ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
FLASHPOINT จุดร้อนโลก

อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ

หน้ารายการ
23 เม.ย. 68

อาร์กติก ดินแดนปลายขอบโลก มีน้ำแข็งเป็นปราการขวางกั้นจากความมุ่งมาดปรารถนาในการครอบครองของมนุษย์ ใจกลางภูมิภาคคือมหาสมุทรอาร์กติก ล้อมรอบด้วยดินแดนของ 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และรัสเซีย

เป็นรัสเซียที่มีชายฝั่งติดกับอาร์ติกยาวที่สุด คือประมาณ 24,150 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 53 ของชายฝั่งริมอาร์กติกทั้งหมด

อาร์กติกป็นภูมิภาคที่ไม่มีพื้นทวีป มีเพียงภูเขาน้ำแข็งและแผ่นน้ำหนาแข็งปกคลุมทั่วพื้นที่ขนาด 16 ล้านตารางกิโลเมตรในช่วงฤดูหนาว เมื่อขั้วโลกเหนือหันเข้าสู่ดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน แผ่นน้ำแข็งเหล่านี้จะละลายและหดตัวลง ก่อนที่อีก 6 เดือนถัดมาน้ำแข็งก็จะขยายตัวครอบคลุมทั่วพื้นที่อีกครั้ง เป็นวัฏจักรที่ดำเนินมาหลายสหัสวรรษ ก่อให้เกิดลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นที่ไม่มีที่ใดเหมือน

เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

แต่วันนี้อาร์กติกกำลังเปลี่ยนไป ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ผืนน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา น้ำแข็งที่ละลายอย่างรวดเร็วกำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตและสรรพสิ่งในอาร์กติก

แต่สำหรับบางคน โลกร้อนไม่ใช่หายนะ แต่เป็นโอกาสทอง โดยเฉพาะในกรณีของอาร์ติก เพราะแผ่นน้ำแข็งหนาของขั้วโลกเหนือที่กำลังถูกหลอมละลายหมายถึงโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจและการค้าขาย

น้ำแข็งขั้วโลกเหนือที่กำลังละลายกำลังทำให้เส้นทางเดินเรือในอุดมคติที่เรียกว่า “เส้นทางเดินเรือสายเหนือ” หรือ Northern Sea Route ค่อย ๆ เผยโฉม

เป็นเส้นทางที่สามารถย่นระยะการเดินทางระหว่างซีกโลกตะวันตกกับซีกโลกตะวันออกได้ถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบเส้นทางที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบันอย่างการเดินเรือผ่านคลองสุเอซ ถึงแม้ระยะการเดินทางจะสั้นกว่าเส้นทางอื่น แต่เรือสินค้าที่ใช้เส้นทางผ่านขั้วโลกเหนือนี้มีไม่มากนักอันเนื่องมาจากมีผืนน้ำแข็งเป็นอุปสรรค

การเดินเรือทำได้เฉพาะช่วงฤดูร้อนในขั้วโลกเหนือซึ่งมีระยะเวลา 2-4 เดือนและต้องมีตัวช่วยอย่างเรือตัดน้ำแข็งเพื่อใช้เปิดเส้นทางให้ก่อน

ชาติที่จะได้ประโยชน์จากเส้นทางเดินเรือสายเหนือมาที่สุดคือรัสเซีย เนื่องจากมีชายฝั่งติดกับอาร์ติกยาวที่สุดนั่นก็คือ 24,150 กิโลเมตร หรือกว่าร้อยละ 53 ของชายฝั่งริมอาร์กติกทั้งหมด

รัสเซียจึงไม่รีรอในการประกาศความเป็นเจ้าของเหนือพื้นที่จำนวนมหาศาล ในเชิงสัญลักษณ์ รัสเซียปักธงชาติที่ใต้พื้นทะเลใจกลางขั้วโลกเหนือเมื่อปี 2007 แม้การปักธงอ้างสิทธิจะไม่มีผลทางกฎหมาย อธิปไตยของรัสเซียไม่ได้ขยายไปถึงกลางขั้วโลกเหนืออย่างที่อ้าง แต่การกระทำของรัสเซียสร้างความไม่พอใจให้ประเทศรอบอาร์กติก โดยเฉพาะแคนาดาเนื่องจากไปซ้อนทับเขตแดนที่ตนอ้างอธิปไตยเช่นกัน

อาร์กติก โอกาสทองที่มหาอำนาจจับจ้อง

ในทางกายภาพ รัสเซียลงทุนมหาศาลต่อเรือตัดน้ำแข็ง สิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดหากต้องการคุมพื้นที่และเส้นทางเดินเรือที่มีน้ำแข็งปกคลุม วันนี้รัสเซียมีเรือตัดน้ำแข็งประมาณ 40 ลำ มากกว่าเรือตัดน้ำแข็งของชาตินาโตทั้งหมดรวมกัน การขยายอำนาจทางทหารในอาร์กติกของรัสเซียมีเป้าหมายทั้งทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันจีนเริ่มปรากฏกายและขยายอิทธิพลในอาร์กติกผ่านความร่วมมือพัฒนาโครงการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติร่วมกับรัสเซีย รวมถึงออกปฏิบัติการทางทหารเป็นครั้งแรกร่วมกับรัสเซียในอาร์กติก ดินแดนซึ่งไม่มีส่วนใดติดกับแผ่นดินจีนแลย

การขยายแสนยานุภาพทางทหารอย่างรวดเร็วของรัสเซีย และความร่วมมือกับจีนที่เป็นชาตินอกอาร์กติก ทำให้ชาตินาโตที่มีชายฝั่งติดกับอาร์กติกไม่สามารถอยู่เฉยได้ สหรัฐฯ ที่เคยละสายตาไปจากอาร์กติกหลังสงครามเย็นสิ้นสุดกลับมาให้ความสนใจดินแดนอันหนาวเหน็บแห่งนี้อีกครั้ง

อาร์กติกไม่ใช่ดินแดนเวิ้งว้างและห่างไกลสุดปลายขอบโลกอีกต่อไป มวลน้ำแข็งที่ค่อย ๆ ละลายได้เผยเส้นทางใหม่ของการเดินเรือ ทรัพยากร และขุมอำนาจอันไร้ขีดจำกัด

สมรภูมิแห่งศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นที่นี่ พื้นที่ที่เปราะบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แม้การแข่งขันยังไร้ซึ่งเสียงปืน แต่เสียงคลื่นจากเรือของมหาอำนาจกำลังดังก้อง

ร่วมติดตามกับคุณ กรุณา บัวคำศรี ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ วันพุธที่ 23 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ

23 เม.ย. 68

อาร์กติก ดินแดนปลายขอบโลก มีน้ำแข็งเป็นปราการขวางกั้นจากความมุ่งมาดปรารถนาในการครอบครองของมนุษย์ ใจกลางภูมิภาคคือมหาสมุทรอาร์กติก ล้อมรอบด้วยดินแดนของ 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และรัสเซีย

เป็นรัสเซียที่มีชายฝั่งติดกับอาร์ติกยาวที่สุด คือประมาณ 24,150 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 53 ของชายฝั่งริมอาร์กติกทั้งหมด

อาร์กติกป็นภูมิภาคที่ไม่มีพื้นทวีป มีเพียงภูเขาน้ำแข็งและแผ่นน้ำหนาแข็งปกคลุมทั่วพื้นที่ขนาด 16 ล้านตารางกิโลเมตรในช่วงฤดูหนาว เมื่อขั้วโลกเหนือหันเข้าสู่ดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน แผ่นน้ำแข็งเหล่านี้จะละลายและหดตัวลง ก่อนที่อีก 6 เดือนถัดมาน้ำแข็งก็จะขยายตัวครอบคลุมทั่วพื้นที่อีกครั้ง เป็นวัฏจักรที่ดำเนินมาหลายสหัสวรรษ ก่อให้เกิดลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นที่ไม่มีที่ใดเหมือน

เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

แต่วันนี้อาร์กติกกำลังเปลี่ยนไป ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ผืนน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา น้ำแข็งที่ละลายอย่างรวดเร็วกำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตและสรรพสิ่งในอาร์กติก

แต่สำหรับบางคน โลกร้อนไม่ใช่หายนะ แต่เป็นโอกาสทอง โดยเฉพาะในกรณีของอาร์ติก เพราะแผ่นน้ำแข็งหนาของขั้วโลกเหนือที่กำลังถูกหลอมละลายหมายถึงโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจและการค้าขาย

น้ำแข็งขั้วโลกเหนือที่กำลังละลายกำลังทำให้เส้นทางเดินเรือในอุดมคติที่เรียกว่า “เส้นทางเดินเรือสายเหนือ” หรือ Northern Sea Route ค่อย ๆ เผยโฉม

เป็นเส้นทางที่สามารถย่นระยะการเดินทางระหว่างซีกโลกตะวันตกกับซีกโลกตะวันออกได้ถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบเส้นทางที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบันอย่างการเดินเรือผ่านคลองสุเอซ ถึงแม้ระยะการเดินทางจะสั้นกว่าเส้นทางอื่น แต่เรือสินค้าที่ใช้เส้นทางผ่านขั้วโลกเหนือนี้มีไม่มากนักอันเนื่องมาจากมีผืนน้ำแข็งเป็นอุปสรรค

การเดินเรือทำได้เฉพาะช่วงฤดูร้อนในขั้วโลกเหนือซึ่งมีระยะเวลา 2-4 เดือนและต้องมีตัวช่วยอย่างเรือตัดน้ำแข็งเพื่อใช้เปิดเส้นทางให้ก่อน

ชาติที่จะได้ประโยชน์จากเส้นทางเดินเรือสายเหนือมาที่สุดคือรัสเซีย เนื่องจากมีชายฝั่งติดกับอาร์ติกยาวที่สุดนั่นก็คือ 24,150 กิโลเมตร หรือกว่าร้อยละ 53 ของชายฝั่งริมอาร์กติกทั้งหมด

รัสเซียจึงไม่รีรอในการประกาศความเป็นเจ้าของเหนือพื้นที่จำนวนมหาศาล ในเชิงสัญลักษณ์ รัสเซียปักธงชาติที่ใต้พื้นทะเลใจกลางขั้วโลกเหนือเมื่อปี 2007 แม้การปักธงอ้างสิทธิจะไม่มีผลทางกฎหมาย อธิปไตยของรัสเซียไม่ได้ขยายไปถึงกลางขั้วโลกเหนืออย่างที่อ้าง แต่การกระทำของรัสเซียสร้างความไม่พอใจให้ประเทศรอบอาร์กติก โดยเฉพาะแคนาดาเนื่องจากไปซ้อนทับเขตแดนที่ตนอ้างอธิปไตยเช่นกัน

อาร์กติก โอกาสทองที่มหาอำนาจจับจ้อง

ในทางกายภาพ รัสเซียลงทุนมหาศาลต่อเรือตัดน้ำแข็ง สิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดหากต้องการคุมพื้นที่และเส้นทางเดินเรือที่มีน้ำแข็งปกคลุม วันนี้รัสเซียมีเรือตัดน้ำแข็งประมาณ 40 ลำ มากกว่าเรือตัดน้ำแข็งของชาตินาโตทั้งหมดรวมกัน การขยายอำนาจทางทหารในอาร์กติกของรัสเซียมีเป้าหมายทั้งทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันจีนเริ่มปรากฏกายและขยายอิทธิพลในอาร์กติกผ่านความร่วมมือพัฒนาโครงการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติร่วมกับรัสเซีย รวมถึงออกปฏิบัติการทางทหารเป็นครั้งแรกร่วมกับรัสเซียในอาร์กติก ดินแดนซึ่งไม่มีส่วนใดติดกับแผ่นดินจีนแลย

การขยายแสนยานุภาพทางทหารอย่างรวดเร็วของรัสเซีย และความร่วมมือกับจีนที่เป็นชาตินอกอาร์กติก ทำให้ชาตินาโตที่มีชายฝั่งติดกับอาร์กติกไม่สามารถอยู่เฉยได้ สหรัฐฯ ที่เคยละสายตาไปจากอาร์กติกหลังสงครามเย็นสิ้นสุดกลับมาให้ความสนใจดินแดนอันหนาวเหน็บแห่งนี้อีกครั้ง

อาร์กติกไม่ใช่ดินแดนเวิ้งว้างและห่างไกลสุดปลายขอบโลกอีกต่อไป มวลน้ำแข็งที่ค่อย ๆ ละลายได้เผยเส้นทางใหม่ของการเดินเรือ ทรัพยากร และขุมอำนาจอันไร้ขีดจำกัด

สมรภูมิแห่งศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นที่นี่ พื้นที่ที่เปราะบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แม้การแข่งขันยังไร้ซึ่งเสียงปืน แต่เสียงคลื่นจากเรือของมหาอำนาจกำลังดังก้อง

ร่วมติดตามกับคุณ กรุณา บัวคำศรี ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ วันพุธที่ 23 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

FLASHPOINT จุดร้อนโลก

ล่าสุด
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
9 ต.ค. 67
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
16 ต.ค. 67
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
23 ต.ค. 67
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
30 ต.ค. 67
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
6 พ.ย. 67
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
13 พ.ย. 67
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
20 พ.ย. 67
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
27 พ.ย. 67
สงครามนิวเคลียร์
สงครามนิวเคลียร์
4 ธ.ค. 67
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
11 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
18 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
25 ธ.ค. 67
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
1 ม.ค. 68
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
22 ม.ค. 68
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
29 ม.ค. 68
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
5 ก.พ. 68
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
12 ก.พ. 68
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
19 ก.พ. 68
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
26 ก.พ. 68
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
5 มี.ค. 68
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
12 มี.ค. 68
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
19 มี.ค. 68
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
26 มี.ค. 68
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
2 เม.ย. 68
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
9 เม.ย. 68
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
16 เม.ย. 68
กำลังเล่น...
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
23 เม.ย. 68

FLASHPOINT จุดร้อนโลก

ล่าสุด
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
9 ต.ค. 67
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
16 ต.ค. 67
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
23 ต.ค. 67
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
30 ต.ค. 67
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
6 พ.ย. 67
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
13 พ.ย. 67
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
20 พ.ย. 67
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
27 พ.ย. 67
สงครามนิวเคลียร์
สงครามนิวเคลียร์
4 ธ.ค. 67
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
11 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
18 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
25 ธ.ค. 67
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
1 ม.ค. 68
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
22 ม.ค. 68
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
29 ม.ค. 68
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
5 ก.พ. 68
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
12 ก.พ. 68
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
19 ก.พ. 68
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
26 ก.พ. 68
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
5 มี.ค. 68
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
12 มี.ค. 68
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
19 มี.ค. 68
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
26 มี.ค. 68
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
2 เม.ย. 68
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
9 เม.ย. 68
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
16 เม.ย. 68
กำลังเล่น...
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
23 เม.ย. 68

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย