จะเรียกโครงการแลนด์บริดจ์ สะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทย - อันดามัน หรือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ แลนด์บริดจ์ระนอง - ชุมพร มูลค่า 5 แสนล้าน ผ่านมติ ครม.รับทราบหลักการไปแล้ว และมีการรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนแล้ว ตัวโครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบไปด้วยท่าเรือน้ำลึกชุมพร, ระนอง, มอเตอร์เวย์ - รถไฟทางคู่เชื่อมอ่าวไทย - อันดามัน ตั้งเป้าเริ่มสร้างปีหน้า เปิดบริการปี 2573 ถ้าเป็นไปตามที่ภาครัฐหวัง คือ จะสามารถรองรับเรือขนส่ง 400,000 ลำต่อปี
ความเสี่ยงต่อฐานทรัพยากรและต้นทุนทางธรมชาติ เป็นเรื่องใหญ่ที่คนในพื้นที่กังวล เหตุผลคือ เพราะจุดที่โครงการจะพาดผ่าน เป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก คนในพื้นที่จึงกังวลว่าการสร้างโครงการ จะเปลี่ยนทางน้ำทำร้ายระบบนิเวศ และการเวนคืนจะไม่เป็นธรรม จากข้อมูลชุมชน ต.พะโตะ จ.ชุมพร พบว่าปริมาณการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแหล่งน้ำ โดยเฉพาะการทำการเกษตร และบริโภค เนื่องจาก อ.พะโต๊ะ มีการประกอบอาชีพเกษตร 6,178 ครัวเรือน และมีพื้นที่เกษตรกรรมรวม 149,578 ไร่ มีรายได้จากเกษตรปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท แต่ 80% ของรายได้ที่ว่า เกษตรกรทำเกษตร บนที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หากถูกเวนคืนจะได้รับเฉพาะค่าอาสิน (เงินค่าเวนคืน) ที่ให้ ผลผลิตแล้ว เช่น ทุเรียน ต้นละ 18,740 บาท มังคุด ต้นละ 5,710 บาท ปาล์มน้ำมัน อายุ 3 ปีขึ้นไป ต้นละ 5,800 บาท ยางพารา ต้นละ 4,370 บาท
ก่อนหน้านี้มีข้อกังวลว่าจะมีต่างชาติรายไหนสนใจลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์หรือเปล่า เพราะมันใช้งบประมาณมหาศาลมาก ล่าสุดกระทรวงคมนาคมกำลังหารือกับหนึ่งในชาติที่มีแนวโน้มจะสนใจเข้าร่วมลงทุน
เรื่องแลนด์บริดจ์มีความเคลื่อนไหวจากสภามาตั้งแต่วันก่อน โดยกรรมาธิการ การเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง ของวุฒิสภา ไปที่จังหวัดชุมพร ร่วมประชุมขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) และติดตามผลการดำเนินการแลนด์บริดจ์ด้วย
ติดตามรายการ อนาคตประเทศไทย ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
จะเรียกโครงการแลนด์บริดจ์ สะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทย - อันดามัน หรือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ แลนด์บริดจ์ระนอง - ชุมพร มูลค่า 5 แสนล้าน ผ่านมติ ครม.รับทราบหลักการไปแล้ว และมีการรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนแล้ว ตัวโครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบไปด้วยท่าเรือน้ำลึกชุมพร, ระนอง, มอเตอร์เวย์ - รถไฟทางคู่เชื่อมอ่าวไทย - อันดามัน ตั้งเป้าเริ่มสร้างปีหน้า เปิดบริการปี 2573 ถ้าเป็นไปตามที่ภาครัฐหวัง คือ จะสามารถรองรับเรือขนส่ง 400,000 ลำต่อปี
ความเสี่ยงต่อฐานทรัพยากรและต้นทุนทางธรมชาติ เป็นเรื่องใหญ่ที่คนในพื้นที่กังวล เหตุผลคือ เพราะจุดที่โครงการจะพาดผ่าน เป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก คนในพื้นที่จึงกังวลว่าการสร้างโครงการ จะเปลี่ยนทางน้ำทำร้ายระบบนิเวศ และการเวนคืนจะไม่เป็นธรรม จากข้อมูลชุมชน ต.พะโตะ จ.ชุมพร พบว่าปริมาณการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแหล่งน้ำ โดยเฉพาะการทำการเกษตร และบริโภค เนื่องจาก อ.พะโต๊ะ มีการประกอบอาชีพเกษตร 6,178 ครัวเรือน และมีพื้นที่เกษตรกรรมรวม 149,578 ไร่ มีรายได้จากเกษตรปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท แต่ 80% ของรายได้ที่ว่า เกษตรกรทำเกษตร บนที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หากถูกเวนคืนจะได้รับเฉพาะค่าอาสิน (เงินค่าเวนคืน) ที่ให้ ผลผลิตแล้ว เช่น ทุเรียน ต้นละ 18,740 บาท มังคุด ต้นละ 5,710 บาท ปาล์มน้ำมัน อายุ 3 ปีขึ้นไป ต้นละ 5,800 บาท ยางพารา ต้นละ 4,370 บาท
ก่อนหน้านี้มีข้อกังวลว่าจะมีต่างชาติรายไหนสนใจลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์หรือเปล่า เพราะมันใช้งบประมาณมหาศาลมาก ล่าสุดกระทรวงคมนาคมกำลังหารือกับหนึ่งในชาติที่มีแนวโน้มจะสนใจเข้าร่วมลงทุน
เรื่องแลนด์บริดจ์มีความเคลื่อนไหวจากสภามาตั้งแต่วันก่อน โดยกรรมาธิการ การเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง ของวุฒิสภา ไปที่จังหวัดชุมพร ร่วมประชุมขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) และติดตามผลการดำเนินการแลนด์บริดจ์ด้วย
ติดตามรายการ อนาคตประเทศไทย ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live