การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. คือการเลือก “ตัวแทน” ที่จะมาบริหารจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่นถือเป็นการทำงานที่ต้องใกล้ชิดกับประชาชนและมีความสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนางานท้องถิ่น
ภารกิจหลักของ อบจ. คือ การจัดทำบริการสาธารณะให้กับคนในท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่การดูแลถนน เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ทั้งการประปา ไฟฟ้า ไปจนถึงการสนับสนุนด้านการศึกษา และมีหน้าที่จัดเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้
ไทยพีบีเอส พามาส่องเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ อบจ. ได้รับในแต่ละเดือนว่ามีเท่าไร ?
ตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือนและค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรรมการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2554
มีบัญชีอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีดังนี้
• นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) 75,530 บาท
• รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (รองนายก อบจ.) 45,540 บาท
• เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (เลขานุการนายก อบจ.) 19,440 บาท
• ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ที่ปรึกษานายก อบจ.) 13,880 บาท
• ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ประธานสภา อบจ.) 30,540 บาท
• รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (รองประธานสภา อบจ.) 24,990 บาท
หมายเหตุ
(1) เงินเดือน 55,530 บาท/ ค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง 10,000 บาท/ ค่าตอบแทนพิเศษ 10,0,00 บาท
(2) เงินเดือน 30,540 บาท/ คำตอบแทนประจำตำแหน่ง 7,500 บาท/ ค่าตอบแทนพิเศษ 7,500 บาท
ได้รับเงินเดือนจากภาษีประชาชนแล้ว อบจ. ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเจริญได้อย่างไร ?
ภารกิจหลักของ อบจ. คือ การจัดทำบริการสาธารณะให้กับคนในท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่การดูแลถนน เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ทั้งการประปา ไฟฟ้า ไปจนถึงการสนับสนุนด้านการศึกษา และมีหน้าที่จัดเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้
ทั้งนี้ รายได้หลักของ อบจ. มาจากการเก็บภาษีต่าง ๆ ในจังหวัด เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย รวมถึงเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลในทุกปีงบประมาณ โดยงบประมาณดังกล่าวจะต้องถูกนำมาจัดสรรเพื่อนำไปพัฒนาจังหวัดในด้านต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม
ดังนั้น หากจะนิยาม “อบจ. = ความเจริญ” คงไม่ผิดนัก ประการที่สำคัญ การจะได้ “ความเจริญ” มาในแต่ละพื้นที่ จำต้องได้ “คนทำงาน” ที่มีคุณภาพ
📲 เช็กผลคะแนนเจาะพื้นที่ยุทธศาสตร์ แบบ Interactive กับ ThaiPBS
ได้ที่ www.thaipbs.or.th/LocalElection
ที่มา : ระเบียบกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2554
การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. คือการเลือก “ตัวแทน” ที่จะมาบริหารจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่นถือเป็นการทำงานที่ต้องใกล้ชิดกับประชาชนและมีความสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนางานท้องถิ่น
ภารกิจหลักของ อบจ. คือ การจัดทำบริการสาธารณะให้กับคนในท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่การดูแลถนน เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ทั้งการประปา ไฟฟ้า ไปจนถึงการสนับสนุนด้านการศึกษา และมีหน้าที่จัดเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้
ไทยพีบีเอส พามาส่องเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ อบจ. ได้รับในแต่ละเดือนว่ามีเท่าไร ?
ตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือนและค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรรมการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2554
มีบัญชีอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีดังนี้
• นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) 75,530 บาท
• รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (รองนายก อบจ.) 45,540 บาท
• เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (เลขานุการนายก อบจ.) 19,440 บาท
• ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ที่ปรึกษานายก อบจ.) 13,880 บาท
• ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ประธานสภา อบจ.) 30,540 บาท
• รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (รองประธานสภา อบจ.) 24,990 บาท
หมายเหตุ
(1) เงินเดือน 55,530 บาท/ ค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง 10,000 บาท/ ค่าตอบแทนพิเศษ 10,0,00 บาท
(2) เงินเดือน 30,540 บาท/ คำตอบแทนประจำตำแหน่ง 7,500 บาท/ ค่าตอบแทนพิเศษ 7,500 บาท
ได้รับเงินเดือนจากภาษีประชาชนแล้ว อบจ. ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเจริญได้อย่างไร ?
ภารกิจหลักของ อบจ. คือ การจัดทำบริการสาธารณะให้กับคนในท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่การดูแลถนน เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ทั้งการประปา ไฟฟ้า ไปจนถึงการสนับสนุนด้านการศึกษา และมีหน้าที่จัดเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้
ทั้งนี้ รายได้หลักของ อบจ. มาจากการเก็บภาษีต่าง ๆ ในจังหวัด เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย รวมถึงเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลในทุกปีงบประมาณ โดยงบประมาณดังกล่าวจะต้องถูกนำมาจัดสรรเพื่อนำไปพัฒนาจังหวัดในด้านต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม
ดังนั้น หากจะนิยาม “อบจ. = ความเจริญ” คงไม่ผิดนัก ประการที่สำคัญ การจะได้ “ความเจริญ” มาในแต่ละพื้นที่ จำต้องได้ “คนทำงาน” ที่มีคุณภาพ
📲 เช็กผลคะแนนเจาะพื้นที่ยุทธศาสตร์ แบบ Interactive กับ ThaiPBS
ได้ที่ www.thaipbs.or.th/LocalElection
ที่มา : ระเบียบกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2554