"เกาะบาหลี" มีผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูมากที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย ความเชื่อความศรัทธาในศาสนานั้นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนเริ่มวันใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำสิ่งต่าง ๆ โดยจะใช้เครื่องบูชาเทพเจ้า หรือ ที่คนที่นี่เรียกว่า "ชานังซารี" (Canang Sari) กระทงเล็ก ๆ ทรงสี่เหลี่ยมที่ทำจากใบมะพร้าว ในกระทงจะใส่ดอกไม้หลากสี ที่มีความหมายต่อเทพเจ้าของพวกเขา โดยจะนำชานังซารีไปบูชาเทพเจ้าตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งหน้าบ้าน บนถนน หรือในรถก็จะมีของบูชาชนิดนี้วางอยู่ ในอดีตทุก ๆ บ้านจะทำกันเอง แต่ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด ถือเป็นกำลังใจอย่างหนึ่งของคนที่นี่ที่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งเราจะพบเห็นได้แทบทุกที่บนเกาะบาหลี นอกจากนี้ที่หมู่บ้าน "เป็งลิปุราน" (Penglipuran) หมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดของบาหลี ที่มีอายุประมาณ 100 กว่าปี ที่หมู่บ้านแห่งนี้ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีบ้านทั้งหมด 72 หลังคาเรือน แต่ที่นี่จะไม่เรียกบ้านเป็นหลัง แต่จะเรียกเป็นสวน ซึ่งใน 1 สวน จะประกอบไปด้วย บ้าน, ครัว, บาเล่ หรือ ศาลากลางบ้าน และวัดในบ้าน ที่หมู่บ้านเป็งลิปุรานจะพบเห็น "เป็นเจอร์" (Penjor) เครื่องประดับจากทางมะพร้าวบูชาเทพเจ้า ถูกประดับตกแต่งอยู่หน้าบ้านของทุกคนที่นี่ โดยเฉพาะในวันเทศกาลสำคัญของชาวบาหลีที่เรียกว่า "ประเพณีกาลุงงัน" และ "กูนิงงัน" ซึ่งเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ธรรมะชนะอธรรม และเป็นวันที่ชาวฮินดูบนเกาะบาหลีจะอัญเชิญองค์เทพเจ้ากลับสู่สรวงสรรค์ รวมถึงเชิญบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วกลับสู่ภพภูมิของตน ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้ามารวมตัวกันที่วัด เตรียมของเพื่อการทำบุญใส่ในตะกร้าที่มีสีสัน แต่ในบางพื้นที่ก็ใส่ของทำบุญในพานสูง ต้องต่อขึ้นไปประมาณ 3 - 5 ชั้น เวลาจะยกขึ้นก็ต้องใช้คนยกขึ้นไป โดยผู้หญิงจะเป็นคนที่เอาทูนไว้บนหัว ความหลากหลายของสิ่งนี้ นั้นเป็นสิ่งที่สะดุดตาและงดงามมาก และเป็นสิ่งที่พวกเขานั้นให้คุณค่าและสืบต่อกันมาอย่างมิเสื่อมคลาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทางตักบาตรข้าวเหนียว www.thaipbs.or.th/Live
"เกาะบาหลี" มีผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูมากที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย ความเชื่อความศรัทธาในศาสนานั้นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนเริ่มวันใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำสิ่งต่าง ๆ โดยจะใช้เครื่องบูชาเทพเจ้า หรือ ที่คนที่นี่เรียกว่า "ชานังซารี" (Canang Sari) กระทงเล็ก ๆ ทรงสี่เหลี่ยมที่ทำจากใบมะพร้าว ในกระทงจะใส่ดอกไม้หลากสี ที่มีความหมายต่อเทพเจ้าของพวกเขา โดยจะนำชานังซารีไปบูชาเทพเจ้าตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งหน้าบ้าน บนถนน หรือในรถก็จะมีของบูชาชนิดนี้วางอยู่ ในอดีตทุก ๆ บ้านจะทำกันเอง แต่ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด ถือเป็นกำลังใจอย่างหนึ่งของคนที่นี่ที่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งเราจะพบเห็นได้แทบทุกที่บนเกาะบาหลี นอกจากนี้ที่หมู่บ้าน "เป็งลิปุราน" (Penglipuran) หมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดของบาหลี ที่มีอายุประมาณ 100 กว่าปี ที่หมู่บ้านแห่งนี้ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีบ้านทั้งหมด 72 หลังคาเรือน แต่ที่นี่จะไม่เรียกบ้านเป็นหลัง แต่จะเรียกเป็นสวน ซึ่งใน 1 สวน จะประกอบไปด้วย บ้าน, ครัว, บาเล่ หรือ ศาลากลางบ้าน และวัดในบ้าน ที่หมู่บ้านเป็งลิปุรานจะพบเห็น "เป็นเจอร์" (Penjor) เครื่องประดับจากทางมะพร้าวบูชาเทพเจ้า ถูกประดับตกแต่งอยู่หน้าบ้านของทุกคนที่นี่ โดยเฉพาะในวันเทศกาลสำคัญของชาวบาหลีที่เรียกว่า "ประเพณีกาลุงงัน" และ "กูนิงงัน" ซึ่งเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ธรรมะชนะอธรรม และเป็นวันที่ชาวฮินดูบนเกาะบาหลีจะอัญเชิญองค์เทพเจ้ากลับสู่สรวงสรรค์ รวมถึงเชิญบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วกลับสู่ภพภูมิของตน ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้ามารวมตัวกันที่วัด เตรียมของเพื่อการทำบุญใส่ในตะกร้าที่มีสีสัน แต่ในบางพื้นที่ก็ใส่ของทำบุญในพานสูง ต้องต่อขึ้นไปประมาณ 3 - 5 ชั้น เวลาจะยกขึ้นก็ต้องใช้คนยกขึ้นไป โดยผู้หญิงจะเป็นคนที่เอาทูนไว้บนหัว ความหลากหลายของสิ่งนี้ นั้นเป็นสิ่งที่สะดุดตาและงดงามมาก และเป็นสิ่งที่พวกเขานั้นให้คุณค่าและสืบต่อกันมาอย่างมิเสื่อมคลาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทางตักบาตรข้าวเหนียว www.thaipbs.or.th/Live