จุดเสี่ยงทั่วร่างกาย ผลกระทบโดยตรงจากอากาศร้อนที่ต้องระวัง!

จุดเสี่ยงทั่วร่างกาย ผลกระทบโดยตรงจากอากาศร้อนที่ต้องระวัง!

17 เม.ย. 68

อากาศร้อนต่อเนื่องแบบนี้ นอกจากความรู้สึกภายนอกจะทนไม่ไหวกันแล้ว ร่างกายภายในก็ไม่สามารถรับความร้อนที่มากเกินไปได้ด้วยเช่นเดียว แม้จะดูจากภายนอกอาจไม่รู้สึกอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วอวัยวะภายในบอบช้ำเพราะความร้อนมากกว่าที่คิด 

Thai PBS ชวนคุณสังเกตประเมินความเสี่ยงจากความร้อนทั่วร่างกาย ให้คุณได้ระมัดระวังตัว ระหว่างฝ่าความร้อนออกจากบ้าน ลดผลกระทบที่มีต่อร่างกาย

  • ผิวหนัง 
    รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดจะทำลายผิวหนัง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาได้อย่างรวดเร็ว เช่น ผิวไหม้ ผิวคล้ำเสีย จุดด่างดำ ฝ้า กระ เมื่อสะสมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง 
  • สมอง 
    ความร้อนสูงส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง ทำให้เกิดอาการสับสน มึนงง เวียนศีรษะ และในกรณีที่รุนแรงอาจหมดสติจนเป็นโรคลมแดดและเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที
  • หัวใจ 
    เมื่อร่างกายร้อนขึ้น หัวใจจะทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ความร้อนยังทำให้หลอดเลือดขยายตัว อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเกิดอาการหน้ามืดตามมาได้
  • ไต
    เมื่อตากแดดเป็นเวลานาน ๆ ความร้อนจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ การไหลเวียนของโลหิตภายในร่างกายจะลดลง ทำให้ไตกรองของเสียได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย
  • ปอด
    อากาศร้อนทำให้ร่างกายต้องหายใจเร็วและแรงขึ้น เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย สร้างปัญหาให้กับคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นภาระหนักสำหรับปอดที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เหนื่อยหอบง่ายขึ้น 
  • กล้ามเนื้อ
    เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำเสียเพราะอากาศร้อน สูญเสียเกลือแร่ อาจทำให้เกิดตะคริวแดด ภาวะที่กล้ามเนื้อหดตัวและเป็นตะคริวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณน่อง ต้นขา และหน้าท้อง

ร้อนนี้ต้องระวัง! อากาศร้อนส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายทั้งหมด ร่างกายจะทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม จนเกิดผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ ฤดูร้อนจึงเป็นฤดูที่ต้องดูแลร่างกายเป็นพิเศษ อย่าตากแดดเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะถ้าเกิดปัญหาหนักกับร่างกายขึ้นมาเมื่อไหร่ เป็นการยากที่จะนำกลับคืนมาได้

 

ติดตามบทความที่น่าสนใจจากเครือ Thai PBS ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความนี้

จุดเสี่ยงทั่วร่างกาย ผลกระทบโดยตรงจากอากาศร้อนที่ต้องระวัง!

17 เม.ย. 68

อากาศร้อนต่อเนื่องแบบนี้ นอกจากความรู้สึกภายนอกจะทนไม่ไหวกันแล้ว ร่างกายภายในก็ไม่สามารถรับความร้อนที่มากเกินไปได้ด้วยเช่นเดียว แม้จะดูจากภายนอกอาจไม่รู้สึกอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วอวัยวะภายในบอบช้ำเพราะความร้อนมากกว่าที่คิด 

Thai PBS ชวนคุณสังเกตประเมินความเสี่ยงจากความร้อนทั่วร่างกาย ให้คุณได้ระมัดระวังตัว ระหว่างฝ่าความร้อนออกจากบ้าน ลดผลกระทบที่มีต่อร่างกาย

  • ผิวหนัง 
    รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดจะทำลายผิวหนัง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาได้อย่างรวดเร็ว เช่น ผิวไหม้ ผิวคล้ำเสีย จุดด่างดำ ฝ้า กระ เมื่อสะสมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง 
  • สมอง 
    ความร้อนสูงส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง ทำให้เกิดอาการสับสน มึนงง เวียนศีรษะ และในกรณีที่รุนแรงอาจหมดสติจนเป็นโรคลมแดดและเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที
  • หัวใจ 
    เมื่อร่างกายร้อนขึ้น หัวใจจะทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ความร้อนยังทำให้หลอดเลือดขยายตัว อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเกิดอาการหน้ามืดตามมาได้
  • ไต
    เมื่อตากแดดเป็นเวลานาน ๆ ความร้อนจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ การไหลเวียนของโลหิตภายในร่างกายจะลดลง ทำให้ไตกรองของเสียได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย
  • ปอด
    อากาศร้อนทำให้ร่างกายต้องหายใจเร็วและแรงขึ้น เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย สร้างปัญหาให้กับคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นภาระหนักสำหรับปอดที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เหนื่อยหอบง่ายขึ้น 
  • กล้ามเนื้อ
    เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำเสียเพราะอากาศร้อน สูญเสียเกลือแร่ อาจทำให้เกิดตะคริวแดด ภาวะที่กล้ามเนื้อหดตัวและเป็นตะคริวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณน่อง ต้นขา และหน้าท้อง

ร้อนนี้ต้องระวัง! อากาศร้อนส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายทั้งหมด ร่างกายจะทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม จนเกิดผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ ฤดูร้อนจึงเป็นฤดูที่ต้องดูแลร่างกายเป็นพิเศษ อย่าตากแดดเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะถ้าเกิดปัญหาหนักกับร่างกายขึ้นมาเมื่อไหร่ เป็นการยากที่จะนำกลับคืนมาได้

 

ติดตามบทความที่น่าสนใจจากเครือ Thai PBS ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความนี้