“สังคหวัตถุ 4” หลักธรรมแห่งการเกื้อกูล เกิดความสามัคคี เนื่องในวันออกพรรษา

“สังคหวัตถุ 4” หลักธรรมแห่งการเกื้อกูล เกิดความสามัคคี เนื่องในวันออกพรรษา

28 ต.ค. 66

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 “วันออกพรรษา” ปีนี้ตรงกับ 29 ต.ค. 66 เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาครบ 3 เดือนของพระสงฆ์ และยังเป็นวันที่พระสงฆ์เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เพื่อให้ระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ก่อนที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ ตามชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า 

“สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ”

แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

ไทยพีบีเอสขอเชิญชวนชาวพุทธศาสนิกชน ดำเนินชีวิตด้วยหลัก “สังคหวัตถุ 4” หลักธรรมแห่งการเกื้อกูลและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน ได้แก่ 

  • ทาน หมายถึง การให้ การแบ่งปัน เสียสละ การให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน แบ่งออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่ 1. อามิสทาน คือ การให้สิ่งของ หรือเงินทอง 2. ธรรมทาน คือ การให้ความรู้ สอนธรรมะ และ 3. อภัยทาน คือ การให้อภัย ไม่จองเวร
  • ปิยวาจา หมายถึง การพูดจาไพเราะ สุภาพ จริงใจ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดให้เกิดความเข้าใจอันดี  
  • อัตถจริยา หมายถึง ประพฤติตนให้ประโยชน์ ช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังที่ตนมีอยู่
  • สมานัตตตา หมายถึง วางตัวเหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย มี 2 ประการ คือ 1. วางตนได้เหมาะสมกับฐานะที่มีอยู่ในสังคม  อยู่ในฐานะไหน ก็วางตัวได้สมกับฐานะนั้นโดยทำได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และ 2. ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อคนทั้งหลาย ให้ความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
     

“สังคหวัตถุ 4” หลักธรรมแห่งการเกื้อกูล เกิดความสามัคคี เนื่องในวันออกพรรษา

28 ต.ค. 66

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 “วันออกพรรษา” ปีนี้ตรงกับ 29 ต.ค. 66 เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาครบ 3 เดือนของพระสงฆ์ และยังเป็นวันที่พระสงฆ์เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เพื่อให้ระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ก่อนที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ ตามชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า 

“สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ”

แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

ไทยพีบีเอสขอเชิญชวนชาวพุทธศาสนิกชน ดำเนินชีวิตด้วยหลัก “สังคหวัตถุ 4” หลักธรรมแห่งการเกื้อกูลและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน ได้แก่ 

  • ทาน หมายถึง การให้ การแบ่งปัน เสียสละ การให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน แบ่งออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่ 1. อามิสทาน คือ การให้สิ่งของ หรือเงินทอง 2. ธรรมทาน คือ การให้ความรู้ สอนธรรมะ และ 3. อภัยทาน คือ การให้อภัย ไม่จองเวร
  • ปิยวาจา หมายถึง การพูดจาไพเราะ สุภาพ จริงใจ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดให้เกิดความเข้าใจอันดี  
  • อัตถจริยา หมายถึง ประพฤติตนให้ประโยชน์ ช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังที่ตนมีอยู่
  • สมานัตตตา หมายถึง วางตัวเหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย มี 2 ประการ คือ 1. วางตนได้เหมาะสมกับฐานะที่มีอยู่ในสังคม  อยู่ในฐานะไหน ก็วางตัวได้สมกับฐานะนั้นโดยทำได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และ 2. ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อคนทั้งหลาย ให้ความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น