ผู้ป่วยโควิด-19 ล้นโรงพยาบาลอินเดียเตียงละสองคน
สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ประเทศอินเดีย วิกฤตผู้ป่วยล้นเครื่องช่วยหายใจคนละเครื่อง
จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดรายใหม่ที่อินเดียเพิ่มจากวันละไม่ถึง 10,000 คนในช่วงก่อนสิ้นปี 2563 พุ่งขึ้นสูงกว่าวันละ 200,000 คน ณ วันที่ 15 เมษายน
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่าที่โรงพยาบาลโลกนายก ชัยประกาศ นารายัน (Lok Nayak Jai Prakash Narayan โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย รองรับผู้ป่วยได้ 1,500 เตียง เสียงไซเรนรถพยาบาลฉุกเฉินดังตลอดเวลา
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่เดินทางมาด้วยรถโดยสารประจำทาง และบ้างก็นั่งรถสามล้อลาก ผู้ป่วยที่อายุน้อยที่สุดเป็นทารกแรกเกิด
ผู้ป่วยวิกฤตเพิ่มจาก 54 เตียงเป็นกว่า 300 เตียงผู้ป่วยที่เพิ่มไม่หยุดทำให้โรงพยาบาลโลกนายก ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีให้ผู้ป่วยนอนร่วมเตียง
ดร.สุเรช กุมาร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโลกนายก บอกว่า เฉพาะวันพฤหัสบดี (15 เม.ย. 64) วันเดียวโรงพยาบาลรับผู้ป่วยโควิด-19 เป็นจำนวน 158 คน เกือบทั้งหมดเป็นผู้ป่วยหนัก
"การระบาดหนักรอบนี้เกิดขึ้นเพราะความสะเพร่าไม่ใส่ใจของผู้คน ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข โดยเฉพาะคนที่หนีการตรวจหาเชื้อไวรัส ความสะเพร่าของผู้คน กลายเป็นภาระของประเทศ" ดร.สุเรช กุมาร์ กล่าว
ผู้ป่วยโควิด-19 ล้นโรงพยาบาลอินเดียเตียงละสองคน
สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ประเทศอินเดีย วิกฤตผู้ป่วยล้นเครื่องช่วยหายใจคนละเครื่อง
จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดรายใหม่ที่อินเดียเพิ่มจากวันละไม่ถึง 10,000 คนในช่วงก่อนสิ้นปี 2563 พุ่งขึ้นสูงกว่าวันละ 200,000 คน ณ วันที่ 15 เมษายน
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่าที่โรงพยาบาลโลกนายก ชัยประกาศ นารายัน (Lok Nayak Jai Prakash Narayan โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย รองรับผู้ป่วยได้ 1,500 เตียง เสียงไซเรนรถพยาบาลฉุกเฉินดังตลอดเวลา
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่เดินทางมาด้วยรถโดยสารประจำทาง และบ้างก็นั่งรถสามล้อลาก ผู้ป่วยที่อายุน้อยที่สุดเป็นทารกแรกเกิด
ผู้ป่วยวิกฤตเพิ่มจาก 54 เตียงเป็นกว่า 300 เตียงผู้ป่วยที่เพิ่มไม่หยุดทำให้โรงพยาบาลโลกนายก ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีให้ผู้ป่วยนอนร่วมเตียง
ดร.สุเรช กุมาร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโลกนายก บอกว่า เฉพาะวันพฤหัสบดี (15 เม.ย. 64) วันเดียวโรงพยาบาลรับผู้ป่วยโควิด-19 เป็นจำนวน 158 คน เกือบทั้งหมดเป็นผู้ป่วยหนัก
"การระบาดหนักรอบนี้เกิดขึ้นเพราะความสะเพร่าไม่ใส่ใจของผู้คน ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข โดยเฉพาะคนที่หนีการตรวจหาเชื้อไวรัส ความสะเพร่าของผู้คน กลายเป็นภาระของประเทศ" ดร.สุเรช กุมาร์ กล่าว