ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
FLASHPOINT จุดร้อนโลก

ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น

หน้ารายการ
19 มี.ค. 68

ฉนวนกาซา : ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่นที่ยืดเยื้อกว่า 80 ปี

ฉนวนกาซา เป็นพื้นที่ขนาดเล็กเพียง 350 ตารางกิโลเมตร แต่กลับเป็นจุดยุทธศาสตร์และศูนย์กลางความขัดแย้งสำคัญของโลกมานานกว่า 80 ปี ย้อนกลับไปในปี 1947 องค์การสหประชาชาติได้มีมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น รัฐยิวและรัฐอาหรับ โดยกาซาถูกกำหนดให้เป็น ส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ แต่หลังจากที่อิสราเอลประกาศเอกราชในปี 1948 ก็เกิดสงครามขึ้น และนำไปสู่หายนะของชาวปาเลสไตน์ (Nakba) ที่ทำให้ประชากรจำนวนมากต้องลี้ภัยออกจากบ้านเกิดของตนเอง

Nakba หายนะของชาวปาเลสไตน์

ย้อนกลับไปในปี 1947 องค์การสหประชาชาติได้มีมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น รัฐยิวและรัฐอาหรับ โดยกาซาถูกกำหนดให้เป็น ส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ แต่หลังจากที่อิสราเอลประกาศเอกราชในปี 1948 ก็เกิดสงครามขึ้น และนำไปสู่หายนะของชาวปาเลสไตน์ (Nakba) ที่ทำให้ประชากรจำนวนมากต้องลี้ภัยออกจากบ้านเกิดของตนเอง ส่วนกาซาตกอยู่ภายใต้การปกครองของ อียิปต์ จนกระทั่งสงครามหกวันในปี 1967 เมื่ออิสราเอลเข้ายึดครองพื้นที่

นับแต่นั้นมา ฉนวนกาซากลายเป็นจุดขัดแย้งทางการเมืองและความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อกลุ่มฮามาสเข้าควบคุมพื้นที่ในปี 2005 และทำสงครามหลายครั้งกับอิสราเอล นำไปสู่การปิดล้อมฉนวนกาซาจากทั้งอิสราเอลและอียิปต์ เปลี่ยนให้ดินแดนนี้กลายเป็น "คุกกลางแจ้ง" ที่มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก

สถานการณ์ทุกอย่างกับย่ำแย่ลง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 กลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอล คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก และจับตัวประกันไว้ 251 คน อิสราเอลจึงตอบโต้ด้วยปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ ทำให้ประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนต้องพลัดถิ่น และกาซากลายเป็นซากปรักหักพัง หลังจากสงครามดำเนินมา 15 เดือน ในที่สุดก็มีการทำข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2025

โดนัลด์ ทรัมป์ นัคบาครั้งที่สาม

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของข้อตกลง ทรัมป์กลับสร้างความตกตะลึง 14 กุมภาพันธ์ 2025 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศแผนช็อกโลก ร่วมกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู โดยเสนอให้สหรัฐฯ เข้ายึดครองฉนวนกาซา พร้อมเปลี่ยนให้เป็น "ริเวียร่าของประชาชนโลก" หรือศูนย์กลางการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจระดับโลก ขณะเดียวกัน ประชากรชาวปาเลสไตน์จะถูกโยกย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

แผนการนี้ทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางเดือดพล่านขึ้นในทันที และกลายเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนของ ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ยืดเยื้อมานานหลายทศวรรษ

ข้อเสนอให้สหรัฐฯ เข้ายึดครองฉนวนกาซา และเปลี่ยนให้เป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยผลักดันให้ชาวปาเลสไตน์ อพยพออกจากดินแดนของตนเอง แผนการนี้ของทรัมป์ทำให้ นานาชาติตกตะลึงและไม่พอใจ ผู้นำของ จอร์แดนและอียิปต์ รีบออกมาปฏิเสธข้อเสนอนี้ทันที พร้อมย้ำว่า จะไม่มีทางรับชาวปาเลสไตน์ที่ถูกบังคับอพยพออกจากกาซา และเตือนว่าการกระทำดังกล่าว จะทำให้ตะวันออกกลางเข้าสู่ภาวะวิกฤตหนักกว่าเดิม

สำหรับประชาชนชาวปาเลสไตน์ แผนของทรัมป์เปรียบเสมือน "นัคบาครั้งที่สาม" หรือ การถูกขับไล่ออกจากบ้านเกิดเป็นครั้งที่สาม ในประวัติศาสตร์ของพวกเขา หลังจากเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1948 และ 1967

สิทธิ์ในการอยู่บนแผ่นดินของตัวเองที่ถูกพราก

ปัจจุบันชาวปาเลสไตน์ในกาซาต้องใช้ชีวิตในฐานะพลัดถิ่นในประเทศ คนรุ่นเก่าหลายคนยังคง เก็บกุญแจบ้านที่เคยอยู่ในอิสราเอลก่อนปี 1948 หวังว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะได้กลับไป

ทว่าในวันนี้ สิทธิ์ในการอยู่บนแผ่นดินของตัวเองกำลังถูกพรากไปอีกครั้ง จากปี 1948 มาจนถึงวันนี้ วันที่สงครามได้ทำลายทุกสิ่งจนย่อยยับ ฉนวนกาซาก็ยังคงเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งของอุดมการณ์และผลประโยชน์ทางการเมือง ที่ย่ำแย่กว่านั้นคือ ชาวกาซากว่าสองล้านคนยังคงต้องพลัดถิ่นและใช้ชีวิตบนคุกกลางแจ้งที่มีแต่ความไม่แน่นอน

ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น

19 มี.ค. 68

ฉนวนกาซา : ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่นที่ยืดเยื้อกว่า 80 ปี

ฉนวนกาซา เป็นพื้นที่ขนาดเล็กเพียง 350 ตารางกิโลเมตร แต่กลับเป็นจุดยุทธศาสตร์และศูนย์กลางความขัดแย้งสำคัญของโลกมานานกว่า 80 ปี ย้อนกลับไปในปี 1947 องค์การสหประชาชาติได้มีมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น รัฐยิวและรัฐอาหรับ โดยกาซาถูกกำหนดให้เป็น ส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ แต่หลังจากที่อิสราเอลประกาศเอกราชในปี 1948 ก็เกิดสงครามขึ้น และนำไปสู่หายนะของชาวปาเลสไตน์ (Nakba) ที่ทำให้ประชากรจำนวนมากต้องลี้ภัยออกจากบ้านเกิดของตนเอง

Nakba หายนะของชาวปาเลสไตน์

ย้อนกลับไปในปี 1947 องค์การสหประชาชาติได้มีมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น รัฐยิวและรัฐอาหรับ โดยกาซาถูกกำหนดให้เป็น ส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ แต่หลังจากที่อิสราเอลประกาศเอกราชในปี 1948 ก็เกิดสงครามขึ้น และนำไปสู่หายนะของชาวปาเลสไตน์ (Nakba) ที่ทำให้ประชากรจำนวนมากต้องลี้ภัยออกจากบ้านเกิดของตนเอง ส่วนกาซาตกอยู่ภายใต้การปกครองของ อียิปต์ จนกระทั่งสงครามหกวันในปี 1967 เมื่ออิสราเอลเข้ายึดครองพื้นที่

นับแต่นั้นมา ฉนวนกาซากลายเป็นจุดขัดแย้งทางการเมืองและความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อกลุ่มฮามาสเข้าควบคุมพื้นที่ในปี 2005 และทำสงครามหลายครั้งกับอิสราเอล นำไปสู่การปิดล้อมฉนวนกาซาจากทั้งอิสราเอลและอียิปต์ เปลี่ยนให้ดินแดนนี้กลายเป็น "คุกกลางแจ้ง" ที่มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก

สถานการณ์ทุกอย่างกับย่ำแย่ลง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 กลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอล คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก และจับตัวประกันไว้ 251 คน อิสราเอลจึงตอบโต้ด้วยปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ ทำให้ประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนต้องพลัดถิ่น และกาซากลายเป็นซากปรักหักพัง หลังจากสงครามดำเนินมา 15 เดือน ในที่สุดก็มีการทำข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2025

โดนัลด์ ทรัมป์ นัคบาครั้งที่สาม

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของข้อตกลง ทรัมป์กลับสร้างความตกตะลึง 14 กุมภาพันธ์ 2025 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศแผนช็อกโลก ร่วมกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู โดยเสนอให้สหรัฐฯ เข้ายึดครองฉนวนกาซา พร้อมเปลี่ยนให้เป็น "ริเวียร่าของประชาชนโลก" หรือศูนย์กลางการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจระดับโลก ขณะเดียวกัน ประชากรชาวปาเลสไตน์จะถูกโยกย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

แผนการนี้ทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางเดือดพล่านขึ้นในทันที และกลายเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนของ ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ยืดเยื้อมานานหลายทศวรรษ

ข้อเสนอให้สหรัฐฯ เข้ายึดครองฉนวนกาซา และเปลี่ยนให้เป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยผลักดันให้ชาวปาเลสไตน์ อพยพออกจากดินแดนของตนเอง แผนการนี้ของทรัมป์ทำให้ นานาชาติตกตะลึงและไม่พอใจ ผู้นำของ จอร์แดนและอียิปต์ รีบออกมาปฏิเสธข้อเสนอนี้ทันที พร้อมย้ำว่า จะไม่มีทางรับชาวปาเลสไตน์ที่ถูกบังคับอพยพออกจากกาซา และเตือนว่าการกระทำดังกล่าว จะทำให้ตะวันออกกลางเข้าสู่ภาวะวิกฤตหนักกว่าเดิม

สำหรับประชาชนชาวปาเลสไตน์ แผนของทรัมป์เปรียบเสมือน "นัคบาครั้งที่สาม" หรือ การถูกขับไล่ออกจากบ้านเกิดเป็นครั้งที่สาม ในประวัติศาสตร์ของพวกเขา หลังจากเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1948 และ 1967

สิทธิ์ในการอยู่บนแผ่นดินของตัวเองที่ถูกพราก

ปัจจุบันชาวปาเลสไตน์ในกาซาต้องใช้ชีวิตในฐานะพลัดถิ่นในประเทศ คนรุ่นเก่าหลายคนยังคง เก็บกุญแจบ้านที่เคยอยู่ในอิสราเอลก่อนปี 1948 หวังว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะได้กลับไป

ทว่าในวันนี้ สิทธิ์ในการอยู่บนแผ่นดินของตัวเองกำลังถูกพรากไปอีกครั้ง จากปี 1948 มาจนถึงวันนี้ วันที่สงครามได้ทำลายทุกสิ่งจนย่อยยับ ฉนวนกาซาก็ยังคงเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งของอุดมการณ์และผลประโยชน์ทางการเมือง ที่ย่ำแย่กว่านั้นคือ ชาวกาซากว่าสองล้านคนยังคงต้องพลัดถิ่นและใช้ชีวิตบนคุกกลางแจ้งที่มีแต่ความไม่แน่นอน

ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

FLASHPOINT จุดร้อนโลก

ล่าสุด
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
9 ต.ค. 67
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
16 ต.ค. 67
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
23 ต.ค. 67
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
30 ต.ค. 67
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
6 พ.ย. 67
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
13 พ.ย. 67
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
20 พ.ย. 67
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
27 พ.ย. 67
สงครามนิวเคลียร์
สงครามนิวเคลียร์
4 ธ.ค. 67
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
11 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
18 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
25 ธ.ค. 67
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
1 ม.ค. 68
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
22 ม.ค. 68
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
29 ม.ค. 68
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
5 ก.พ. 68
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
12 ก.พ. 68
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
19 ก.พ. 68
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
26 ก.พ. 68
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
5 มี.ค. 68
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
12 มี.ค. 68
กำลังเล่น...
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
19 มี.ค. 68
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
26 มี.ค. 68
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
2 เม.ย. 68
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
9 เม.ย. 68
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
16 เม.ย. 68

FLASHPOINT จุดร้อนโลก

ล่าสุด
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
9 ต.ค. 67
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
16 ต.ค. 67
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
23 ต.ค. 67
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
30 ต.ค. 67
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
6 พ.ย. 67
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
13 พ.ย. 67
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
20 พ.ย. 67
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
27 พ.ย. 67
สงครามนิวเคลียร์
สงครามนิวเคลียร์
4 ธ.ค. 67
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
11 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
18 ธ.ค. 67
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
25 ธ.ค. 67
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
1 ม.ค. 68
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
22 ม.ค. 68
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
29 ม.ค. 68
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
5 ก.พ. 68
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
12 ก.พ. 68
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
19 ก.พ. 68
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
26 ก.พ. 68
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
5 มี.ค. 68
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
12 มี.ค. 68
กำลังเล่น...
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
19 มี.ค. 68
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
26 มี.ค. 68
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
2 เม.ย. 68
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
9 เม.ย. 68
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
16 เม.ย. 68

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย