หลังดิสนีย์ปล่อย Trailer ภาพยนตร์ “The Little Mermaid” ฉบับ Live-Action เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา กระแสดรามาประเด็น “แอเรียล” คนใหม่ ที่รับบทโดยนักร้อง-นักแสดงผิวสี “ฮัลลี เบลีย์” (Halle Bailey) กลับมาได้รับความสนใจบนโลกออนไลน์อีกครั้ง แม้ประเด็นนี้จะมีการถกเถียงกันมาพอสมควร ตั้งแต่ดิสนีย์ประกาศนักแสดงในเรื่องอย่างเป็นทางการ ในปี 2019 โดยแฟน ๆ ดิสนีย์หลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจ ที่แอเรียล ฉบับ Live-Action กลับเป็นนางเงือกผิวสี แตกต่างไปจากรูปลักษณ์เดิมที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกับภาพจำนางเงือกสาว ที่มีผิวขาวและผมแดง อย่างไรก็ตาม ก็มีอีกกระแสที่ตั้งคำถามกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เหมาะสมการคัดเลือกแอเรียลคนใหม่ว่า “แล้วทำไมแอเรียลจะเป็นนางเงือกผิวสีไม่ได้?”
ไทยพีบีเอสพามาดูการพูดถึงของคนไทยบนโลกออนไลน์ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น "แอเรียล ผิวสี" ซึ่งทีมงาน ThaiPBS Short Note เก็บสถิติและวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ตั้งแต่วันที่ 1-19 ก.ย. 65 เวลา 12.30 น. โดยสำรวจผ่าน 7 แพลตฟอร์มออนไลน์ (Facebook, Twitter, Instagram, Youtube, Tiktok, Forum และ news) พบว่า มีการพูดถึงทั้งหมด 3,621 ข้อความ จากเกือบ 1,477 Account แบ่งเป็นคนทั่วไป 81% และแบรนด์ 19% ซึ่งสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) รวมทั้งสิ้น 1,493,976 Engagement เฉลี่ย 78,630 ข้อความต่อวัน โดยข้อความส่วนมากจะถูกพูดถึงบน Facebook เป็นอันดับที่ 1 อยู่ที่ 55.12% และ Twitter เป็นอันดับที่ 2 อยู่ที่ 36.67% และช่องทางอื่น ๆ ตามมา โดยเมื่อดูสัดส่วนช่วงอายุที่มีการพูดถึงสูงสุดคือ 18-24 ปี ซึ่งคิดเป็น 49.27% รองลงมาคือช่วง 25-34 ปี คิดเป็น 32.68%
หากเปรียบเทียบการพูดถึง แอเรียล จาก “The Little Mermaid” ก่อนวันปล่อย Trailer (9 ก.ย.) และในวันที่ดิสนีย์ปล่อย Trailer (10 ก.ย.) พบว่า จำนวนการพูดถึงเพิ่มขึ้น 20 เท่า หรือจาก 31 ข้อความ เป็น 674 ข้อความในวันถัดมา และมียอดข้อความสูงสุดในวันที่ 13 ก.ย. อยู่ที่ 715 ข้อความ ซึ่งอยู่ในช่วงที่เกิดกระแสตีกลับต่อต้านความคิดเห็นเหยียดสีผิว และในต่างประเทศเริ่มมีกระแสคลิปไวรัลบน Tiktok ของเหล่าเด็กหญิงผิวสี ที่ต่างตื่นเต้นที่เห็นตนมีสีผิวเดียวกันกับแอเรียลคนใหม่ Thai PBS ได้รวบรวมความคิดเห็นจากสื่อโซเชียลในไทยของทั้ง 2 ฝ่าย ที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนแอเรียลผิวสี โดยกลุ่มคนที่สนับสนุนให้เหตุผลว่า ที่พวกเขาเห็นด้วย เพราะคิดว่าดิสนีย์ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับภาพลักษณ์แอเรียลต้นฉบับเสมอไป อีกทั้งนี่เป็นการสนับสนุนความหลากหลายทางเชื้อชาติของนักแสดงในฮอลลีวูด และเพิ่มพื้นที่ให้คนผิวสีบนจอเงิน
ในขณะที่หลาย ๆ คนที่ไม่เห็นด้วย ปฏิเสธว่าเหตุผลสำคัญที่ไม่สนับสนุน ไม่ใช่เพราะตนมีอคติทางเชื้อชาติแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะรับไม่ได้ที่แอเรียลในความทรงจำของตนไม่เหมือนเดิม บ้างก็มองว่า การเปลี่ยนสีผิวแอเรียลเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการดิสนีย์ที่พยายามยัดเยียดตัวละครผิวสีเพื่อเรียกกระแสสังคมเท่านั้น
ในช่วงที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าประเด็นนี้ได้รับเอนเกจเมนต์ที่สูงมากทั้งในไทยและต่างประเทศ จากการรวบรวมพบว่า คนที่เข้ามามีเอนเกจเมนต์ส่วนนึง เข้าร่วมวงถกประเด็นอื่น ๆ ที่แตกย่อยนอกเหนือจากเรื่องความเหมาะสมของการคัดเลือกนักแสดง เช่น ประเด็นการเคารพต้นฉบับ ปัญหาการเหยียดสีผิว และการตื่นรู้ทางการเมือง
ไทยพีบีเอส อยากชวนผู้อ่าน ไปสำรวจความหลากหลายบนจอเงินและจอแก้ว ว่าแท้จริงแล้ว “หลากหลาย” แค่ไหน? โดยเฉพาะความหลากหลายทางเพศ หรือบทบาทของผู้หญิง ร่วมสำรวจประเด็นนี้ใน The Visual By Thai PBS ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพยนตร์ ซีรีส์ และละคร ประเภทต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 1,000 เรื่อง เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนเพศของบุคลากรในอุตสาหกรรมบันเทิง อ่านต่อทาง https://thevisual.thaipbs.or.th/GenderOnScreen
หลังดิสนีย์ปล่อย Trailer ภาพยนตร์ “The Little Mermaid” ฉบับ Live-Action เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา กระแสดรามาประเด็น “แอเรียล” คนใหม่ ที่รับบทโดยนักร้อง-นักแสดงผิวสี “ฮัลลี เบลีย์” (Halle Bailey) กลับมาได้รับความสนใจบนโลกออนไลน์อีกครั้ง แม้ประเด็นนี้จะมีการถกเถียงกันมาพอสมควร ตั้งแต่ดิสนีย์ประกาศนักแสดงในเรื่องอย่างเป็นทางการ ในปี 2019 โดยแฟน ๆ ดิสนีย์หลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจ ที่แอเรียล ฉบับ Live-Action กลับเป็นนางเงือกผิวสี แตกต่างไปจากรูปลักษณ์เดิมที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกับภาพจำนางเงือกสาว ที่มีผิวขาวและผมแดง อย่างไรก็ตาม ก็มีอีกกระแสที่ตั้งคำถามกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เหมาะสมการคัดเลือกแอเรียลคนใหม่ว่า “แล้วทำไมแอเรียลจะเป็นนางเงือกผิวสีไม่ได้?”
ไทยพีบีเอสพามาดูการพูดถึงของคนไทยบนโลกออนไลน์ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น "แอเรียล ผิวสี" ซึ่งทีมงาน ThaiPBS Short Note เก็บสถิติและวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ตั้งแต่วันที่ 1-19 ก.ย. 65 เวลา 12.30 น. โดยสำรวจผ่าน 7 แพลตฟอร์มออนไลน์ (Facebook, Twitter, Instagram, Youtube, Tiktok, Forum และ news) พบว่า มีการพูดถึงทั้งหมด 3,621 ข้อความ จากเกือบ 1,477 Account แบ่งเป็นคนทั่วไป 81% และแบรนด์ 19% ซึ่งสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) รวมทั้งสิ้น 1,493,976 Engagement เฉลี่ย 78,630 ข้อความต่อวัน โดยข้อความส่วนมากจะถูกพูดถึงบน Facebook เป็นอันดับที่ 1 อยู่ที่ 55.12% และ Twitter เป็นอันดับที่ 2 อยู่ที่ 36.67% และช่องทางอื่น ๆ ตามมา โดยเมื่อดูสัดส่วนช่วงอายุที่มีการพูดถึงสูงสุดคือ 18-24 ปี ซึ่งคิดเป็น 49.27% รองลงมาคือช่วง 25-34 ปี คิดเป็น 32.68%
หากเปรียบเทียบการพูดถึง แอเรียล จาก “The Little Mermaid” ก่อนวันปล่อย Trailer (9 ก.ย.) และในวันที่ดิสนีย์ปล่อย Trailer (10 ก.ย.) พบว่า จำนวนการพูดถึงเพิ่มขึ้น 20 เท่า หรือจาก 31 ข้อความ เป็น 674 ข้อความในวันถัดมา และมียอดข้อความสูงสุดในวันที่ 13 ก.ย. อยู่ที่ 715 ข้อความ ซึ่งอยู่ในช่วงที่เกิดกระแสตีกลับต่อต้านความคิดเห็นเหยียดสีผิว และในต่างประเทศเริ่มมีกระแสคลิปไวรัลบน Tiktok ของเหล่าเด็กหญิงผิวสี ที่ต่างตื่นเต้นที่เห็นตนมีสีผิวเดียวกันกับแอเรียลคนใหม่ Thai PBS ได้รวบรวมความคิดเห็นจากสื่อโซเชียลในไทยของทั้ง 2 ฝ่าย ที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนแอเรียลผิวสี โดยกลุ่มคนที่สนับสนุนให้เหตุผลว่า ที่พวกเขาเห็นด้วย เพราะคิดว่าดิสนีย์ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับภาพลักษณ์แอเรียลต้นฉบับเสมอไป อีกทั้งนี่เป็นการสนับสนุนความหลากหลายทางเชื้อชาติของนักแสดงในฮอลลีวูด และเพิ่มพื้นที่ให้คนผิวสีบนจอเงิน
ในขณะที่หลาย ๆ คนที่ไม่เห็นด้วย ปฏิเสธว่าเหตุผลสำคัญที่ไม่สนับสนุน ไม่ใช่เพราะตนมีอคติทางเชื้อชาติแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะรับไม่ได้ที่แอเรียลในความทรงจำของตนไม่เหมือนเดิม บ้างก็มองว่า การเปลี่ยนสีผิวแอเรียลเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการดิสนีย์ที่พยายามยัดเยียดตัวละครผิวสีเพื่อเรียกกระแสสังคมเท่านั้น
ในช่วงที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าประเด็นนี้ได้รับเอนเกจเมนต์ที่สูงมากทั้งในไทยและต่างประเทศ จากการรวบรวมพบว่า คนที่เข้ามามีเอนเกจเมนต์ส่วนนึง เข้าร่วมวงถกประเด็นอื่น ๆ ที่แตกย่อยนอกเหนือจากเรื่องความเหมาะสมของการคัดเลือกนักแสดง เช่น ประเด็นการเคารพต้นฉบับ ปัญหาการเหยียดสีผิว และการตื่นรู้ทางการเมือง
ไทยพีบีเอส อยากชวนผู้อ่าน ไปสำรวจความหลากหลายบนจอเงินและจอแก้ว ว่าแท้จริงแล้ว “หลากหลาย” แค่ไหน? โดยเฉพาะความหลากหลายทางเพศ หรือบทบาทของผู้หญิง ร่วมสำรวจประเด็นนี้ใน The Visual By Thai PBS ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพยนตร์ ซีรีส์ และละคร ประเภทต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 1,000 เรื่อง เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนเพศของบุคลากรในอุตสาหกรรมบันเทิง อ่านต่อทาง https://thevisual.thaipbs.or.th/GenderOnScreen