เมื่อแรกเริ่มที่เพลงลูกทุ่งเริ่มออกสู่สายตาคนทั่วไปผ่านโทรทัศน์ ได้มีเสียงตำหนิติเตียนถึงความไม่เหมาะสมของเนื้อเพลงลูกทุ่งที่มีความเป็นตลาด การแต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะเมื่อปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ และเสียงร้องไม่ตรงตามห้องเสียงแบบเพลงลูกกรุง สิ่งเหล่านี้ทำให้คนลูกทุ่งในยุคแรกเริ่มไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไรนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป เพลงลูกทุ่งกลับครองใจผู้คนด้วยความแปลกใหม่ที่เคยถูกมองว่าไม่เหมาะสมนี่เอง และเป็นพื้นที่ทดลองอย่างที่ไม่เคยมีดนตรีประเภทไหนทำได้มาก่อน ในช่วงแรกลูกทุ่งลุ่มเจ้าพระยานั้นครองอำนาจสูงมาก แต่เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามา ลูกทุ่งสำเนียงอีสาน สำเนียงใต้ เข้าคืบกลืนจนคล้ายจะเป็นป่าล้อมเมือง มีอำนาจเหนือลูกทุ่งภาคกลางไม่น้อย และเพลงลูกทุ่งเหล่านี้ยังเดินทางสู่ประเทศเพื่อนบ้านด้วยแว่วเสียงอันไร้พรมแดนใดกั้น
During the early days of Luk Thung songs airing on television, there were criticisms concerning content that was considered “to be inappropriate”. The Luk Thung culture focused on provincial village ways of life and seemingly outdated ways of dressing. These television images portrayed people communicating in accents that were “clearly different” from the old Bangkok style of singing. These aspects formed the reasons as to why Luk Thung people, “especially during the early periods”, had some difficulty being accepted by urban society. But as time passed, Luk Thung songs won the hearts of the public, precisely due to these differently presented elements that were previously seen as being inappropriate. Luk toong became a major platform for experimentation, in a way that no style of music had ever accomplished before. In the early days, Luk Thung songs of the Chao Phraya River Basin topped the charts of popularity in the media. But with the changing of social, economic and technological trends, Luk Thung songs “with accents from Isan and the South” acquired a much more influential role, to the point of resembling a forest surrounding the city. They accomplished a significantly greater level of popularity than the Luk Thung of the Central Region. These Luk Thung songs from outside the central zone then traveled to neighboring countries, echoing a spirit expanding “beyond border and barrier”.
ติดตามเรื่องราวได้ใน Spirit of Asia ตอน แว่วเสียงเพลงลูกทุ่งจากลุ่มน้ำโขง วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และสามารถเลือกรับชมด้วยเสียงภาคภาษาอังกฤษ คลิก Setting ไปที่ Audio Track เลือกเสียง ซาวด์แทร็ก
เมื่อแรกเริ่มที่เพลงลูกทุ่งเริ่มออกสู่สายตาคนทั่วไปผ่านโทรทัศน์ ได้มีเสียงตำหนิติเตียนถึงความไม่เหมาะสมของเนื้อเพลงลูกทุ่งที่มีความเป็นตลาด การแต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะเมื่อปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ และเสียงร้องไม่ตรงตามห้องเสียงแบบเพลงลูกกรุง สิ่งเหล่านี้ทำให้คนลูกทุ่งในยุคแรกเริ่มไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไรนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป เพลงลูกทุ่งกลับครองใจผู้คนด้วยความแปลกใหม่ที่เคยถูกมองว่าไม่เหมาะสมนี่เอง และเป็นพื้นที่ทดลองอย่างที่ไม่เคยมีดนตรีประเภทไหนทำได้มาก่อน ในช่วงแรกลูกทุ่งลุ่มเจ้าพระยานั้นครองอำนาจสูงมาก แต่เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามา ลูกทุ่งสำเนียงอีสาน สำเนียงใต้ เข้าคืบกลืนจนคล้ายจะเป็นป่าล้อมเมือง มีอำนาจเหนือลูกทุ่งภาคกลางไม่น้อย และเพลงลูกทุ่งเหล่านี้ยังเดินทางสู่ประเทศเพื่อนบ้านด้วยแว่วเสียงอันไร้พรมแดนใดกั้น
During the early days of Luk Thung songs airing on television, there were criticisms concerning content that was considered “to be inappropriate”. The Luk Thung culture focused on provincial village ways of life and seemingly outdated ways of dressing. These television images portrayed people communicating in accents that were “clearly different” from the old Bangkok style of singing. These aspects formed the reasons as to why Luk Thung people, “especially during the early periods”, had some difficulty being accepted by urban society. But as time passed, Luk Thung songs won the hearts of the public, precisely due to these differently presented elements that were previously seen as being inappropriate. Luk toong became a major platform for experimentation, in a way that no style of music had ever accomplished before. In the early days, Luk Thung songs of the Chao Phraya River Basin topped the charts of popularity in the media. But with the changing of social, economic and technological trends, Luk Thung songs “with accents from Isan and the South” acquired a much more influential role, to the point of resembling a forest surrounding the city. They accomplished a significantly greater level of popularity than the Luk Thung of the Central Region. These Luk Thung songs from outside the central zone then traveled to neighboring countries, echoing a spirit expanding “beyond border and barrier”.
ติดตามเรื่องราวได้ใน Spirit of Asia ตอน แว่วเสียงเพลงลูกทุ่งจากลุ่มน้ำโขง วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และสามารถเลือกรับชมด้วยเสียงภาคภาษาอังกฤษ คลิก Setting ไปที่ Audio Track เลือกเสียง ซาวด์แทร็ก