🚨 Update 20.18 น. วันที่ 28 มี.ค. 68 เกิด #อาฟเตอร์ช็อก #แผ่นดินไหวเมียนมา แล้ว 34 ครั้ง
.
#กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการเกิดอาฟเตอร์ช็อก หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา
.
สำหรับเหตุภัยแผ่นดินไหวนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุข้อมูลว่า แผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้องจากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐานสากล
.
ได้แก่ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล เมื่อตรวจพบความผิดปกติก็จะสามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนได้ทันที
.
ขณะที่ในประเทศไทยพบว่า “มีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวได้น้อย” แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น สิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว คือการติดตามข่าวสารด้านภัยธรรมชาติอยู่เสมอ ๆ เพื่อรับข้อมูลได้รวดเร็ว หากเกิดเหตุขึ้นก็จะสามารถเตรียมตัวอพยพได้ทันท่วงที
.
⚠️ ติดตามสถานการณ์ #แผ่นดินไหว ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับ #ThaiPBS ได้ที่ www.thaipbs.or.th/Earthquake และทุกช่องทางออนไลน์ไทยพีบีเอส
🚨 Update 20.18 น. วันที่ 28 มี.ค. 68 เกิด #อาฟเตอร์ช็อก #แผ่นดินไหวเมียนมา แล้ว 34 ครั้ง
.
#กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการเกิดอาฟเตอร์ช็อก หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา
.
สำหรับเหตุภัยแผ่นดินไหวนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุข้อมูลว่า แผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้องจากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐานสากล
.
ได้แก่ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล เมื่อตรวจพบความผิดปกติก็จะสามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนได้ทันที
.
ขณะที่ในประเทศไทยพบว่า “มีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวได้น้อย” แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น สิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว คือการติดตามข่าวสารด้านภัยธรรมชาติอยู่เสมอ ๆ เพื่อรับข้อมูลได้รวดเร็ว หากเกิดเหตุขึ้นก็จะสามารถเตรียมตัวอพยพได้ทันท่วงที
.
⚠️ ติดตามสถานการณ์ #แผ่นดินไหว ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับ #ThaiPBS ได้ที่ www.thaipbs.or.th/Earthquake และทุกช่องทางออนไลน์ไทยพีบีเอส