ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี เมื่อ 3 มี.ค. 66 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ไม่นำบุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยมาคำนวณจำนวน ส.ส.จะพึงมีในแต่ละจังหวัด โดยไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา
การแบ่งเขตเลือกตั้ง สำนักงาน กกต.จึงได้คำนวณจำนวนราษฎรใหม่ พบว่า มีจำนวน 162,766 คนต่อ ส.ส. 1 คน ซึ่งเดิมค่าเฉลี่ยที่นับรวมราษฎรที่นับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วยคือ 165,226 คนต่อเขต จึงมีผลทำให้ 8 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. เปลี่ยนแปลง คือ มี 4 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.ลดลง ได้แก่ ตาก, เชียงราย, เชียงใหม่, สมุทรสาคร และมี 4 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น คือ อุดรธานี, ลพบุรี, นครศรีธรรมราช และปัตตานี โดยจังหวัดที่มี ส.ส.มากที่สุด ยังคงเป็น "กรุงเทพมหานคร" จำนวน 33 คน รองลงมาได้แก่ นครราชสีมา 16 คน
ติดตามข่าวและเกาะติดทุกมิติการเลือกตั้ง 2566 กับไทยพีบีเอสได้ทาง www.thaipbs.or.th/Election66
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี เมื่อ 3 มี.ค. 66 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ไม่นำบุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยมาคำนวณจำนวน ส.ส.จะพึงมีในแต่ละจังหวัด โดยไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา
การแบ่งเขตเลือกตั้ง สำนักงาน กกต.จึงได้คำนวณจำนวนราษฎรใหม่ พบว่า มีจำนวน 162,766 คนต่อ ส.ส. 1 คน ซึ่งเดิมค่าเฉลี่ยที่นับรวมราษฎรที่นับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วยคือ 165,226 คนต่อเขต จึงมีผลทำให้ 8 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. เปลี่ยนแปลง คือ มี 4 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.ลดลง ได้แก่ ตาก, เชียงราย, เชียงใหม่, สมุทรสาคร และมี 4 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น คือ อุดรธานี, ลพบุรี, นครศรีธรรมราช และปัตตานี โดยจังหวัดที่มี ส.ส.มากที่สุด ยังคงเป็น "กรุงเทพมหานคร" จำนวน 33 คน รองลงมาได้แก่ นครราชสีมา 16 คน
ติดตามข่าวและเกาะติดทุกมิติการเลือกตั้ง 2566 กับไทยพีบีเอสได้ทาง www.thaipbs.or.th/Election66