มนตรี ดำราม รับจ้างคนควายด้วยเรือมานานกว่า 20 ปีบอกว่า ก่อนจะขายควายนั้นต้องมีขั้นตอนมากทีเดียว โดยต้องไปที่คอกเพื่อจับควายที่จะขนย้าย โดยมัดขาทั้ง 4 ข้างให้แน่นและนำลงเรือ ให้ควายนอนไปในเรือ เพื่อที่เรือจะไม่โคลงเคลง หลังจากนั้นก็ขับไปส่งริมตลิ่งตามสถานที่ที่นัดหมายให้รถมารอรับ ซึ่งต้องทำอย่างระวังและรวดเร็ว เพื่อให้ควายถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย โดยควายที่ถูกมัดและนอนมาในเรือนั้นเมื่อปล่อยเชือกก็จะลุกขึ้นวิ่งได้เอง ค่าจ้างขนเที่ยวละ 1,000 บาท ค่าจับตัวละ 300 บาท
เป็นความโชคดีที่มีป่าพรุกว้างใหญ่ให้เลี้ยงควายได้ เพราะว่ามีพืชอาหารที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นหญ้ากระจูดหนู หญ้าข้าวผี ฯลฯอาหารที่ควายชอบ ไม่ต้องซื้อหาและมีน้ำให้ควายได้แช่หลบร้อน ควายอิ่ม คนเลี้ยงก็มีความสุข แต่ความเปลี่ยนแปลงของ ธรรมชาติในปี 2564 - 2565 ที่มีฝนตกต่อเนื่องและยาวนานทำให้น้ำท่วม ประกอบกับจอกแหนที่แผ่ขยายทับถมทำให้หญ้าเน่าตาย ทำให้ควายขาดอาหาร และป่วยตายเป็นจำนวนมาก คนเลี้ยงควายก็มีความทุกข์ใจเป็นอย่างมาก หลายคนแทบจะถอดใจแต่หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คือวิถีชีวิตอีกช่วงหนึ่งที่ต้องเรียนรู้และปรับตัว เพราะอย่างไรก็ตาม การเลี้ยงควายคืออาชีพที่เลี้ยงครอบครัวได้
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"ทะเลน้อย" มีเนื้อที่ประมาณ 285,625 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ติดกับทะลสาบสงขลา จึงมีทั้งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางธรรมชาติ เป็นแหล่งทำมาหากินของผู้คนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ทั้งด้านการเกษตร การประมง ทำปศุสัตว์ และการท่องเที่ยว
พื้นที่ป่าพรุทะเลน้อย ด้านที่ติดกับ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่คนสองจังหวัดใช้เลี้ยงควายร่วมกัน ของคนตำบลบ้านขาว จังหวัดสงขลา และตำบลทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง วิธีการเลี้ยงคือการปล่อยในป่าพรุ ควายที่นี่มีรวมกันประมาณ 3,000 ตัว โดยแต่ละคอกมีควายไม่น้อยกว่า 20 ตัว และมากที่สุด 160 ตัว น้าศักดิ์ หรือศักดา คงเอียง ชาวตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนการเลี้ยงควายนั้นเอาไว้ใช้งาน ทำให้แต่ละบ้านมีควายไม่มาก แต่ปัจจุบันเลี้ยงไว้ขาย จึงเลี้ยงกันมากขึ้น
ในป่าพรุเลี้ยงควาย มีการสร้างคอกและขนำอยู่เป็นระยะ ๆ ริมคลอง ทั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและปลูกห่างออกไป รวม ๆ แล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง ลุงไสว ศรีสุวรรณ์ ชาวตำบลบ้านขาวบอกว่า คอกควายสำคัญสำหรับการเลี้ยงควายในป่าพรุทะเลน้อยโดยเฉพาะช่วงน้ำหลากน้ำท่วม เพราะแม้ใคร ๆ จะเรียกควายที่นี่ว่า "ควายน้ำ" แต่ที่จริงแล้วเป็นควายปลักเหมือนที่เลี้ยงอยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องมีที่สูง เนินดิน เพื่อสร้างคอกหรือโรงเรือนให้ควายได้พัก เพราะหากควายอยู่ในน้ำนานเกินไปจะทำให้ปอดบวม ป่วยหรือตายได้ โดยต้องถมดินยกพื้นให้สูงประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร เพื่อให้พ้นน้ำและต้องได้รับอนุญาตจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยก่อน
พี่กา สมใจ เอ่งเซ่ง คนเลี้ยงควายตำบลทะเลน้อย เล่าว่า ขนำจำเป็นสำหรับคนเลี้ยงควายที่ต้องมาดูแลควายตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ทั้งคนพัทลุงและสงขลา สร้างคอกควายและขนำอยู่ใกล้ ๆ จักคุ้นเคยกันหมด ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ช่วยเหลือกัน ได้กินข้าวด้วยกัน เป็นเพื่อนพี่น้อง ทุกขนำในป่าพรุสามารถขึ้นไปหลบแดดหลบฝนได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
การเดินทางมายังป่าพรุเลี้ยงควาย ต้องใช้เรือเป็นหลัก เพราะไม่มีถนนเข้าไปได้ เจ้าของควายทุกคนต้องมีเรือยนต์ขนาด 7 เมตร เพื่อการไล่ต้อนควายให้กินหญ้าในป่าพรุที่มีทั้งระยะทางไกล ใกล้ พื้นที่เป็นร่องน้ำและดินโคลน โดยทุกเช้าจะเอาควายออกจากคอก แล้วไล่ต้อนไปตามจุดต่าง ๆ ส่วนตอนเย็นก็รอควายกลับเข้าคอกเอง
นอกจากนี้การขนย้ายควายเพื่อขายหรือนำควายที่ป่วยไปรักษาก็ต้องใช้เรือเช่นกัน แต่ต้องใช้เรือที่มีขนาดใหญ่ คือ 12 เมตร น้าดาม มนตรี ดำราม รับจ้างคนควายด้วยเรือมานานกว่า 20 ปีบอกว่า ก่อนจะขายควายนั้นต้องมีขั้นตอนมากทีเดียว โดยต้องไปที่คอกเพื่อจับควายที่จะขนย้าย โดยมัดขาทั้ง 4 ข้างให้แน่นและนำลงเรือ ให้ควายนอนไปในเรือ เพื่อที่เรือจะไม่โคลงเคลง หลังจากนั้นก็ขับไปส่งริมตลิ่งตามสถานที่ที่นัดหมายให้รถมารอรับ ซึ่งต้องทำอย่างระวังและรวดเร็ว เพื่อให้ควายถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย โดยควายที่ถูกมัดและนอนมาในเรือนั้นเมื่อปล่อยเชือกก็จะลุกขึ้นวิ่งได้เอง ค่าจ้างขนเที่ยวละ 1,000 บาท ค่าจับตัวละ 300 บาท
เป็นความโชคดีที่มีป่าพรุกว้างใหญ่ให้เลี้ยงควายได้ เพราะว่ามีพืชอาหารที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นหญ้ากระจูดหนู หญ้าข้าวผี ฯลฯอาหารที่ควายชอบ ไม่ต้องซื้อหาและมีน้ำให้ควายได้แช่หลบร้อน ควายอิ่ม คนเลี้ยงก็มีความสุข แต่ความเปลี่ยนแปลงของ ธรรมชาติในปี 2564 - 2565 ที่มีฝนตกต่อเนื่องและยาวนานทำให้น้ำท่วม ประกอบกับจอกแหนที่แผ่ขยายทับถมทำให้หญ้าเน่าตาย ทำให้ควายขาดอาหาร และป่วยตายเป็นจำนวนมาก คนเลี้ยงควายก็มีความทุกข์ใจเป็นอย่างมาก หลายคนแทบจะถอดใจแต่หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คือวิถีชีวิตอีกช่วงหนึ่งที่ต้องเรียนรู้และปรับตัว เพราะอย่างไรก็ตาม การเลี้ยงควายคืออาชีพที่เลี้ยงครอบครัวได้
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live