STOP ! Hate Speech เริ่มได้ที่ตัวเรา

STOP ! Hate Speech เริ่มได้ที่ตัวเรา

1 ก.ค. 67

STOP ! Hate Speech เริ่มได้ที่ตัวเรา ร่วมสร้างโลกออนไลน์ที่ปลอดภัยในวันโซเชียลมีเดีย “Social Media Day” ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีสติ คิดก่อนแชร์ !

 

Hate Speech คืออะไร ?

Hate Speech คือ ถ้อยคำ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง คลิปวิดีโอ ที่เป็นการแสดงออกถึงความแบ่งแยกและแสดงความเกลียดชัง 

Hate Speech ไม่ได้หมายถึงคำพูดเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการสื่อสารและการแสดงออกทุกรูปแบบที่สร้างความเกลียดชังผ่านโลกออนไลน์ เช่น การแสดงสัญลักษณ์ของความเกลียดชัง การแสดงความเห็นเชิงลบ การข่มขู่ด้วยถ้อยคำรุนแรง การล้อเลียนเหยียดหยาม (เพศ สีผิว ชาติพันธุ์) การยุยง ดูหมิ่น คุกคาม หรือโพสต์ภาพดูถูกบั่นทอนจิตใจผ่านสื่อออนไลน์

 

ความรุนแรงของ Hate Speech แบ่งได้ 3 ระดับ

ระดับ 1 ตั้งใจแบ่งแยก กีดกัน สร้างความเป็นเขา-เราต่อกลุ่มเป้าหมาย
ระดับ 2 ยั่วยุให้เกลียดชังกลุ่มเป้าหมาย
ระดับ 3 ยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมาย

Hate Speech สามารถขยายวงกว้างสร้างความเกลียดชัง ทำให้เกิดความรุนแรงในสังคมตามมา 

 

4 วิธีการจัดการ Hate Speech

• ไม่ตอบสนอง ไม่กดไลก์ คอมเมนต์ เพราะยิ่งทำยิ่งเติมเชื้อไฟ
• ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อ เพราะการแชร์ออกไปจะยิ่งทำให้ข้อความเหล่านั้น ถูกขยายวงต่อ
• คิดก่อนโพสต์ ในการโพสต์ทุกครั้งต้องมีสติ คิดไตร่ตรองไม่ใช้อารมณ์
• แจ้ง Report แจ้งรายงานการละเมิดให้ผู้ดูแลเว็บ เพจ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มนั้น

 

สถิติลบโพสต์ Hate Speech ในรอบ 3 ปี

ในรอบ 3 ปี Meta ลบโพสต์ที่มีเนื้อหาแสดงความเกลียดชังกว่า 300 ล้านโพสต์

ปี 2021 
Facebook 96.4 ล้านโพสต์
Instagram 25.9 ล้านโพสต์

ปี 2022
Facebook 50.2 ล้านโพสต์
Instagram 16.2 ล้านโพสต์

ปี 2023
Facebook 45.7 ล้านโพสต์
Instagram 29.3 ล้านโพสต์

ปี 2024 เฉพาะไตรมาส 1
Facebook 7.4 ล้านโพสต์
Instagram 8.6 ล้านโพสต์

 

ที่มาข้อมูล statista และ กสทช.
 

เล่าอดีต บันทึกปัจจุบัน รอบรู้ทุกวัน กับ Thai PBS On This Day | www.thaipbs.or.th/ThaiPBSOnThisDay 📢 บริการ #TextToSpeech คลิกฟังฉบับ #AIvoice 🎧 www.thaipbs.or.th/ai-audio-news

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

STOP ! Hate Speech เริ่มได้ที่ตัวเรา

1 ก.ค. 67

STOP ! Hate Speech เริ่มได้ที่ตัวเรา ร่วมสร้างโลกออนไลน์ที่ปลอดภัยในวันโซเชียลมีเดีย “Social Media Day” ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีสติ คิดก่อนแชร์ !

 

Hate Speech คืออะไร ?

Hate Speech คือ ถ้อยคำ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง คลิปวิดีโอ ที่เป็นการแสดงออกถึงความแบ่งแยกและแสดงความเกลียดชัง 

Hate Speech ไม่ได้หมายถึงคำพูดเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการสื่อสารและการแสดงออกทุกรูปแบบที่สร้างความเกลียดชังผ่านโลกออนไลน์ เช่น การแสดงสัญลักษณ์ของความเกลียดชัง การแสดงความเห็นเชิงลบ การข่มขู่ด้วยถ้อยคำรุนแรง การล้อเลียนเหยียดหยาม (เพศ สีผิว ชาติพันธุ์) การยุยง ดูหมิ่น คุกคาม หรือโพสต์ภาพดูถูกบั่นทอนจิตใจผ่านสื่อออนไลน์

 

ความรุนแรงของ Hate Speech แบ่งได้ 3 ระดับ

ระดับ 1 ตั้งใจแบ่งแยก กีดกัน สร้างความเป็นเขา-เราต่อกลุ่มเป้าหมาย
ระดับ 2 ยั่วยุให้เกลียดชังกลุ่มเป้าหมาย
ระดับ 3 ยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมาย

Hate Speech สามารถขยายวงกว้างสร้างความเกลียดชัง ทำให้เกิดความรุนแรงในสังคมตามมา 

 

4 วิธีการจัดการ Hate Speech

• ไม่ตอบสนอง ไม่กดไลก์ คอมเมนต์ เพราะยิ่งทำยิ่งเติมเชื้อไฟ
• ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อ เพราะการแชร์ออกไปจะยิ่งทำให้ข้อความเหล่านั้น ถูกขยายวงต่อ
• คิดก่อนโพสต์ ในการโพสต์ทุกครั้งต้องมีสติ คิดไตร่ตรองไม่ใช้อารมณ์
• แจ้ง Report แจ้งรายงานการละเมิดให้ผู้ดูแลเว็บ เพจ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มนั้น

 

สถิติลบโพสต์ Hate Speech ในรอบ 3 ปี

ในรอบ 3 ปี Meta ลบโพสต์ที่มีเนื้อหาแสดงความเกลียดชังกว่า 300 ล้านโพสต์

ปี 2021 
Facebook 96.4 ล้านโพสต์
Instagram 25.9 ล้านโพสต์

ปี 2022
Facebook 50.2 ล้านโพสต์
Instagram 16.2 ล้านโพสต์

ปี 2023
Facebook 45.7 ล้านโพสต์
Instagram 29.3 ล้านโพสต์

ปี 2024 เฉพาะไตรมาส 1
Facebook 7.4 ล้านโพสต์
Instagram 8.6 ล้านโพสต์

 

ที่มาข้อมูล statista และ กสทช.
 

เล่าอดีต บันทึกปัจจุบัน รอบรู้ทุกวัน กับ Thai PBS On This Day | www.thaipbs.or.th/ThaiPBSOnThisDay 📢 บริการ #TextToSpeech คลิกฟังฉบับ #AIvoice 🎧 www.thaipbs.or.th/ai-audio-news

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech