องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 เพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาการทุจริตทั่วโลก ได้จัดทำดัชนีการรับรู้การทุจริตเป็นประจำทุกปี โดยล่าสุดมีการเผยแพร่ผลการสำรวจของปี 2021 ในภาพรวมพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการทุจริตยังคงอยู่ในระดับเดิม โดยคะแนนเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 43 จากคะแนนเต็ม 100
และผลการสำรวจล่าสุดพบว่ามี 131 ประเทศและดินแดนไม่มีความก้าวหน้า เรื่องความพยายามต่อต้านการทุจริต ในขณะที่ 2 ใน 3 คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งเกือบทุกประเทศในอาเซียนมีคะแนนต่ำกว่าเฉลี่ย
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า ประเทศที่มีการละเมิดสิทธิพลเมืองอยู่เป็นประจำมักจะมีคะแนนอยู่ในระดับต่ำ การเพิกเฉยเรื่องการแก้ปัญหาการทุจริต ทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีมากขึ้น รวมทั้งบั่นทอนประชาธิปไตย เป็นผลให้เกิดวงจรที่ชั่วร้ายตามมา
ในขณะเดียวกันยังพบว่ามีหลายประเทศที่ใช้เรื่องการระบาดของโควิด-19 เป็นข้ออ้างในการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ
ผลการสำรวจในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การปกป้องสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาการทุจริต ซึ่งถือเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับไทยและอีกหลายประเทศในอาเซียน ที่พบว่าดัชนีการรับรู้การทุจริตและสถานการณ์ด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน แย่ลงเรื่อย ๆ
ติดตามชมรายการ "ทันโลก กับ ที่นี่ Thai PBS" ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 21.00 น. และวันศุกร์ เวลา 21.30 น ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/ThisisThaipbs
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 เพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาการทุจริตทั่วโลก ได้จัดทำดัชนีการรับรู้การทุจริตเป็นประจำทุกปี โดยล่าสุดมีการเผยแพร่ผลการสำรวจของปี 2021 ในภาพรวมพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการทุจริตยังคงอยู่ในระดับเดิม โดยคะแนนเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 43 จากคะแนนเต็ม 100
และผลการสำรวจล่าสุดพบว่ามี 131 ประเทศและดินแดนไม่มีความก้าวหน้า เรื่องความพยายามต่อต้านการทุจริต ในขณะที่ 2 ใน 3 คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งเกือบทุกประเทศในอาเซียนมีคะแนนต่ำกว่าเฉลี่ย
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า ประเทศที่มีการละเมิดสิทธิพลเมืองอยู่เป็นประจำมักจะมีคะแนนอยู่ในระดับต่ำ การเพิกเฉยเรื่องการแก้ปัญหาการทุจริต ทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีมากขึ้น รวมทั้งบั่นทอนประชาธิปไตย เป็นผลให้เกิดวงจรที่ชั่วร้ายตามมา
ในขณะเดียวกันยังพบว่ามีหลายประเทศที่ใช้เรื่องการระบาดของโควิด-19 เป็นข้ออ้างในการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ
ผลการสำรวจในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การปกป้องสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาการทุจริต ซึ่งถือเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับไทยและอีกหลายประเทศในอาเซียน ที่พบว่าดัชนีการรับรู้การทุจริตและสถานการณ์ด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน แย่ลงเรื่อย ๆ
ติดตามชมรายการ "ทันโลก กับ ที่นี่ Thai PBS" ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 21.00 น. และวันศุกร์ เวลา 21.30 น ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/ThisisThaipbs