324661597_1078550233539701_8906667455168458852_n.jpg

ยา PrEP กับ PEP คืออะไร และสามารถรับได้ที่ไหนบ้าง

12 ม.ค. 66

เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ HIV เริ่มใช้เตรียมไว้ก่อนจะมีโอกาสสัมผัสเชื้อ และใช้ต่อเนื่องจนหมดโอกาสนั้น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง-เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์-ใช้ยาเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยต้องมีผลเลือดลบ

  1. กินยาเป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
  2. ตรวจเลือดทุก ๆ 3 เดือน สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เกือบ 100% ถ้าทำตามเงื่อนไข แต่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ เช่น หนองใน หนองในเทียม หรือซิฟิลิส

วิธีรับยา คือ

  • ตรวจเลือดที่คลินิกเทคนิคทางการแพทย์ภาคประชาสังคม
  • ส่งผลตรวจและสั่งจ่ายยาโดยแพทย์และเภสัชกรในสถานพยาบาลรัฐ แต่ต้องมีสิทธิบัตรทองเท่านั้น

เพ็พ (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่เพิ่งสัมผัสเชื้อ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

  1. ต้องได้รับทันที ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  2. รับยาติดต่อกัน 28 วัน ถ้ารับยาเร็ว สามารถป้องกันการติดเชื้อได้กว่า 80% แต่หากติดเชื้ออยู่แล้ว ไม่สามารถใช้ได้

วิธีรับยา คือ ปรึกษาและตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์

28 ธ.ค. 65 สปสช.กำหนดให้งบประมาณการป้องกันการติดเชื้อ HIV ครอบคลุมเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทองเท่านั้น ทำให้ผู้มีสิทธิรักษาอื่น ๆ ไม่สามารถรับยาได้ และคลินิกภาคประชาสังคมไม่สามารถจ่ายยาได้ ทำให้สื่อสังคมออนไลน์สร้างแฮชแท็ก #PrEPต้องเข้าถึงได้  #อย่าหยุดจ่ายPrEP เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนสามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้

ที่มา : ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลีนิคนิรนาม), โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, The Active

ยา PrEP กับ PEP คืออะไร และสามารถรับได้ที่ไหนบ้าง

12 ม.ค. 66

เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ HIV เริ่มใช้เตรียมไว้ก่อนจะมีโอกาสสัมผัสเชื้อ และใช้ต่อเนื่องจนหมดโอกาสนั้น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง-เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์-ใช้ยาเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยต้องมีผลเลือดลบ

  1. กินยาเป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
  2. ตรวจเลือดทุก ๆ 3 เดือน สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เกือบ 100% ถ้าทำตามเงื่อนไข แต่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ เช่น หนองใน หนองในเทียม หรือซิฟิลิส

วิธีรับยา คือ

  • ตรวจเลือดที่คลินิกเทคนิคทางการแพทย์ภาคประชาสังคม
  • ส่งผลตรวจและสั่งจ่ายยาโดยแพทย์และเภสัชกรในสถานพยาบาลรัฐ แต่ต้องมีสิทธิบัตรทองเท่านั้น

เพ็พ (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่เพิ่งสัมผัสเชื้อ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

  1. ต้องได้รับทันที ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  2. รับยาติดต่อกัน 28 วัน ถ้ารับยาเร็ว สามารถป้องกันการติดเชื้อได้กว่า 80% แต่หากติดเชื้ออยู่แล้ว ไม่สามารถใช้ได้

วิธีรับยา คือ ปรึกษาและตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์

28 ธ.ค. 65 สปสช.กำหนดให้งบประมาณการป้องกันการติดเชื้อ HIV ครอบคลุมเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทองเท่านั้น ทำให้ผู้มีสิทธิรักษาอื่น ๆ ไม่สามารถรับยาได้ และคลินิกภาคประชาสังคมไม่สามารถจ่ายยาได้ ทำให้สื่อสังคมออนไลน์สร้างแฮชแท็ก #PrEPต้องเข้าถึงได้  #อย่าหยุดจ่ายPrEP เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนสามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้

ที่มา : ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลีนิคนิรนาม), โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, The Active