"แม่น้ำสะแกกรัง" มีชุมชนชาวแพที่มีวิถีชีวิตผูกพันสายน้ำแห่งนี้ โดยมีเรือนแพที่มีทะเบียนถูกต้อง ประมาณ 350 หลัง มีผู้อยู่อาศัยจริงประมาณ 100 กว่าหลังคาเรือน ชาวแพมีอาชีพทำประมงน้ำจืด เลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลาสวาย, ปลาแรด และปลาเทโพ นอกจากนี้ชาวแพก็ยังจับปลาจากในแม่น้ำสะแกกรังหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ มาทำเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม แล้วนำไปขายในตลาดเป็นรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชผักลอยน้ำ เช่น เตย เป็นต้น เรือนแพเป็นทั้งบ้านอันอบอุ่นและที่ทำมาหากินเลี้ยงชีพของชาวบ้าน ความเป็นอยู่ของคนที่นี่สงบสุข เรียบง่าย สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ทุกเรื่อง คนดังของที่นี่มีหลายคน เช่น
คนที่ 1 "ป้าแต๋วปลาย่างรมควัน" นางศรีวภา วิบูรณ์รัตน์ หรือ ป้าแต๋ว อายุ 65 ปี หนึ่งในชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง ที่อาศัยสายน้ำแห่งนี้เลี้ยงชีวิต ยังคงดำเนินวิถีชีวิตย่างปลา ด้วยข่าไม้ย่างปลาแบบโบราณในเรือนแพ ตั้งแต่ จากรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นการสืบสานภูมิปัญญาแปรรูปปลาจากรุ่นสู่รุ่น นำปลาไปย่างรมควัน กรรมวิธีการทำต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ใช้ปลาเนื้ออ่อน ปลาเกร็ด ปลาดุก ปลาช่อน ข่าย่างปลามีขนาดกว้าง 3 ศอก ยาว 10 ศอก ทำจากไม้ย่างปูพื้น ใช้สังกะสีกรุไม้กระดานรอบ ๆ ก่อน เอาดินละเอียดใส่พื้นข่าให้แน่นและหนา ใช้ขี้เลื่อยไม้เป็นเชื้อเพลิงในการย่าง โดยนำปลาวางลงบนตะแกรง ใช้เสื่อรำแพนสานจากไม้ไผ่คลุมปิดทับ ย่างด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆนาน 3 - 4 วัน จนเนื้อปลาแห้งเบากรอบ แต่ระหว่างนั้นให้กลับปลาเพื่อจะได้สุกและสีเสมอกัน
คนที่ 2 "ป้าเทือง ผู้เสียสละแพให้กับนกกวัก" "ประเทือง แจ่มโต" หรือ ป้าเทือง อาศัยอยู่ในเรือนแพตั้งแต่กำเนิด คุ้นเคยกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว มีความผูกพันกับสายน้ำและสัตว์ในธรรมชาติ อย่างครอบครัวนกกวัก ป้าเทืองแบ่งแพให้อยู่อาศัย 1 แพ โดยนกกวักจะอยู่ในกอต้นเตยด้านข้างของแพ บางเวลานกกวักก็จะเดินเล่นรอบ ๆ แพ ป้ารัก หวงและห่วง ห้ามคนเข้าใกล้กอต้นเตยเป็นเด็ดขาด ทุกวันป้าจะเอาไข่แดงไปวางให้นกกวักได้กินเป็นอาหาร นอกจากนั้นป้ายังมีปลาที่มาอาศัยอยู่รอบ ๆ แพของป้า รวมถึงนกอีกหลายชนิดที่วนเวียนมาทำรังที่บ้านของป้า
เรือนแพ ที่อยู่อาศัยของชาวบ้านที่นี่ต้องซ่อมทุก ๆ 4 ปี การซ่อมแซมแพนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัว ต้องอาศัยคนที่เชี่ยวชาญ ความรู้การซ่อมแพเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่น ในส่วนของวัสดุที่เป็นไม้ ที่นำมาสร้างและซ่อมแซมเรือนแพก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจพูดได้ว่าค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตอยู่บนเรือนแพนั้นแพงกว่าที่จะขึ้นไปใช้ชีวิตอยู่บนบก สาเหตุนี้ทำให้ชาวเรือนแพบางส่วนย้ายขึ้นไปอยู่บนบกกันมากขึ้นปัจจุบันนี้มีการคุมกำเนิดเรือนแพไม่ให้มีการสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการสิ้นสุดของชุมชนเรือนแพที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในอนาคต
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"แม่น้ำสะแกกรัง" มีชุมชนชาวแพที่มีวิถีชีวิตผูกพันสายน้ำแห่งนี้ โดยมีเรือนแพที่มีทะเบียนถูกต้อง ประมาณ 350 หลัง มีผู้อยู่อาศัยจริงประมาณ 100 กว่าหลังคาเรือน ชาวแพมีอาชีพทำประมงน้ำจืด เลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลาสวาย, ปลาแรด และปลาเทโพ นอกจากนี้ชาวแพก็ยังจับปลาจากในแม่น้ำสะแกกรังหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ มาทำเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม แล้วนำไปขายในตลาดเป็นรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชผักลอยน้ำ เช่น เตย เป็นต้น เรือนแพเป็นทั้งบ้านอันอบอุ่นและที่ทำมาหากินเลี้ยงชีพของชาวบ้าน ความเป็นอยู่ของคนที่นี่สงบสุข เรียบง่าย สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ทุกเรื่อง คนดังของที่นี่มีหลายคน เช่น
คนที่ 1 "ป้าแต๋วปลาย่างรมควัน" นางศรีวภา วิบูรณ์รัตน์ หรือ ป้าแต๋ว อายุ 65 ปี หนึ่งในชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง ที่อาศัยสายน้ำแห่งนี้เลี้ยงชีวิต ยังคงดำเนินวิถีชีวิตย่างปลา ด้วยข่าไม้ย่างปลาแบบโบราณในเรือนแพ ตั้งแต่ จากรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นการสืบสานภูมิปัญญาแปรรูปปลาจากรุ่นสู่รุ่น นำปลาไปย่างรมควัน กรรมวิธีการทำต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ใช้ปลาเนื้ออ่อน ปลาเกร็ด ปลาดุก ปลาช่อน ข่าย่างปลามีขนาดกว้าง 3 ศอก ยาว 10 ศอก ทำจากไม้ย่างปูพื้น ใช้สังกะสีกรุไม้กระดานรอบ ๆ ก่อน เอาดินละเอียดใส่พื้นข่าให้แน่นและหนา ใช้ขี้เลื่อยไม้เป็นเชื้อเพลิงในการย่าง โดยนำปลาวางลงบนตะแกรง ใช้เสื่อรำแพนสานจากไม้ไผ่คลุมปิดทับ ย่างด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆนาน 3 - 4 วัน จนเนื้อปลาแห้งเบากรอบ แต่ระหว่างนั้นให้กลับปลาเพื่อจะได้สุกและสีเสมอกัน
คนที่ 2 "ป้าเทือง ผู้เสียสละแพให้กับนกกวัก" "ประเทือง แจ่มโต" หรือ ป้าเทือง อาศัยอยู่ในเรือนแพตั้งแต่กำเนิด คุ้นเคยกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว มีความผูกพันกับสายน้ำและสัตว์ในธรรมชาติ อย่างครอบครัวนกกวัก ป้าเทืองแบ่งแพให้อยู่อาศัย 1 แพ โดยนกกวักจะอยู่ในกอต้นเตยด้านข้างของแพ บางเวลานกกวักก็จะเดินเล่นรอบ ๆ แพ ป้ารัก หวงและห่วง ห้ามคนเข้าใกล้กอต้นเตยเป็นเด็ดขาด ทุกวันป้าจะเอาไข่แดงไปวางให้นกกวักได้กินเป็นอาหาร นอกจากนั้นป้ายังมีปลาที่มาอาศัยอยู่รอบ ๆ แพของป้า รวมถึงนกอีกหลายชนิดที่วนเวียนมาทำรังที่บ้านของป้า
เรือนแพ ที่อยู่อาศัยของชาวบ้านที่นี่ต้องซ่อมทุก ๆ 4 ปี การซ่อมแซมแพนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัว ต้องอาศัยคนที่เชี่ยวชาญ ความรู้การซ่อมแพเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่น ในส่วนของวัสดุที่เป็นไม้ ที่นำมาสร้างและซ่อมแซมเรือนแพก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจพูดได้ว่าค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตอยู่บนเรือนแพนั้นแพงกว่าที่จะขึ้นไปใช้ชีวิตอยู่บนบก สาเหตุนี้ทำให้ชาวเรือนแพบางส่วนย้ายขึ้นไปอยู่บนบกกันมากขึ้นปัจจุบันนี้มีการคุมกำเนิดเรือนแพไม่ให้มีการสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการสิ้นสุดของชุมชนเรือนแพที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในอนาคต
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live