วันพืชมงคล 2566 ปีนี้ กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโค "พันธุ์ขาวลำพูน" เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีนี้ตรงกับ 17 พ.ค. 66 "วันพืชมงคล" โดยพระโคแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง ส่วนพระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล
"โคขาวลำพูน" เป็นโคพื้นเมืองสำหรับใช้งานดั้งเดิม ที่พบกันมากในอำเภอต่าง ๆ ของ จ.ลำพูน และ เชียงใหม่ และแพร่กระจายไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดลำปาง พะเยา และ เชียงราย ที่อยู่ใกล้กับ จ.ลำพูน และ เชียงใหม่ มีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีสีขาวปลอดทั้งตัว และไม่ใช่โคเผือกเพราะตาดำไม่เป็นสีชมพู เนื่องจากมีลำตัวสีขาว จึงทำให้ทนความร้อนจากแสงแดดได้ดีเป็นพิเศษ โคขาวลำพูนนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและสังคมเกษตรกรรมของบรรพบุรุษชาวล้านนา อีกทั้งมีลักษณะเด่น "สูงใหญ่ สูงโปร่ง สง่า" จึงได้ถูกคัดเลือกให้เป็นพระโคในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ประเทศไทยกำหนดให้ใช้ "พระโคเพศผู้" ร่วมพระราชพิธีฯ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็ง ความอุดมสมบูรณ์ ตามคติความเชื่อศาสนาพราหมณ์ ที่เชื่อกันว่า พระโคคือเทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวร เปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง และยังเป็นสัตว์ที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแล เปรียบได้กับ ความอุดมสมบูรณ์ อีกด้วย
วันพืชมงคล 2566 ปีนี้ กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโค "พันธุ์ขาวลำพูน" เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีนี้ตรงกับ 17 พ.ค. 66 "วันพืชมงคล" โดยพระโคแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง ส่วนพระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล
"โคขาวลำพูน" เป็นโคพื้นเมืองสำหรับใช้งานดั้งเดิม ที่พบกันมากในอำเภอต่าง ๆ ของ จ.ลำพูน และ เชียงใหม่ และแพร่กระจายไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดลำปาง พะเยา และ เชียงราย ที่อยู่ใกล้กับ จ.ลำพูน และ เชียงใหม่ มีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีสีขาวปลอดทั้งตัว และไม่ใช่โคเผือกเพราะตาดำไม่เป็นสีชมพู เนื่องจากมีลำตัวสีขาว จึงทำให้ทนความร้อนจากแสงแดดได้ดีเป็นพิเศษ โคขาวลำพูนนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและสังคมเกษตรกรรมของบรรพบุรุษชาวล้านนา อีกทั้งมีลักษณะเด่น "สูงใหญ่ สูงโปร่ง สง่า" จึงได้ถูกคัดเลือกให้เป็นพระโคในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ประเทศไทยกำหนดให้ใช้ "พระโคเพศผู้" ร่วมพระราชพิธีฯ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็ง ความอุดมสมบูรณ์ ตามคติความเชื่อศาสนาพราหมณ์ ที่เชื่อกันว่า พระโคคือเทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวร เปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง และยังเป็นสัตว์ที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแล เปรียบได้กับ ความอุดมสมบูรณ์ อีกด้วย