ซีรีส์วิถีคน
ซีรีส์วิถีคน

วิถีคนเกาะยอ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา

หน้ารายการ
6 เม.ย. 67

"เกาะยอ" เป็นเกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ที่นี่มีความพิเศษและสำคัญ คือมี 3 น้ำ ตามฤดูคือ น้ำเค็ม, น้ำกร่อย และน้ำจืด วิถีชีวิตของผู้คนที่นี่สงบและเรียบง่าย แต่กลับมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ชาวเกาะยอแทบทุกคนที่เจอบอกว่า ในอดีตนั้นเกาะแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ที่เดินทางยาก เวลาจะเดินทางต้องใช้เรือในการเดินทางเข้าตัวเมืองเท่านั้น ในสมัยก่อนที่นี่มีโรงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ นับ 100 แต่ปัจจุบันเหลือเพียงโรงเดียวแล้ว

แม้เวลาจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังเห็นว่าหลังคาบ้านของชาวเกาะยอดั้งเดิมหลาย ๆ หลัง ที่ยังเป็นหลังคากระเบื้องดินเผาแบบโบราณ อย่างเช่นบ้านเก่าของ "ลุงกิจ" วัย 75 ปี ที่เป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยาโบราณมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว

พี่น้อง จีรวัฒน์ สาวเก่งแห่งเกาะยอ บอกเราว่า คนเกาะยอนั้นโชคดีเพราะมีสวนหลังบ้านที่ติดภูเขา และด้านหน้าบ้านติดทะเล อาชีพหลักของคนเกาะยอจึงพึ่งพาทั้งในทะเลและภูเขา เป็นชาวประมงและเป็นชาวสวน

ลุงสุด ป้าฑา และลุงเวง ชาวสวนที่คาแรกเตอร์โดดเด่นโด่งดังไปทั่วเกาะ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อประจำเกาะ ก็คือ สะวา หรือ ละมุด เพราะมีรสชาติที่หวานกลมกล่อมพิเศษ ปลูกกันแทบทุกบ้านบางต้นอายุยืนยาวกว่า 60 ปี และยังมีการใช้น้ำจากบ่อขุดที่ไหลซึมจากใต้ดิน

ผืนน้ำทะเลที่อยู่หน้าบ้านของชาวเกาะยอ นั่นคือ ทะเลสาบสงขลา มีความอุดมสมบูรณ์หล่อเลี้ยงคนเกาะยอมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เป็นแหล่งทำมาหากินสำคัญของชาวเกาะยอ ซึ่งวิถีชีวิตยามเช้า ๆ จะเห็นชาวบ้านมาวางกลัด ดักไซ ราวเบ็ด และที่สำคัญยังเป็นแหล่งเลี้ยง "ปลากะพงขาว" ที่ใหญ่ที่สุดในสงขลา มีกระชังปลาเรียงรายกลางทะเลสาบนับพัน ๆ หลัง คนเลี้ยงปลาบอกว่า มีความสุขที่ได้อยู่กับปลาทั้งวันทั้งคืน อยู่กับธรรมชาติสบายใจ ทะเลสาบสงขลาเลี้ยงเราได้ เป็นที่ทำกินของคนเกาะยอ ต้องช่วยกันดูแลรักษา

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วิถีคนเกาะยอ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา

6 เม.ย. 67

"เกาะยอ" เป็นเกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ที่นี่มีความพิเศษและสำคัญ คือมี 3 น้ำ ตามฤดูคือ น้ำเค็ม, น้ำกร่อย และน้ำจืด วิถีชีวิตของผู้คนที่นี่สงบและเรียบง่าย แต่กลับมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ชาวเกาะยอแทบทุกคนที่เจอบอกว่า ในอดีตนั้นเกาะแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ที่เดินทางยาก เวลาจะเดินทางต้องใช้เรือในการเดินทางเข้าตัวเมืองเท่านั้น ในสมัยก่อนที่นี่มีโรงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ นับ 100 แต่ปัจจุบันเหลือเพียงโรงเดียวแล้ว

แม้เวลาจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังเห็นว่าหลังคาบ้านของชาวเกาะยอดั้งเดิมหลาย ๆ หลัง ที่ยังเป็นหลังคากระเบื้องดินเผาแบบโบราณ อย่างเช่นบ้านเก่าของ "ลุงกิจ" วัย 75 ปี ที่เป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยาโบราณมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว

พี่น้อง จีรวัฒน์ สาวเก่งแห่งเกาะยอ บอกเราว่า คนเกาะยอนั้นโชคดีเพราะมีสวนหลังบ้านที่ติดภูเขา และด้านหน้าบ้านติดทะเล อาชีพหลักของคนเกาะยอจึงพึ่งพาทั้งในทะเลและภูเขา เป็นชาวประมงและเป็นชาวสวน

ลุงสุด ป้าฑา และลุงเวง ชาวสวนที่คาแรกเตอร์โดดเด่นโด่งดังไปทั่วเกาะ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อประจำเกาะ ก็คือ สะวา หรือ ละมุด เพราะมีรสชาติที่หวานกลมกล่อมพิเศษ ปลูกกันแทบทุกบ้านบางต้นอายุยืนยาวกว่า 60 ปี และยังมีการใช้น้ำจากบ่อขุดที่ไหลซึมจากใต้ดิน

ผืนน้ำทะเลที่อยู่หน้าบ้านของชาวเกาะยอ นั่นคือ ทะเลสาบสงขลา มีความอุดมสมบูรณ์หล่อเลี้ยงคนเกาะยอมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เป็นแหล่งทำมาหากินสำคัญของชาวเกาะยอ ซึ่งวิถีชีวิตยามเช้า ๆ จะเห็นชาวบ้านมาวางกลัด ดักไซ ราวเบ็ด และที่สำคัญยังเป็นแหล่งเลี้ยง "ปลากะพงขาว" ที่ใหญ่ที่สุดในสงขลา มีกระชังปลาเรียงรายกลางทะเลสาบนับพัน ๆ หลัง คนเลี้ยงปลาบอกว่า มีความสุขที่ได้อยู่กับปลาทั้งวันทั้งคืน อยู่กับธรรมชาติสบายใจ ทะเลสาบสงขลาเลี้ยงเราได้ เป็นที่ทำกินของคนเกาะยอ ต้องช่วยกันดูแลรักษา

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

23:00

ข่าวดึก

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย