Thailand Web Stat
ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เหยียดเพศสภาพ" อัตลักษณ์ไม่หาย "Soft Power" ไทย กำไรงาม

สังคม
17 ม.ค. 68
10:29
390
Logo Thai PBS
"เหยียดเพศสภาพ" อัตลักษณ์ไม่หาย "Soft Power" ไทย กำไรงาม
อ่านให้ฟัง
13:04อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ไทย หนึ่งในประเทศทางแถบเอเซีย ที่เปิดกว้างให้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศ จะเห็นได้ว่าในทุก ๆปีในกทม. จะมีการจัดไพรด์ มันท์ "Pride Month" ขบวนพาเหรดธงสีรุ้ง เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของแห่งเสรีภาพของ "LGBTQ+"

กลุ่มคนเหล่านี้ มีทั้งผ่านการตัดแปลงเพศสภาพ ให้เป็นหญิงและชาย และบางส่วนยังไม่ผ่านการแปลงเพศ แต่ทุกคนยังสามารถใช้ชีวิต และประกอบสัมมาชีพได้ตามปกติ มีอิสระเสรีในการแต่งกายข้ามเพศ ไม่ว่าจะเป็น นักร้อง นักแสดง นางงาม นางแบบ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่กล้าแสดงออกมาขึ้นกว่าในอดีต

ไม่เพียงเฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่เปิดเสรีในการแสดงออก และมีกฎหมายสมรสเท่าเทียว แต่ที่เกาหลีใต้ ที่ยังไม่ได้มีการยอมรับอย่างเต็ม หากแสดงออกผ่านตัวละครที่ชื่อว่า "โช ฮย็อน-จู (Cho Hyun-ju)" หรือ "ออนนี่" ผู้เล่นหมายเลข 120 ชายข้ามเพศจากซีรีย์ Squid Game 2 กล่าวผ่านบทละครว่าอยากใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในประเทศไทย

การยอมรับทั้งในแง่กฏหมายและการแสดงออกอย่างเปิดกว้าง ถือได้ว่าดินแดนขวานทองแห่งนี้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่เป็น"Soft Power สีรุ้ง" ให้กับประเทศได้อย่างเหลือเชื่อ

"สมรสเท่าเทียม" ไทย "ชาติแรก" ในอาเซียน

วันที่ 23 ม.ค.2568 จะกลายเป็นวันประวัติศาสตร์ของ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม"เนื่องจากพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยเปิดโอกาสให้คู่รักทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างถูกกฎหมาย พร้อมให้สิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกัน ทั้งการจัดการมรดก-ทรัพย์สิน และการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน 

นับเป็นชาติแรกในอาเซียน และเป็นชาติที่ 3 ของเอเชีย รองจากไต้หวัน และเนปาลที่ล้ำหน้าไปก่อนแล้ว นอกจากนี้กฎหมายยังเปิดโอกาสให้กลุ่มLGBTQ+ ต่างชาติเข้ามาจดทะเบียนสมรส โดยมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายสากล ไม่มีปัญหาเรื่องพินัยกรรม การแย่งชิงมรดก

ดังภาพยนตร์ "วิมานหนาม" ที่สะท้อนปัญหาหลังการเสียชีวิตของ คู่รักชาย-ชาย ที่ดินซึ่งเป็นมรดกของพ่อถูกนำไปจำนอง แต่แฟนหนุ่มของผู้ตาย ไปไถ่คืน กลับไม่ได้รับมรดก หากที่ดินผืนนั้นตกเป็นของแม่ผู้ตาย โดยแฟนหนุ่ม ไม่ได้อะไรกลับมาเลย

แต่เหรียญมักมีสองด้านเสมอ แม้จะกฏหมายจะให้การยอมรับและสังคมจะเปิดกว้างมากขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหา "การเหยียดเพศ" ยังคงมีให้เห็นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในโซเชียล เช่น การเกิดขึ้นของเพจ คอนเทนต์คุณภาพ, Conner788 หรือ สภาโรเดเซีย และในชีวิตประจำวัน ขณะที่บางประเทศ ยังคงรับไม่ได้กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 

การเหยียดเพศ ไม่ได้มีผลจากนิสัยส่วนตัวและบุคคลิกลักษณะของปัจเจก แต่เพราะ "สิทธิเสรีภาพ" บีบบังคับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความหลากหลายมากจนเกินไป

โลกแห่ง "ความอดทนอดกลั้น" รอวันปะทุ

แม้ในยุคปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ยังเชิดชูคุณค่าตามหลักการ "เสรีนิยม (Liberalism)" ที่ต้องให้ "สิทธิและเสรีภาพ" ระดับสูงสุด บุคคลกระทำการใดได้โดยเสรี ไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน มีความเป็น "พหุนิยม (Pluralism)" เคารพในความหลากหลายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ (Ethnic) ศาสนา (Religion) เพศวิถี (Gender) หรือ ชนชั้น (Class)

แต่การเคารพความหลากหลายนี้ สิ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ คือ "ความอดทนอดกลั้น (Toleration)" เพราะวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ หรือสิ่งที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยึดมั่นถือมั่น เลี่ยงไม่ได้ที่จะขัดแย้งกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเสมอ

เช่น หากมีวิถีเป็น LGBTQ+ ย่อมขัดกับ "วิถีมุสลิม"  ซึ่งตามหลักศาสนาอิสลามไม่เปิดรับความหลากหลายทางเพศ และไม่ยอมรับการแสดงออกอย่างผิดเพศสภาพ  ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษ ต่างๆ นานา การปาหินหรือ การนำตัวไปเฆี่ยนตี หากไม่อดทนอดกลั้นต่อกัน คนสองกลุ่มอาจทำสงครามกันเข่นฆ่าให้ตายไปข้างหนึ่ง

คริสเตียน โรสท์โบลล์ (Christian F. Rostbøll) เสนอไว้ใน บทความวิจัย Compromise and Toleration: Responding to Disagreement ความว่า ในเมื่อยึดถือคุณค่าเสรีนิยม ที่เชิดชู "สัมพัทธนิยม (Relativism)" คือ ต้องเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ก้าวก่ายกัน แม้ไม่ชอบใจ จึงจำเป็นต้องอยู่กันไปแบบอึดอัด เสรีภาพเป็นสิ่งที่ "มีขอบเขต" ใช้พร่ำเพรื่อไม่ได้ ไม่เช่นนั้น สังคมไม่มีทางที่จะอยู่ร่วมกัน

แต่ในนามของเสรีนิยม เมื่อวิถีใดวิถีหนึ่งเข้าครอบครองพื้นที่ของสังคม วิถีนั้นจะทำการ "บังคับ" ให้ผู้อื่นรับเชื่อสิ่งที่ตนเป็นให้ได้ เช่น การอยากให้ทั้งโลกเข้าใจ LGBTQ+ นอกจากให้ความรู้ ยังมีการ "ประนาม" การกระทำที่ไม่อภิรมย์อีกด้วย เช่น การแสดงออกผ่านโซเชียลเพื่อกดดัน หรือที่เรียกว่า "ทัวร์ลง"​

แต่ความอดทนอดกลั้นของมนุษย์ "มีขีดจำกัด" เมื่อถึงจุดเดือดจริง ๆ ก็ไม่สามารถใช้อาวุธประหัดประหารกันได้ง่าย ทางเดียวที่จะปลดปล่อยความคับข้องใจ คือ "กวนประสาทสังคม" เช่น การตามแซะในโลกออนไลน์

หรือ "การหาพวกพ้อง" ที่ไม่พอใจกับความอดทนอดกลั้น โดยการสร้าง Community เฉพาะกลุ่มขึ้นเพื่อหวังให้เกิด "แรงผลักดันสวนกลับ" วิถีที่ครอบครองพื้นที่นั้นอยู่ ตัวอย่างจากโลกมุสลิม ที่ออกกฎห้าม LGBTQ+ เข้าประเทศ หรือการปาหินผู้ผิดเพศ ซึ่งหากกลุ่มโลกเสรีมองเข้า อาจรู้สึกคับแค้นใจ แต่สำหรับชาวอาหรับ ถือเป็นปกติของสังคม

สังคมอาจไม่ได้รู้สึกว่า สิ่งรอบตัวเป็นประเด็นที่รับไม่ได้ ตราบเท่าสิ่งที่คิดว่าเป็นประเด็นไม่ได้เขยิบเข้ามาใกล้ และกดดันมากเกินไป เช่น หาก LGBTQ+ อยู่กันอย่างสงบ ๆ ไม่ไป "Educated" โลกมุสลิม แบบนี้อยู่กันได้ แต่หากเสนอแนะความรู้เมื่อใด การปะทะกันที่รุนแรงย่อมมาถึง

ทางออกนี้ คริสเตียน โรสท์โบลล์ เสนอไว้ใน บทความวิจัย Democratic respect: Populism, resentment, and the struggle for recognition ว่า หากจะอยู่ให้ได้ ต้องสร้าง "Compromise" หรือ "การประนีประนอม" หมายถึง สังคมต้องมีข้อตกลงร่วมกันว่า จะอดทนอดกลั้นได้มากน้อยเพียงใด บางเรื่องอดทนได้ เช่น การที่ LGBTQ+ จะแต่งตัวอย่างไร หรือพูดจาอย่างไร มีวิถีชีวิตอย่างไร แต่บางเรื่องทนไม่ได้จริง ๆ เช่น การทำร้ายร่างกายหรือฆาตกรรม LGBTQ+ เพียงเพราะไม่ชอบหน้ากัน

ไทย ถือว่าเป็น "Land of Compromise" ตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เพราะ LGBTQ+ ถือว่าแสดงออกได้อย่างเสรีที่สุดแล้ว บรรดามุสลิมในประเทศมีความอดทนอดกลั้นสูง จากความเข้าใจเรื่องความหลากหลายในพื้นที่ แต่การจะเป็น Global Citizen ได้นั้น LGBTQ+ ในไทย ต้องเรียนรู้ และเข้าใจ "ความเป็นอื่น" ที่ต่างจากไทย

"ทุนนิยมสีรุ้ง" เปิดช่องธุรกิจหากินกับ "LGBTQ+"

การเหยียด "ถูกกดทับไว้" ด้วยโลกของผู้เชิดชูสิทธิและเสรีภาพตามหลักการเสรีนิยม แต่ก็เหมือนภูเขาไฟที่ความเดือดดาลคุกกรุ่นอยู่ใต้พิภพ วันใดวันหนึ่งทนไม่ไหว ก็ปะทุออกมา LGBTQ+ ถือเป็นกลุ่มอัตลักษณ์ที่ขึ้นเป็นกระแสหลักของสังคม มีการรณรงค์ ให้ความรู้ ความเข้าใจต่าง ๆ แม้หลายกลุ่มจะไม่อยากรับทราบ เช่น อิสลาม หรือบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการให้ข้อมูลในลักษณะนี้ ด้วยเห็นว่า "ยัดเยียด"เกินไป จึงทำให้เกิดการออกมาเหยียดเพศสภาพ โดยเฉพาะในโลกโซเชียล

กล่าวคือ การเหยียดไม่เคยจางหายจากสังคมโลก เพียงแต่ซุกไว้ใต้พรมเท่านั้น แต่ในบางประเทศ การเหยียดเพศแบบตรง ๆ มีให้เห็นทั่วไป เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่มีลักษณะเป็น "ขงจื่อ (Confucian)" ที่กำหนดบทบาทของเพศชาย-หญิง อย่างชัดเจน การผิดไปจากเพศสภาพ และเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้

ทั้งนี้ ในเมื่อสากลโลกยอมรับ LGBTQ+ จำนวนหนึ่ง และกำลังเป็นที่นิยม มาแรงแบบหยุดไม่อยู่ ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงจากวิถีชีวิต มาสู่ "สินค้า (Commodity)" ที่สามารถทำเงินให้นายทุนได้ ไม่ว่านายทุนจะชอบหรือไม่ชอบ LGBTQ+ ก็ตาม เรียกว่า "Rainbow Capitalism" หรือ "ทุนนิยมสีรุ้ง"

จากรายงานของ LGBT Capital พบว่า มีมูลค่าทั่วโลกสูงถึง 170.7 ล้านล้านบาท สูงกว่า GDP ไทยเกือบ 10 เท่า

วิทยานิพนธ์ Rainbow Capitalism: Disney and Its Effects เขียนโดย เดลิราห์ การ์เลตต์ (Delilah Garrett) เสนอว่า ทุนนิยมสีรุ้ง นอกจากจะทำเพื่อแสวงหากำไรของนายทุนแล้ว ยังทำเพื่อชื่อเสียง (Reputation) และการยอมรับ (Recognition) ของสังคมที่มีต่อแบรนด์นั้น ๆ อีกด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ดิสนีย์ (Disney) ที่ขยันรีเมคภาพยนตร์ที่ใส่ความเป็น LGBTQ+ เข้าไป เช่น ตัวละคร รายา (Raya) จาก Raya and the Last Dragon นั้นเป็น "เควียร์ (Queer)" หรือ ผู้ไม่สนใจเพศวิถีแบบชาย-หญิง

แต่ความนิยม ดิสนีย์ กลับลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะหวังเพียงกำไรจากการขายของให้ผู้สมาทานวิถี LGBTQ+ จนกลายเป็นการยัดเยียดให้ผู้ชมเป็นอย่างที่ผู้สร้างอยากให้เป็น

เดลิราห์ การ์เลตต์ อธิบายประเด็นนี้ว่า เป็นความไม่ยั่งยืนของการประกอบธุรกิจ เพราะไม่ได้มีใจกับสีรุ้งจริง ๆ ได้เงินมากมาย แต่ไม่ได้ใจ ผู้รักในภาพยนตร์ที่ต้องการ "เสพคอนเทนต์" มากกว่าอัตลักษณ์ที่อยุ่นอกเหนือจากนั้น

ปัญหาของทุนนิยมสีรุ้ง ยังไม่หมดไป เพราะประเทศที่ไม่ยอมรับกลุ่ม LGBTQ+ โดยเฉพาะ เกาหลีใต้ เล็งเห็นประโยชน์ในการกำไร แต่ใช้ได้แนบเนียนกว่า โดยการแอบใส่ฉาก Service ที่ชวนคิดว่าเป็นโมเมนต์ LGBTQ+ ไม่ได้บอกตรง ๆ ว่า ตัวละครนั้นเป็นหรือไม่ เช่น ซีรีย์ Nevertheless ที่เติมฉากกุ๊กกิ๊กของสองสาว "ยุน โซล และ ซอ จี วาน" ให้ชวนจิกหมอนว่าเป็น "เลสเบี้ยน (Lesbian)" หรือหญิงรักหญิง

หากเปรียบไทยที่เป็นแดนสวรรค์ของเหล่า LGBTQ+ แล้ว กลับพบว่า "ซีรีย์วาย" หรือ ชายรักชาย ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพียงผลิตจำหน่ายเฉพาะตลาดในประเทศ ที่มีประชากร LGBTQ+ มากกว่า 4 ล้านคน ก็ฟันกำไรมหาศาล ยังไม่นับตลาดเอเชีย ที่มีมากกว่า 300 ล้านคน ประกอบกับ ข้อมูลของ SCB EIC ที่ชี้ว่า การเติบโตในอุตสาหกรรมนี้ มากกว่าร้อยละ 17 ภายในประเทศ และสูงถึงร้อยละ 479 ทั่วทั้งโลก ทำให้เป็นเรื่องของโอกาส มากกว่าการคิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องการเหยียดเพศสภาพจะดีกว่าหรือไม่

สุภาษิตว่า "การนินทากาเลเหมือนเทน้ำ" ไม่ว่า ใคร จะเกิดมามีอัตลักษณ์แบบใด ย่อมหนีไม่พ้นการถูกเหยียด ด้อยค่า หรือบั่นทอนเสมอ แต่สิ่งสำคัญ คือ ในโลกของทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยเงิน อัตลักษณ์ที่มีอยู่สามารถสร้าง"กำไร" ได้มากน้อยเพียงใด หากคิดเช่นนี้ "คุณค่าที่คุณคู่ควร" จะเพิ่มสูงขึ้น

แหล่งอ้างอิง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Failed to load player resources

Please refresh the page to try again.

ERROR_BYTEARK_PLAYER_REACT_100001

00:00

00:00

ให้คะแนนการอ่านข่าวนี้