วันนี้ (27 ม.ค.2568) เวลา 07.00 น.ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 41 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
- นักวิชาการ ติงรัฐบาล แก้ฝุ่นPM2.5 รู้ล่วงหน้าทำไมไม่เร่งหาทางแก้
- "THPA" กฎหมายจัดการ PM2.5 สิงคโปร์ ทางออกที่ไทยควรพิจารณา
12 อันดับ ของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1 เขตหนองจอก 51.8 มคก./ลบ.ม.
2 เขตบึงกุ่ม 51 มคก./ลบ.ม.
3 เขตหลักสี่ 50.3 มคก./ลบ.ม.
4 เขตวังทองหลาง 49.5 มคก./ลบ.ม.
5 เขตบางนา 49.5 มคก./ลบ.ม.
6 เขตสาทร 48.8 มคก./ลบ.ม.
7 เขตมีนบุรี 48.1 มคก./ลบ.ม.
8 เขตสายไหม 47.2 มคก./ลบ.ม.
9 เขตคลองสามวา 46.2 มคก./ลบ.ม.
10 เขตคันนายาว 45.9 มคก./ลบ.ม.
11 เขตบางขุนเทียน 45.5 มคก./ลบ.ม.
12 เขตลาดกระบัง 44.2 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพเหนือ
37.6 - 50.3 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพตะวันออก
36 - 51.8 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพกลาง
35.3 - 49.5 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพใต้
34 - 49.5 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนเหนือ
37.4 - 44.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนใต้
32.8 - 45.5 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง
ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำสุขภาพ:
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
-ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
-ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
อ่านข่าว : ไขคำตอบ กทม. “หมอกเปื้อนฝุ่น”
ทั่วไทย กลับมาหนาวอีกครั้ง อุณหภูมิลดลง 1-5 องศาฯ
หาซื้อยาก หน้ากาก N95 กันฝุ่น ปชช.หันใช้แมสก์ธรรมดาแทน