เคลมได้ไม่เหมือนเก่า ! รู้จัก “Copayment” ประกันสุขภาพที่ต้องรู้

เคลมได้ไม่เหมือนเก่า ! รู้จัก “Copayment” ประกันสุขภาพที่ต้องรู้

13 ก.พ. 68

ประกันสุขภาพ ที่ทำตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป ใช้ระบบใหม่คือ ลูกค้าร่วมจ่าย หรือ Copayment 30% หรือ 50% ตามสัดส่วนที่กำหนดในค่ารักษาพยาบาล เริ่มมีผลในการต่ออายุกรมธรรม์รอบปี 2569 เป็นต้นไป

 

3 เงื่อนไขเข้า Copayment

เงื่อนไข 1 เคลมโรคไม่รุนแรง หรืออาการไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ที่เบิกเคลมผู้ป่วยใน (IPD) มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก IPD มากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันภัยสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป

 

อะไรคืออาการป่วยเล็กน้อย 

• ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน 
• ไข้หวัดใหญ่ 
• ท้องเสีย 
• เวียนศีรษะ 
• ไข้ไม่ระบุสาเหตุ 
• ปวดหัว 
• กล้ามเนื้ออักเสบ 
• ภูมิแพ้ 
• โรคกระเพาะอาหารอักเสบ 
• กรดไหลย้อน

 

เงื่อนไข 2 เคลมโรคทั่วไป ไม่นับผ่าตัดใหญ่และโรคร้ายแรง เบิกเคลมผู้ป่วยใน มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก IPD มากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป

 

เงื่อนไข 3 หากเข้าเงื่อนไขทั้งกรณี 1 และกรณี 2 จะต้องร่วมจ่าย 50% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป หากการเคลมปรับลดลงและไม่เข้าเงื่อนไข Copayment บริษัทประกันชีวิตจะพิจารณายกเลิกการมีส่วนร่วมจ่ายของลูกค้าในปีถัดไป

 

รู้ได้ไงเราเข้าเงื่อนไข Copayment ?

Copayment จะถูกพิจารณาทุกรอบปีกรมธรรม์ เช่น หากรอบปีนี้มีการเบิกเคลม จะมีผลตอนชำระเบี้ยประกันในรอบปีต่อไป ซึ่งบริษัทประกันภัยจะมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าก่อนชำระเบี้ยประกันไม่น้อยกว่า 15 วัน

 

ที่มา : สมาคมประกันชีวิตไทย วันที่ 6 ก.พ. 68
 

เคลมได้ไม่เหมือนเก่า ! รู้จัก “Copayment” ประกันสุขภาพที่ต้องรู้

13 ก.พ. 68

ประกันสุขภาพ ที่ทำตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป ใช้ระบบใหม่คือ ลูกค้าร่วมจ่าย หรือ Copayment 30% หรือ 50% ตามสัดส่วนที่กำหนดในค่ารักษาพยาบาล เริ่มมีผลในการต่ออายุกรมธรรม์รอบปี 2569 เป็นต้นไป

 

3 เงื่อนไขเข้า Copayment

เงื่อนไข 1 เคลมโรคไม่รุนแรง หรืออาการไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ที่เบิกเคลมผู้ป่วยใน (IPD) มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก IPD มากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันภัยสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป

 

อะไรคืออาการป่วยเล็กน้อย 

• ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน 
• ไข้หวัดใหญ่ 
• ท้องเสีย 
• เวียนศีรษะ 
• ไข้ไม่ระบุสาเหตุ 
• ปวดหัว 
• กล้ามเนื้ออักเสบ 
• ภูมิแพ้ 
• โรคกระเพาะอาหารอักเสบ 
• กรดไหลย้อน

 

เงื่อนไข 2 เคลมโรคทั่วไป ไม่นับผ่าตัดใหญ่และโรคร้ายแรง เบิกเคลมผู้ป่วยใน มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก IPD มากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป

 

เงื่อนไข 3 หากเข้าเงื่อนไขทั้งกรณี 1 และกรณี 2 จะต้องร่วมจ่าย 50% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป หากการเคลมปรับลดลงและไม่เข้าเงื่อนไข Copayment บริษัทประกันชีวิตจะพิจารณายกเลิกการมีส่วนร่วมจ่ายของลูกค้าในปีถัดไป

 

รู้ได้ไงเราเข้าเงื่อนไข Copayment ?

Copayment จะถูกพิจารณาทุกรอบปีกรมธรรม์ เช่น หากรอบปีนี้มีการเบิกเคลม จะมีผลตอนชำระเบี้ยประกันในรอบปีต่อไป ซึ่งบริษัทประกันภัยจะมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าก่อนชำระเบี้ยประกันไม่น้อยกว่า 15 วัน

 

ที่มา : สมาคมประกันชีวิตไทย วันที่ 6 ก.พ. 68