หากรู้สึกว่าง่วงนอนตลอด หรือว่านอนมากเกินไป มาทำความเข้าใจกับ “โรคนอนเกิน” ดีกว่า

25 ต.ค. 65
ATTENTION PLEASE , ATTENTION PLEASE! หากรู้สึกว่าง่วงนอนตลอด หรือว่านอนมากเกินไป มาทำความเข้าใจกับ “โรคนอนเกิน” ดีกว่า โรคนอนเกิน (Hypersomnia) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อาการ Over Sleep เป็นโรคที่ทำให้เราหลับเกินพอดี หรือรู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ต้องการนอนต่อไป ขอเพิ่มเวลานอนอีก ง่วงตลอดเวลา เหมือนคนขี้เซา ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และพฤติกรรมในการใช้ชีวิตได้ ต้นเหตุของโรคนี้ มีหลายสาเหตุ คือ ส่งต่อจากพันธุกรรม การอดนอนบ่อย นาฬิการ่างกายปรับเวลาผิด การกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ และเนื้องอกในสมอง ส่งผลให้เรา เสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน , โรคเบาหวาน , โรคซึมเศร้า สมองทำงานช้าลง และปวดหัว , ปวดหลัง ทางแก้ไขเพื่อป้องกันโรคนี้ จัดรอบการนอน (Sleep Cycle) ให้ถูกต้อง และทำเป็นกิจวัตรให้ได้ (รอบการนอน 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 90 นาที ในหนึ่งคืนควรมีรอบการนอน 3-6 รอบ จึงจะเป็นการนอนที่เต็มอิ่ม) กำหนดเวลานอน / ตื่นนอน เวลาเดิมทุกวัน ติดต่อกัน 21 วันอย่างเคร่งครัด (ตามทฤษฎี 21 วัน) เพื่อให้นาฬิการ่างกายจดจำเวลาใหม่ได้ และเกิดเป็นพฤติกรรมการนอนที่ถูกต้อง จัดห้องนอนให้โปร่ง โล่งสบาย อากาศถ่ายเทสะดวก ทำให้ร่างกายสูบฉีดเลือด ด้วยการออกกำลังกาย อาจเริ่มจากการเดิน หรือออกกำลังกายบนเตียงเบา ๆ งดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรืออาหารที่มีน้ำตาลเยอะ ที่มา : กรมสุขภาพจิต , โรงพยาบาลสมิติเวช , โรงพยาบาลกรุงเทพ , คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

หากรู้สึกว่าง่วงนอนตลอด หรือว่านอนมากเกินไป มาทำความเข้าใจกับ “โรคนอนเกิน” ดีกว่า

25 ต.ค. 65
ATTENTION PLEASE , ATTENTION PLEASE! หากรู้สึกว่าง่วงนอนตลอด หรือว่านอนมากเกินไป มาทำความเข้าใจกับ “โรคนอนเกิน” ดีกว่า โรคนอนเกิน (Hypersomnia) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อาการ Over Sleep เป็นโรคที่ทำให้เราหลับเกินพอดี หรือรู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ต้องการนอนต่อไป ขอเพิ่มเวลานอนอีก ง่วงตลอดเวลา เหมือนคนขี้เซา ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และพฤติกรรมในการใช้ชีวิตได้ ต้นเหตุของโรคนี้ มีหลายสาเหตุ คือ ส่งต่อจากพันธุกรรม การอดนอนบ่อย นาฬิการ่างกายปรับเวลาผิด การกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ และเนื้องอกในสมอง ส่งผลให้เรา เสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน , โรคเบาหวาน , โรคซึมเศร้า สมองทำงานช้าลง และปวดหัว , ปวดหลัง ทางแก้ไขเพื่อป้องกันโรคนี้ จัดรอบการนอน (Sleep Cycle) ให้ถูกต้อง และทำเป็นกิจวัตรให้ได้ (รอบการนอน 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 90 นาที ในหนึ่งคืนควรมีรอบการนอน 3-6 รอบ จึงจะเป็นการนอนที่เต็มอิ่ม) กำหนดเวลานอน / ตื่นนอน เวลาเดิมทุกวัน ติดต่อกัน 21 วันอย่างเคร่งครัด (ตามทฤษฎี 21 วัน) เพื่อให้นาฬิการ่างกายจดจำเวลาใหม่ได้ และเกิดเป็นพฤติกรรมการนอนที่ถูกต้อง จัดห้องนอนให้โปร่ง โล่งสบาย อากาศถ่ายเทสะดวก ทำให้ร่างกายสูบฉีดเลือด ด้วยการออกกำลังกาย อาจเริ่มจากการเดิน หรือออกกำลังกายบนเตียงเบา ๆ งดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรืออาหารที่มีน้ำตาลเยอะ ที่มา : กรมสุขภาพจิต , โรงพยาบาลสมิติเวช , โรงพยาบาลกรุงเทพ , คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี