เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2568 ภูเขาไฟในไอซ์แลนด์เกิดการปะทุระลอกใหม่ ส่งผลให้มีลาวาพวยพุ่งขึ้นขึ้นจากรอยแยกบนพื้นดินในหลายจุดเป็นแนวยาว จนกลายเป็นกำแพงเพลิง บริเวณชานเมืองกรินดาวิก ล่าสุุดรอยแยกดังกล่าวขยายจาก 700 เมตรเพิ่มเป็น 1,200 เมตร พร้อมมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งตลอดวัน
บางจุด ลาวาปะทุขึ้นสูงจนเห็นเป็นฉากหลังของอาคารในเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์ ท่ามกลางกลุ่มควันและไอน้ำที่ลอยกระจายไปในอากาศ

ทางการสั่งอพยพประชาชนระลอกใหม่ เนื่องจากการปะทุของภูเขาไฟทำให้ลาวาพุ่งออกจากรอยแยกบริเวณด้านหลังที่อยู่อาศัยในเมืองกรินดาวิก
ทางการสั่งอพยพประชาชนระลอกใหม่ เนื่องจากการปะทุของภูเขาไฟทำให้ลาวาพุ่งออกจากรอยแยกบริเวณด้านหลังที่อยู่อาศัยในเมืองกรินดาวิก
ทางการสั่งอพยพประชาชนระลอกใหม่แล้วกว่า 40 ครัวเรือน แม้จะมีชาวบ้านยืนยันว่าจะอยู่ในพื้นที่ไม่อพยพอีกอย่างน้อย 8 คน หลังจากการอพยพครั้งใหญ่เกิดขึ้นไปตั้งแต่ปลายปี 2023 ทำให้ประชากรร่วม 4,000 คนของเมืองนี้ส่วนใหญ่ออกจากพื้นที่เสี่ยงไปหมดแล้ว
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไอซ์แลนด์ ระบุว่า การปะทุเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 09.45 น.ตามเวลาท้องถิ่น บนแนวปล่องภูเขาไฟซุนด์ฮ์นูคากีการ์ ทางเหนือของกรินดาวิก ซึ่งแนวลาวาที่ก่อตัวอยู่ใต้ปากปล่องภูเขาไฟบริเวณดังกล่าวขยายยาวเป็นประมาณ 11 กิโลเมตร ซึ่งกินพื้นที่มากที่สุดนับตั้งแต่การปะทุเมื่อเดือน พ.ย.2023 ซึ่งเป็นการปะทุที่เกิดขึ้นต่อเนื่องบนคาบสมุทรเรกยาเนส นับตั้งแต่ปี 2021

ลาวาพุ่งออกจากรอยแยกบริเวณชานเมืองกรินดาวิก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2025
ลาวาพุ่งออกจากรอยแยกบริเวณชานเมืองกรินดาวิก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2025
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มีความเสี่ยงที่ลาวาจะไหลไปย่านที่อยู่อาศัย เนื่องจากรอยแยกบางส่วนในการปะทุระลอกนี้เกิดขึ้นภายในเขตแนวกั้นที่ทำไว้เพื่อป้องกันเมือง ซึ่งการปะทุเพิ่งจะเริ่มขึ้นและยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทิศทางการเกิดรอยแยกหรือการไหลของลาวาจะออกมาในรูปแบบใด
"ไอซ์แลนด์" มีภูเขาไฟที่ยังคงคุกรุ่นอยู่ 33 แห่งและตั้งอยู่บนแนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่ใหญ่ที่สุด 2 แผ่นบนโลกคือ แผ่นยูเรเชียและแผ่นอเมริกาเหนือ
เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในยุคปัจจุบัน คือการปะทุของภูเขาไฟเอยาฟยาลลาโจกุล (Eyjafjallajökull) ในปี 2010 ซึ่งพ่นเถ้าถ่านเข้าสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้การเดินทางทางอากาศแถบแอตแลนติกหยุดชะงักเป็นเวลาหลายเดือน ขณะที่การปะทุครั้งล่าสุดบนคาบสมุทรนี้เกิดขึ้นเมื่อ 800 ปีก่อนและดำเนินต่อเนื่องเป็นสิบปี
อ่านข่าว
ย้อนรอย 10 ปี แผ่นดินไหวรุนแรงทั่วโลก
ยอดเสียชีวิตแผ่นดินไหวเมียนมา เพิ่มเป็น 2,719 คน
ไม่ได้ล้อเล่น! ทรัมป์ชี้ "มีวิธี" นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัย 3