“ปะนาเระ” คนในพื้นที่ชายแดนใต้ต่างคุ้นกันดีว่าเป็นพื้นที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารทะเลสด ปลอดภัย และราคาสูงกว่าที่อื่น เพราะจับมาแล้วขายเลย
แต่หากย้อนไปในอดีต พื้นที่นี้ก็ประสบปัญหาปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง สาเหตุเพราะการเข้ามาของอวนรุนและอวนลากรวมถึงเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าไปรับจ้างทำงานในประเทศมาเลเซีย ขณะเดียวกัน พื้นที่ชายแดนใต้ จ.ปัตตานี ครองอันดับ 1 ใน 10 จังหวัดประชากรรายได้น้อย ต่อเนื่องกว่า 18 ปี
มาวันนี้พื้นที่ปานาเระ เปลี่ยนไป มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านที่เข้มแข็ง เกิดเป็นชมรมประมงพื้นบ้าน อ.ปะนาเระ ที่ชาวประมงพื้นบ้านพยายามปรับวิถีการทำประมงให้สอดรับกับธรรมชาติ ทำเรื่้องการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรเเบบมีส่วนร่วม และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เเละการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
ที่สำคัญต้นทุนทางทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์จะสามารถพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่า สร้างโอกาสและขยายฐานเศรษฐกิจที่เอื้อต่อผู้คนทุกระดับ และสามารถแก้โจทย์เศรษฐกิจปากท้องในพื้นที่ชายแดนใต้ได้มากน้อยเเค่ไหน รวมถึงชาวประมงพื้นบ้านสามารถปรับตัวรับมือกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นได้อย่างไร
และนี่คือโจทย์ที่รายการฟังเสียงประเทศไทย ออกเดินทางไปรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ปะนาเระ จ.ปัตตานี และชวนมองโอกาสความเป็นไปได้จาก3 ฉากทัศน์
ชวนอ่านรายละเอียดและร่วมโหวตภาพฉากทัศน์อนาคตประเทศไทย คลิกที่นี่ https://thecitizen.plus/84757
ทุกท่านสามารถช่วยกันมอง และแลกเปลี่ยนเพื่อร่วมกันจัดการต้นทุนทางทรัพยากรชายแดนใต้ ในรายการฟังเสียงประเทศไทย ตอน ฟังเสียงปะนาเระ โอกาสเศรษฐกิจชายแดนใต้ วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
“ปะนาเระ” คนในพื้นที่ชายแดนใต้ต่างคุ้นกันดีว่าเป็นพื้นที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารทะเลสด ปลอดภัย และราคาสูงกว่าที่อื่น เพราะจับมาแล้วขายเลย
แต่หากย้อนไปในอดีต พื้นที่นี้ก็ประสบปัญหาปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง สาเหตุเพราะการเข้ามาของอวนรุนและอวนลากรวมถึงเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าไปรับจ้างทำงานในประเทศมาเลเซีย ขณะเดียวกัน พื้นที่ชายแดนใต้ จ.ปัตตานี ครองอันดับ 1 ใน 10 จังหวัดประชากรรายได้น้อย ต่อเนื่องกว่า 18 ปี
มาวันนี้พื้นที่ปานาเระ เปลี่ยนไป มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านที่เข้มแข็ง เกิดเป็นชมรมประมงพื้นบ้าน อ.ปะนาเระ ที่ชาวประมงพื้นบ้านพยายามปรับวิถีการทำประมงให้สอดรับกับธรรมชาติ ทำเรื่้องการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรเเบบมีส่วนร่วม และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เเละการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
ที่สำคัญต้นทุนทางทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์จะสามารถพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่า สร้างโอกาสและขยายฐานเศรษฐกิจที่เอื้อต่อผู้คนทุกระดับ และสามารถแก้โจทย์เศรษฐกิจปากท้องในพื้นที่ชายแดนใต้ได้มากน้อยเเค่ไหน รวมถึงชาวประมงพื้นบ้านสามารถปรับตัวรับมือกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นได้อย่างไร
และนี่คือโจทย์ที่รายการฟังเสียงประเทศไทย ออกเดินทางไปรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ปะนาเระ จ.ปัตตานี และชวนมองโอกาสความเป็นไปได้จาก3 ฉากทัศน์
ชวนอ่านรายละเอียดและร่วมโหวตภาพฉากทัศน์อนาคตประเทศไทย คลิกที่นี่ https://thecitizen.plus/84757
ทุกท่านสามารถช่วยกันมอง และแลกเปลี่ยนเพื่อร่วมกันจัดการต้นทุนทางทรัพยากรชายแดนใต้ ในรายการฟังเสียงประเทศไทย ตอน ฟังเสียงปะนาเระ โอกาสเศรษฐกิจชายแดนใต้ วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live