ออกพรรษา2565.png

วันออกพรรษา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น "วันมหาปวารณา"

9 ต.ค. 65

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา นอกจากเป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาครบ 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น “วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา” เป็นวันที่พระภิกษุต่างอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกันได้ พระผู้ใหญ่ตักเตือนพระผู้น้อยได้ พระผู้น้อยกล่าวชี้แนะพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า 

"สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ"

แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

การกล่าวปวารณา จึงเท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ก่อนที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้

พุทธศาสนิกชนนอกจากเข้าวัด ทำบุญ รักษาศีล สามารถนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน

  • ผ่อนคลายความแคลงที่ใจเกิดจากความระแวงสงสัย
  • ประสานรอยร้าวที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันให้มีโอกาสปรับความเข้าใจกัน
  • เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีให้อยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ
  • เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย ยศ ชั้น พรรษา วัย
  • ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตร ปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทร เป็นพื้นฐานนำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงานคล้าย ๆ กัน เรียกว่า ศีลสามัญญุตา

วันออกพรรษา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น "วันมหาปวารณา"

9 ต.ค. 65

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา นอกจากเป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาครบ 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น “วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา” เป็นวันที่พระภิกษุต่างอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกันได้ พระผู้ใหญ่ตักเตือนพระผู้น้อยได้ พระผู้น้อยกล่าวชี้แนะพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า 

"สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ"

แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

การกล่าวปวารณา จึงเท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ก่อนที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้

พุทธศาสนิกชนนอกจากเข้าวัด ทำบุญ รักษาศีล สามารถนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน

  • ผ่อนคลายความแคลงที่ใจเกิดจากความระแวงสงสัย
  • ประสานรอยร้าวที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันให้มีโอกาสปรับความเข้าใจกัน
  • เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีให้อยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ
  • เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย ยศ ชั้น พรรษา วัย
  • ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตร ปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทร เป็นพื้นฐานนำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงานคล้าย ๆ กัน เรียกว่า ศีลสามัญญุตา