"อารักขกัมมัฏฐาน" กรรมฐานที่ควรหมั่นฝึกฝน

"อารักขกัมมัฏฐาน" กรรมฐานที่ควรหมั่นฝึกฝน

21 พ.ค. 67

เนื่องในวันวิสาขบูชา 2567 ขจัดกิเลส ลด ละ ทางโลภ ทำจิตใจให้สงบด้วย “อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ” ซึ่งเป็นกรรมฐานที่เราทุกคนควรรักษาไว้ให้อยู่ในจิตใจอยู่เสมอ และควรหมั่นฝึกฝนประจำ มี 4 ประการด้วยกัน คือ

  1. พุทธานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และน้อมมาไว้ในใจเรา คือ ความมีพระเมตตากรุณา ความบริสุทธิ์และพระปัญญาของ พระองค์
  2. เมตตา - แผ่ไมตรีจิตให้สัตว์และมนุษย์อยู่เย็นเป็นสุข ทั่วกัน ปรารถนาดีต่อกัน
  3. อสุภะ - พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นของไม่งาม ไม่จีรังยั่งยืน ไม่หลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
  4. มรณัสสติ - นึกถึงความตาย ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของชีวิตทุกคน 


กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน มาจากคำว่า กัมม แปลว่า การกระทำ + คำว่า ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง แปลโดยศัพท์ หมายถึง ที่ตั้งแห่งการกระทำ เมื่อแปลทางธรรม หมายถึง "วิธีเจริญสมาธิเพื่อฝึกจิต" ที่ตั้งแห่งการกระทำของจิต หรือการฝึกอบรมจิตโดยใช้เป็นอุบายเหนี่ยวนำจิตให้เกิดสมาธิ 

เมื่อจิตสงบ มีสมาธิอยู่กับสิ่งนั้น ๆ  👉 เราย่อมมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ 👉 ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่าน 👉 เกิดเป็น "ปัญญา" ให้พิจารณาเข้าถึงแก่น "ความเป็นจริง" หรือสัจธรรมของชีวิตที่ไม่มีสิ่งใดแน่นอน และยั่งยืนตลอดไป 

"อารักขกัมมัฏฐาน" กรรมฐานที่ควรหมั่นฝึกฝน

21 พ.ค. 67

เนื่องในวันวิสาขบูชา 2567 ขจัดกิเลส ลด ละ ทางโลภ ทำจิตใจให้สงบด้วย “อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ” ซึ่งเป็นกรรมฐานที่เราทุกคนควรรักษาไว้ให้อยู่ในจิตใจอยู่เสมอ และควรหมั่นฝึกฝนประจำ มี 4 ประการด้วยกัน คือ

  1. พุทธานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และน้อมมาไว้ในใจเรา คือ ความมีพระเมตตากรุณา ความบริสุทธิ์และพระปัญญาของ พระองค์
  2. เมตตา - แผ่ไมตรีจิตให้สัตว์และมนุษย์อยู่เย็นเป็นสุข ทั่วกัน ปรารถนาดีต่อกัน
  3. อสุภะ - พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นของไม่งาม ไม่จีรังยั่งยืน ไม่หลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
  4. มรณัสสติ - นึกถึงความตาย ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของชีวิตทุกคน 


กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน มาจากคำว่า กัมม แปลว่า การกระทำ + คำว่า ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง แปลโดยศัพท์ หมายถึง ที่ตั้งแห่งการกระทำ เมื่อแปลทางธรรม หมายถึง "วิธีเจริญสมาธิเพื่อฝึกจิต" ที่ตั้งแห่งการกระทำของจิต หรือการฝึกอบรมจิตโดยใช้เป็นอุบายเหนี่ยวนำจิตให้เกิดสมาธิ 

เมื่อจิตสงบ มีสมาธิอยู่กับสิ่งนั้น ๆ  👉 เราย่อมมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ 👉 ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่าน 👉 เกิดเป็น "ปัญญา" ให้พิจารณาเข้าถึงแก่น "ความเป็นจริง" หรือสัจธรรมของชีวิตที่ไม่มีสิ่งใดแน่นอน และยั่งยืนตลอดไป