“สงกรานต์” เทศกาลฉลองการขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ แต่เนื่องจากยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นจึงอาจไม่ตรงกันทีเดียว โดยปกติอยู่ระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน แต่ในล้านนาซึ่งเรียกเทศกาลสงกรานต์ ว่า “ปเวณีปี๋ใหม่” บางปีอาจอยู่ในช่วงวันที่ 14 - 16 เมษายน และมีความเชื่อว่าการนำไม้ง่ามไปค้ำต้นโพธิ์ ถือเป็นการค้ำจุนศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
ส่วนภาคอีสานนิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่องไป 7 วัน บางแห่งอาจถึง 15 วัน และในภาคใต้ จะเรียกช่วงสงกรานต์ว่าเป็น “วันว่าง” ถือเป็นวันที่ต้องว่างจากการทำงานทุกชนิด ในภาคกลางจะนิยมทำบุญตักบาตรในวันที่ 13 เมษายน เพราะถือว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันสิ้นปีเก่า ส่วนวันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา คือวันที่เชื่อมต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่
“สงกรานต์” เทศกาลฉลองการขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ แต่เนื่องจากยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นจึงอาจไม่ตรงกันทีเดียว โดยปกติอยู่ระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน แต่ในล้านนาซึ่งเรียกเทศกาลสงกรานต์ ว่า “ปเวณีปี๋ใหม่” บางปีอาจอยู่ในช่วงวันที่ 14 - 16 เมษายน และมีความเชื่อว่าการนำไม้ง่ามไปค้ำต้นโพธิ์ ถือเป็นการค้ำจุนศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
ส่วนภาคอีสานนิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่องไป 7 วัน บางแห่งอาจถึง 15 วัน และในภาคใต้ จะเรียกช่วงสงกรานต์ว่าเป็น “วันว่าง” ถือเป็นวันที่ต้องว่างจากการทำงานทุกชนิด ในภาคกลางจะนิยมทำบุญตักบาตรในวันที่ 13 เมษายน เพราะถือว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันสิ้นปีเก่า ส่วนวันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา คือวันที่เชื่อมต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่