336247153_585369640178636_6564574057354257443_n.jpg

95 ปี ผลงานชาวเอเชีย บนเวทีออสการ์

14 มี.ค. 66

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 66 มิเชล โหย่ว กลายเป็นผู้หญิงเอเชียคนแรกที่คว้ารางวัล นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเวทีออสการ์ 2023 (Oscar 2023) หรือ The 95th Academy Awards ในรอบเกือบ 100 ปี จากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง "ซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส" หรือ “Everything Everywhere All at Once” รวมถึง คี ฮุย ควน นักแสดงชายเชื้อสายเวียดนาม และ แดเนียล ควอน ผู้กำกับเชื้อสายจีนก็ได้รับรางวัล สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ครั้งนี้เช่นกัน และในปี 2019 ภาพยนตร์เรื่อง Parasite จากประเทศเกาหลีใต้ ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และอีก 3 รางวัลคือ ภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม เพราะก่อนหน้านี้ภาพยนตร์เอเชียมีพื้นที่บนเวทีออสการ์สำหรับสาขาภาพยตร์นานาชาติ (ภาษาต่างประเทศ) ยอดเยี่ยมเท่านั้น เดิมทีในปี 1947 มีสาขาที่ชื่อว่ารางวัลเกียรติยศ โดยภาพยนตร์เอเชียเคยชนะรางวัลนี้ 3 ครั้ง คือ

  • 1951 Rashomon (ญี่ปุ่น)
  • 1954 Gate of Hell (ญี่ปุ่น)
  • 1955 Samurai I: Musashi Miyamoto (ญี่ปุ่น)

ก่อนสาขานี้จะเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมในปี 1956 โดยภาพยนตร์เอเชีย เคยชนะรางวัล 6 ครั้ง ถูกเสนอชื่อเข้าชิง 41 ครั้ง

ภาพยนตร์ที่ชนะรางวัล

  • 2000 Crouching Tiger, Hidden Dragon (ไต้หวัน)
  • 2008 Departures (ญี่ปุ่น)
  • 2011 A Separation (อิหร่าน)
  • 2016 The Salesman (อิหร่าน)
  • 2019 Parasite (เกาหลีใต้) และอีก 3 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม
  • 2022 Drive My Car (ญี่ปุ่น)

ภาพยนตร์ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิง

  • 1956 The Burmese Harp (ญี่ปุ่น)
  • 1957 Mother India (อินเดีย)
  • 1961 Immortal Love (ญี่ปุ่น)
  • 1963 Koto (ญี่ปุ่น)
  • 1964 Sallah (อิสราเอล), Woman in the Dunes (ญี่ปุ่น)
  • 1965 Kwaidan (ญี่ปุ่น)
  • 1967 Portrait of Chieko (ญี่ปุ่น)
  • 1971 Dodes’ka-Den (ญี่ปุ่น) และ The Policeman (อิสราเอล)
  • 1972 I Love You Rosa (อิสราเอล)
  • 1973 The House on Chelouche Street (อิสราเอล)
  • 1975 Brothel No. 8 (ญี่ปุ่น)
  • 1977 Operation Thunderbolt (อิสราเอล)
  • 1980 Kagemusha (ญี่ปุ่น)
  • 1981 Muddy River (ญี่ปุ่น)
  • 1984 Beyond the Walls (อิสราเอล)
  • 1988 Salaam Bombay! (อินเดีย)
  • 1990 Ju Dou (จีน)
  • 1991 Raise the Red Lantern (ฮ่องกง)
  • 1993 Farewell My Concubine (ฮ่องกง), The Scent of Green Papaya (เวียดนาม), The Wedding Banquet (ไต้หวัน)
  • 1994 Eat Drink Man Woman (ไต้หวัน)
  • 1997 Children of Heaven (อิหร่าน)
  • 1999 Himalaya (เนปาล)
  • 2001 Lagaan: Once Upon a Time in India (อินเดีย)
  • 2002 Hero (จีน)
  • 2003 The Twilight Samurai (ญี่ปุ่น)
  • 2005 Paradise Now (ปาเลสไตน์)
  • 2007 Beaufort (อิสราเอล), Mongol: The Rise of Genghis Khan (คาซัคสถาน)
  • 2008 Waltz with Bashir (อิสราเอล)
  • 2009 Ajami (อิสราเอล)
  • 2011 Footnote (อิสราเอล)
  • 2013 The Missing Picture (กัมพูชา), Omar (ปาเลสไตน์)
  • 2015 Theeb (จอร์แดน)
  • 2017 The Insult (เลบานอน)
  • 2018 Capernaum (เลบานอน), Shoplifters (ญี่ปุ่น)
  • 2020 Better Days (ฮ่องกง)
  • 2022 Lunana: A Yak in the Classroom (ภูฏาน)

ในส่วนของชาวเอเชียที่อยู่ในสายภาพยนตร์ บางสาขาเคยมีผู้ชนะเพียงครั้งเดียว และบางสาขาก็กว่า 62 ปี ถึงจะมีชาวเอเชียที่ได้รับรางวัลนั้นอีกครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้กำกับยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 5 ครั้ง

  • Ang Lee (2005, 2012, ไต้หวัน)
  • Bong Joon-ho (2019, เกาหลีใต้)
  • Chloé Zhao (2020, จีน)
  • Daniel Kwan (2022, จีน-อเมริกัน)

นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 1 ครั้ง

  • Ben Kingsley (1982, อินเดีย-อังกฤษ)

นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 1 ครั้ง

  • Michelle Yeoh (2022, มาเลเซีย)

นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 2 ครั้ง

  • Haing S. Ngor (1984, กัมพูชา)
  • Ke Huy Quan (2022, เวียดนาม-อเมริกัน)

นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 2 ครั้ง

  • Miyoshi Umeki (1957, ญี่ปุ่น-อเมริกัน)
  • Youn Yuh-jung (2019, เกาหลีใต้)

ตลอด 95 ปี ภาพยนตร์เอเชียที่ได้เข้าชิงมีสัดส่วนน้อยมาก และภาพยนตร์ที่ชนะรางวัลก็ยิ่งน้อยไปอีก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เวทีออสการ์ดูเหมือนจะเริ่มเปิดพื้นที่ให้ภาพยนตร์เอเชียมากขึ้นแล้ว

ประเทศไทยเคยเสนอชื่อภาพยนตร์ 30 เรื่อง เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม เช่น น้ำพุ (1984), ลุงบุญมีระลึกชาติ (2010), ร่างทรง (2021), One for the Road วันสุดท้าย..ก่อนบายเธอ (2022) เป็นต้น แต่ก็ไม่มีเรื่องไหนได้รับคัดเลือก หันกลับมามองสถานการณ์ปัจจุบันของวงการภาพตร์ไทยแล้วก็รู้สึกเศร้า ในฐานะคนไทยก็อยากจะเห็นภาพยนตร์ไทยได้รางวัลออสการ์สักครั้งในชีวิต เพราะจริง ๆ แล้วภาพยนตร์ไทยดี ๆ ก็มีมากมาย เหลือแต่การสนับสนุนจากภาครัฐให้มันดีขึ้นอีกเท่านั้น

95 ปี ผลงานชาวเอเชีย บนเวทีออสการ์

14 มี.ค. 66

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 66 มิเชล โหย่ว กลายเป็นผู้หญิงเอเชียคนแรกที่คว้ารางวัล นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเวทีออสการ์ 2023 (Oscar 2023) หรือ The 95th Academy Awards ในรอบเกือบ 100 ปี จากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง "ซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส" หรือ “Everything Everywhere All at Once” รวมถึง คี ฮุย ควน นักแสดงชายเชื้อสายเวียดนาม และ แดเนียล ควอน ผู้กำกับเชื้อสายจีนก็ได้รับรางวัล สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ครั้งนี้เช่นกัน และในปี 2019 ภาพยนตร์เรื่อง Parasite จากประเทศเกาหลีใต้ ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และอีก 3 รางวัลคือ ภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม เพราะก่อนหน้านี้ภาพยนตร์เอเชียมีพื้นที่บนเวทีออสการ์สำหรับสาขาภาพยตร์นานาชาติ (ภาษาต่างประเทศ) ยอดเยี่ยมเท่านั้น เดิมทีในปี 1947 มีสาขาที่ชื่อว่ารางวัลเกียรติยศ โดยภาพยนตร์เอเชียเคยชนะรางวัลนี้ 3 ครั้ง คือ

  • 1951 Rashomon (ญี่ปุ่น)
  • 1954 Gate of Hell (ญี่ปุ่น)
  • 1955 Samurai I: Musashi Miyamoto (ญี่ปุ่น)

ก่อนสาขานี้จะเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมในปี 1956 โดยภาพยนตร์เอเชีย เคยชนะรางวัล 6 ครั้ง ถูกเสนอชื่อเข้าชิง 41 ครั้ง

ภาพยนตร์ที่ชนะรางวัล

  • 2000 Crouching Tiger, Hidden Dragon (ไต้หวัน)
  • 2008 Departures (ญี่ปุ่น)
  • 2011 A Separation (อิหร่าน)
  • 2016 The Salesman (อิหร่าน)
  • 2019 Parasite (เกาหลีใต้) และอีก 3 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม
  • 2022 Drive My Car (ญี่ปุ่น)

ภาพยนตร์ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิง

  • 1956 The Burmese Harp (ญี่ปุ่น)
  • 1957 Mother India (อินเดีย)
  • 1961 Immortal Love (ญี่ปุ่น)
  • 1963 Koto (ญี่ปุ่น)
  • 1964 Sallah (อิสราเอล), Woman in the Dunes (ญี่ปุ่น)
  • 1965 Kwaidan (ญี่ปุ่น)
  • 1967 Portrait of Chieko (ญี่ปุ่น)
  • 1971 Dodes’ka-Den (ญี่ปุ่น) และ The Policeman (อิสราเอล)
  • 1972 I Love You Rosa (อิสราเอล)
  • 1973 The House on Chelouche Street (อิสราเอล)
  • 1975 Brothel No. 8 (ญี่ปุ่น)
  • 1977 Operation Thunderbolt (อิสราเอล)
  • 1980 Kagemusha (ญี่ปุ่น)
  • 1981 Muddy River (ญี่ปุ่น)
  • 1984 Beyond the Walls (อิสราเอล)
  • 1988 Salaam Bombay! (อินเดีย)
  • 1990 Ju Dou (จีน)
  • 1991 Raise the Red Lantern (ฮ่องกง)
  • 1993 Farewell My Concubine (ฮ่องกง), The Scent of Green Papaya (เวียดนาม), The Wedding Banquet (ไต้หวัน)
  • 1994 Eat Drink Man Woman (ไต้หวัน)
  • 1997 Children of Heaven (อิหร่าน)
  • 1999 Himalaya (เนปาล)
  • 2001 Lagaan: Once Upon a Time in India (อินเดีย)
  • 2002 Hero (จีน)
  • 2003 The Twilight Samurai (ญี่ปุ่น)
  • 2005 Paradise Now (ปาเลสไตน์)
  • 2007 Beaufort (อิสราเอล), Mongol: The Rise of Genghis Khan (คาซัคสถาน)
  • 2008 Waltz with Bashir (อิสราเอล)
  • 2009 Ajami (อิสราเอล)
  • 2011 Footnote (อิสราเอล)
  • 2013 The Missing Picture (กัมพูชา), Omar (ปาเลสไตน์)
  • 2015 Theeb (จอร์แดน)
  • 2017 The Insult (เลบานอน)
  • 2018 Capernaum (เลบานอน), Shoplifters (ญี่ปุ่น)
  • 2020 Better Days (ฮ่องกง)
  • 2022 Lunana: A Yak in the Classroom (ภูฏาน)

ในส่วนของชาวเอเชียที่อยู่ในสายภาพยนตร์ บางสาขาเคยมีผู้ชนะเพียงครั้งเดียว และบางสาขาก็กว่า 62 ปี ถึงจะมีชาวเอเชียที่ได้รับรางวัลนั้นอีกครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้กำกับยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 5 ครั้ง

  • Ang Lee (2005, 2012, ไต้หวัน)
  • Bong Joon-ho (2019, เกาหลีใต้)
  • Chloé Zhao (2020, จีน)
  • Daniel Kwan (2022, จีน-อเมริกัน)

นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 1 ครั้ง

  • Ben Kingsley (1982, อินเดีย-อังกฤษ)

นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 1 ครั้ง

  • Michelle Yeoh (2022, มาเลเซีย)

นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 2 ครั้ง

  • Haing S. Ngor (1984, กัมพูชา)
  • Ke Huy Quan (2022, เวียดนาม-อเมริกัน)

นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ชนะรางวัล 2 ครั้ง

  • Miyoshi Umeki (1957, ญี่ปุ่น-อเมริกัน)
  • Youn Yuh-jung (2019, เกาหลีใต้)

ตลอด 95 ปี ภาพยนตร์เอเชียที่ได้เข้าชิงมีสัดส่วนน้อยมาก และภาพยนตร์ที่ชนะรางวัลก็ยิ่งน้อยไปอีก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เวทีออสการ์ดูเหมือนจะเริ่มเปิดพื้นที่ให้ภาพยนตร์เอเชียมากขึ้นแล้ว

ประเทศไทยเคยเสนอชื่อภาพยนตร์ 30 เรื่อง เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม เช่น น้ำพุ (1984), ลุงบุญมีระลึกชาติ (2010), ร่างทรง (2021), One for the Road วันสุดท้าย..ก่อนบายเธอ (2022) เป็นต้น แต่ก็ไม่มีเรื่องไหนได้รับคัดเลือก หันกลับมามองสถานการณ์ปัจจุบันของวงการภาพตร์ไทยแล้วก็รู้สึกเศร้า ในฐานะคนไทยก็อยากจะเห็นภาพยนตร์ไทยได้รางวัลออสการ์สักครั้งในชีวิต เพราะจริง ๆ แล้วภาพยนตร์ไทยดี ๆ ก็มีมากมาย เหลือแต่การสนับสนุนจากภาครัฐให้มันดีขึ้นอีกเท่านั้น