สงกรานต์มี 3 วัน แต่รู้หรือไม่...? เทศกาลสงกรานต์ แต่ละวันมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า "ก้าวขึ้น" หรือ "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้าย" หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งเข้าไปอีกราศีหนึ่ง และเมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเมื่อใดก็ตาม จะมีชื่อเรียกพิเศษว่า วันมหาสงกรานต์ ปีนี้ตรงกับวันที่ 14 เม.ย. 66 เวลา 16 นาฬิกา 1 นาที 2 วินาที คนไทยถือว่า "วันมหาสงกรานต์" เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยตามคติพราหมณ์ ซึ่งนับทางสุริยคติ มักจะตกราว ๆ กลางเดือนเมษายน และวันถัดไปจะถือว่าเป็น "วันเนา" และ "วันเถลิงศก" ตามลำดับ
สำหรับทั้ง 3 วันข้างต้น จะตรงกับวันที่เท่าใดในเดือนเมษายนนั้น ต้องคำนวณจากวันและเดือน โดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก และสามารถดูได้จากประกาศสงกรานต์ของแต่ละปี โดยปีนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้ออกประกาศ วันที่ 14 เม.ย. 66 เป็น "วันมหาสงกรานต์" นางสงกรานต์ 2566 ทรงนามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ แล้วนางสงกรานต์มีที่มาอย่างไร เกี่ยวข้องอะไรกับสงกรานต์ อ่านต่อได้ที่
ตำนานมหาสงกรานต์ กับ 7 นางสงกรานต์
สงกรานต์มี 3 วัน แต่รู้หรือไม่...? เทศกาลสงกรานต์ แต่ละวันมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า "ก้าวขึ้น" หรือ "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้าย" หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งเข้าไปอีกราศีหนึ่ง และเมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเมื่อใดก็ตาม จะมีชื่อเรียกพิเศษว่า วันมหาสงกรานต์ ปีนี้ตรงกับวันที่ 14 เม.ย. 66 เวลา 16 นาฬิกา 1 นาที 2 วินาที คนไทยถือว่า "วันมหาสงกรานต์" เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยตามคติพราหมณ์ ซึ่งนับทางสุริยคติ มักจะตกราว ๆ กลางเดือนเมษายน และวันถัดไปจะถือว่าเป็น "วันเนา" และ "วันเถลิงศก" ตามลำดับ
สำหรับทั้ง 3 วันข้างต้น จะตรงกับวันที่เท่าใดในเดือนเมษายนนั้น ต้องคำนวณจากวันและเดือน โดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก และสามารถดูได้จากประกาศสงกรานต์ของแต่ละปี โดยปีนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้ออกประกาศ วันที่ 14 เม.ย. 66 เป็น "วันมหาสงกรานต์" นางสงกรานต์ 2566 ทรงนามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ แล้วนางสงกรานต์มีที่มาอย่างไร เกี่ยวข้องอะไรกับสงกรานต์ อ่านต่อได้ที่
ตำนานมหาสงกรานต์ กับ 7 นางสงกรานต์