แผ่นดินไหว วัดอย่างไร ? เปรียบเทียบมาตรวัดและการใช้งาน

แผ่นดินไหว วัดอย่างไร ? เปรียบเทียบมาตรวัดและการใช้งาน

2 เม.ย. 68

หน่วยวัดแผ่นดินไหว ซึ่งใช้วัด “ขนาด” และ “ความรุนแรง” สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ที่มักเจอในชีวิตประจำวัน

 

1. ขนาด

การใช้งาน : เพื่อบอกพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว

• มาตราริกเตอร์ (Richter Scale : ML)  
• มาตราโมเมนต์ (Moment Magnitude : Mw) มาตรฐานสากลปัจจุบัน  
• มาตราคลื่นตัวกลาง (Body-wave Magnitude : Mb)  
• มาตราคลื่นผิว (Surface-wave Magnitude : Ms)

 

2. ความรุนแรง

การใช้งาน : เพื่อบอกผลกระทบที่ผู้คนรู้สึก หรือความเสียหายบนพื้นดิน เช่น อาคาร บ้านเรือน และการวางแผนรับมือภัยพิบัติในพื้นที่ต่าง ๆ

• มาตราเมอร์คัลลีย์ (Modified Mercalli Intensity : MMI)  
• มาตราชินโดะ (JMA Intensity : JMA)  
• มาตราภูมิภาคยุโรป (European Macroseismic Intensity : EMS-98 )  
• มาตราเมดเวเดพ-สปอนฮอเออร์-คาร์นิก (Medvedev-Sponheuer-Karnik Intensity : MSK)  
• มาตราของจีน (China Seismic Intensity Scale : CSIS)

 

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยวัดทางฟิสิกส์ มักจะเจอในงานด้านวิศวกรรม การออกแบบ สำหรับใช้ในการออกแบบอาคารต้านแรงสั่น หรือใช้ในแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหว เช่น Peak Ground Acceleration (PGA), Peak Ground Velocity (PGV) และ Spectral Acceleration (Sa) ซึ่งใช้ในวิศวกรรมโครงสร้าง

 

รู้หรือไม่ ?

 

“ริกเตอร์” คือ มาตราวัดแผ่นดินไหว ส่วน “แมกนิจูด” คือ ขนาดของแผ่นดินไหว ทั้งสองคำนี้จึง “ไม่ใช่” หน่วยวัดขนาดหรือระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว ดังนั้นในการรายงานข่าวแผ่นดินไหว ต้องใช้ว่า “แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ตามมาตราริกเตอร์” หรือ “แผ่นดินไหวขนาด 5.0”

 

สำหรับในประเทศไทยจะใช้มาตราริกเตอร์เป็นหลัก แต่มาตราริกเตอร์ใช้วัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิน 7 ไม่ได้ จึงใช้มาตราวัดอื่น ๆ เช่น มาตราโมเมนต์ (Mw), มาตราคลื่นตัวกลาง (Mb), มาตราคลื่นผิว (Ms) โดยมาตราที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ มาตราโมเมนต์ที่วัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้อย่างแม่นยำ

 

 

แผ่นดินไหว วัดอย่างไร ? เปรียบเทียบมาตรวัดและการใช้งาน

2 เม.ย. 68

หน่วยวัดแผ่นดินไหว ซึ่งใช้วัด “ขนาด” และ “ความรุนแรง” สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ที่มักเจอในชีวิตประจำวัน

 

1. ขนาด

การใช้งาน : เพื่อบอกพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว

• มาตราริกเตอร์ (Richter Scale : ML)  
• มาตราโมเมนต์ (Moment Magnitude : Mw) มาตรฐานสากลปัจจุบัน  
• มาตราคลื่นตัวกลาง (Body-wave Magnitude : Mb)  
• มาตราคลื่นผิว (Surface-wave Magnitude : Ms)

 

2. ความรุนแรง

การใช้งาน : เพื่อบอกผลกระทบที่ผู้คนรู้สึก หรือความเสียหายบนพื้นดิน เช่น อาคาร บ้านเรือน และการวางแผนรับมือภัยพิบัติในพื้นที่ต่าง ๆ

• มาตราเมอร์คัลลีย์ (Modified Mercalli Intensity : MMI)  
• มาตราชินโดะ (JMA Intensity : JMA)  
• มาตราภูมิภาคยุโรป (European Macroseismic Intensity : EMS-98 )  
• มาตราเมดเวเดพ-สปอนฮอเออร์-คาร์นิก (Medvedev-Sponheuer-Karnik Intensity : MSK)  
• มาตราของจีน (China Seismic Intensity Scale : CSIS)

 

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยวัดทางฟิสิกส์ มักจะเจอในงานด้านวิศวกรรม การออกแบบ สำหรับใช้ในการออกแบบอาคารต้านแรงสั่น หรือใช้ในแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหว เช่น Peak Ground Acceleration (PGA), Peak Ground Velocity (PGV) และ Spectral Acceleration (Sa) ซึ่งใช้ในวิศวกรรมโครงสร้าง

 

รู้หรือไม่ ?

 

“ริกเตอร์” คือ มาตราวัดแผ่นดินไหว ส่วน “แมกนิจูด” คือ ขนาดของแผ่นดินไหว ทั้งสองคำนี้จึง “ไม่ใช่” หน่วยวัดขนาดหรือระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว ดังนั้นในการรายงานข่าวแผ่นดินไหว ต้องใช้ว่า “แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ตามมาตราริกเตอร์” หรือ “แผ่นดินไหวขนาด 5.0”

 

สำหรับในประเทศไทยจะใช้มาตราริกเตอร์เป็นหลัก แต่มาตราริกเตอร์ใช้วัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิน 7 ไม่ได้ จึงใช้มาตราวัดอื่น ๆ เช่น มาตราโมเมนต์ (Mw), มาตราคลื่นตัวกลาง (Mb), มาตราคลื่นผิว (Ms) โดยมาตราที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ มาตราโมเมนต์ที่วัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้อย่างแม่นยำ