เรียนรู้สาเหตุของอาการหลงลืม ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามช่วงวัย หรือเป็นผลมาจากพฤติกรรมที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะอาการ และโรคที่แตกต่างกันออกไปกับ พญ.ศุภมาศ วิบูรณ์สุขสันต์ แพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมอง มารู้จักอาการหลงลืมแบบที่กระทบต่อการใช้ชีวิต และผู้คนรอบตัวอย่างโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s Disease) หรืออาการเริ่มต้นของการมีความจำผิดปกติ (Mild Cognitive Impairment) ที่เป็นเพียงแค่อาการหลงลืมที่ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่กระทบการเข้าสังคม และอาการหลงลืมที่เกิดจากภาวะความเครียด อาการที่สามารถบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่อาจเป็นผลกระทบจากการเป็นโรคจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า (Depression) โรควิตกกังวล (Anxiety) พร้อมการดูแลตนเองเบื้องต้นโดยทำกิจกรรมบำรุงสมอง อย่างเกมที่ใช้ความคิด สื่อสารกับผู้คนรอบข้าง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อการทำงานที่ดีของสมอง ทานอาหารที่มีวิตามินบำรุงสมอง
ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
เรียนรู้สาเหตุของอาการหลงลืม ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามช่วงวัย หรือเป็นผลมาจากพฤติกรรมที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะอาการ และโรคที่แตกต่างกันออกไปกับ พญ.ศุภมาศ วิบูรณ์สุขสันต์ แพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมอง มารู้จักอาการหลงลืมแบบที่กระทบต่อการใช้ชีวิต และผู้คนรอบตัวอย่างโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s Disease) หรืออาการเริ่มต้นของการมีความจำผิดปกติ (Mild Cognitive Impairment) ที่เป็นเพียงแค่อาการหลงลืมที่ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่กระทบการเข้าสังคม และอาการหลงลืมที่เกิดจากภาวะความเครียด อาการที่สามารถบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่อาจเป็นผลกระทบจากการเป็นโรคจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า (Depression) โรควิตกกังวล (Anxiety) พร้อมการดูแลตนเองเบื้องต้นโดยทำกิจกรรมบำรุงสมอง อย่างเกมที่ใช้ความคิด สื่อสารกับผู้คนรอบข้าง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อการทำงานที่ดีของสมอง ทานอาหารที่มีวิตามินบำรุงสมอง
ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak