ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไขคำตอบ 6 หลุมยุบขุนยวม บนแนวรอยเลื่อนมีพลัง

สิ่งแวดล้อม
4 เม.ย. 68
13:49
3,502
Logo Thai PBS
ไขคำตอบ 6 หลุมยุบขุนยวม บนแนวรอยเลื่อนมีพลัง
อ่านให้ฟัง
05:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักธรณีวิทยา ลงสำรวจหลุมยุบ 6 หลุมใน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน หลังแผ่นดินไหวใหญ่ 8.2 เมื่อ 7 วันก่อน ชาวบ้านกังวลไม่กล้าเข้าพื้นที่ เหตุพบอยู่บนแนวรอยเลื่อนมีพลัง

กรณีแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ในเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.-4เม.ย.นี้กรมอุตุนิยมวิทยา ยังรายงานเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา 305 เหตุการณ์ นอกจากนี้ยังพบในไทยมีหลุมยุบขนาดใหญ่ 

ภาพมุมสูง เผยให้เห็นสภาพของหลุมยุบขนาดใหญ่กลางพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน ที่บ้านแม่สุริน ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน หลังดินเกิดยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว และยังคงยุบตัวต่อเนื่องรวมกัน 6 หลุม

เบื้องต้น นายอำเภอขุนยวม พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าไม้ขุนยวม และนักวิชาการชำนาญการ กรมทรัพยากธรณีวิทยา ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบ 

จากการสำรวจพบหลุมขนาดใหญ่ 1 หลุม เป็นรูปวงรี กว้าง 22 เมตร ยาว 27 เมตร และยังเจอหลุมย่อยอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงรวม 6 หลุม สำหรับหลุมขนาดใหญ่ มีน้ำขัง ยังไม่สามารถวัดความลึกได้

นายศรีมูล ฟูเฟื่อง ชาวบ้านในพื้นที่ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน

นายศรีมูล ฟูเฟื่อง ชาวบ้านในพื้นที่ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน

นายศรีมูล ฟูเฟื่อง ชาวบ้านในพื้นที่ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน

นายศรีมูล ฟูเฟื่อง ชาวบ้านในพื้นที่ยอมรับว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ชาวบ้านในหมู่บ้านพากันหวาดกลัว เนื่องจากยังคงมีมีดินทรุดอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่กล้าเข้าใกล้หลุม หากจะไปใส่ปุ๋ย หรือรดน้ำพืชผลทางการเกษตรต้องหาคนไปด้วยกัน ไม่กล้าไปตามลำพัง

กลัวถ้ามาคนเดียวก็กลัวเพราะใกล้กับพื้นที่ เพราะกลัวจะยุบลงไป ต้องหาคนมาดูไร่

ด้าน น.ส.น้ำฝน คำพิลัง นักวิชาการชำนาญการ กรมทรัพยากรธรณี กล่าวภายหลังมีการสำรวจเบื้องต้น ระบุว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นหินปูน สามารถละลายน้ำที่เป็นกรดอ่อน ๆ ได้ เมื่อน้ำที่เป็นกรดอ่อนๆ ไหลลงไปตามรอยแยกใต้ดิน และกัดเซาะหินปูนที่อยู่ด้านล่าง ทำให้เกิดเป็นโพรงโดยมีน้ำเป็นตัวพยุงไว้

แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งอาจเกิดจากแผ่นดินไหว ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลง จึงเกิดการทรุดตัวลง ทำให้เกิดหลุมยุบ

ภูเขาที่เห็นมันจะเป็นหินปูน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ ถ้าน้ำเป็นกรดอ่อนๆ ด้านล่างมีโพรงอยู่แล้ว ทำให้เกิดหลุมยุบน่าจะมาจากผลกระทบกับตัวแผ่นดินไหว
น.ส.น้ำฝน คำพิลัง นักวิชาการชำนาญการ กรมทรัพยากรธรณี

น.ส.น้ำฝน คำพิลัง นักวิชาการชำนาญการ กรมทรัพยากรธรณี

น.ส.น้ำฝน คำพิลัง นักวิชาการชำนาญการ กรมทรัพยากรธรณี

ขณะที่ทางอำเภอขุนยวม เตรียมทำหนังสือร้องขอไปยังกรมธรณีวิทยา เพื่อส่งเจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาฟิสิกส์ นำเครื่องมือที่ทันสมัยมาตรวจตรวจสอบหลุมยุบดังกล่าวอย่างละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากตรงนี้อยู่บนรอยเลื่อนมีพลังของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่อีกครั้ง

สำหรับแผ่นดินไหวในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าตลอดทั้งวันของเมื่อวานนี้ (3 เม.ย.) ตรวจพบ 3 ครั้ง คือช่วงสาย ที่ ต.เมืองแปง อ.ปาย ส่วนช่วงบ่ายอีก 2 ครั้งที่ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนและ ต.หมอกจำแป่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีขนาด 2.4-3

อ่านข่าว ไขคำตอบ! แรงสะเทือนใต้พิภพ กระทบน้ำพุสีขุ่น-หยุดไหล-ดินผุด

หลุมยุบในจ.แม่ฮ่องสอน กรมทรัพยากรธรณีเข้าสำรวจ

หลุมยุบในจ.แม่ฮ่องสอน กรมทรัพยากรธรณีเข้าสำรวจ

หลุมยุบในจ.แม่ฮ่องสอน กรมทรัพยากรธรณีเข้าสำรวจ

น้ำตกห้วยหก ตาน้ำผุดจากแผ่นดินไหว 

ส่วนที่ จ.ลำพูน นักธรณีวิทยาลงพื้นที่สำรวจน้ำตกห้วยหก ใน ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ หลังเกิดแผ่นดินไหวและมีน้ำกลับมาไหลอีกครั้ง ในช่วงฤดูแล้งทั้ง ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีน้ำไหลในช่วงเวลานี้

จากการตรวจสอบบริเวณห้วยหกทั้งสองฝั่ง พบว่าด้านขวาจะมีน้ำไหลออกมา ทำให้เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กด้านล่างของน้ำตก และจากการสำรวจเหนือขึ้นไป พบว่าบริเวณที่มีน้ำไหลออกมา เป็นรอยเดียวกับตาน้ำหรือน้ำซับที่จะมีน้ำไหลในช่วงฤดูฝน

และหยุดไหลในช่วงฤดูแล้ง ไม่ได้เป็นตาน้ำใหม่แต่อย่างใด แต่หลังเกิดแผ่นดินไหว จึงมีน้ำไหลออกมามากกว่าปกติและไหลในฤดูแล้ง ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในช่วงตลอด 60 ปีที่ผ่านมา

นักธรณีวิทยาระบุว่า ช่วงนี้ยังไม่ควรนำน้ำที่ไหลออกมาไปบริโภค เนื่องจากต้องเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบ เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนหรือโลหะหนักก่อน เช่นเดียวกับทางทางอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ที่ไม่แนะนำให้ประชาชนเข้ามาเยี่ยมชมน้ำตกดังกล่าว

อ่านข่าว

นักวิชาการจับตา “3 รอยเลื่อน” ชี้กระทบแรง เพราะกรุงเทพฯ เป็นแอ่งดินอ่อน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง