ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ยันโอมิครอน JN.1 คงอยู่ระบาดในไทย-ไม่พบสายพันธุ์ใหม่

สังคม
7 ม.ค. 68
13:54
736
Logo Thai PBS
ยันโอมิครอน JN.1 คงอยู่ระบาดในไทย-ไม่พบสายพันธุ์ใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยันโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ยังเป็นสายพันธุ์ระบาดที่พบมากที่สุดในไทย 1,480 คน คิดเป็นสัดส่วน 66.23% ยันข่าวลือสายพันธุ์เดลตาครอน XBC เป็นข้อมูลเก่า

กรณีที่มีการแชร์ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ว่า มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์เดลตาครอน XBC นั้น วันนี้ (7 ม.ค.2568) นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเก่า โดยสถานการณ์สายพันธุ์โควิด 19 ภาพรวมทั่วโลกจากฐานข้อมูลกลาง GISAID ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค.-10 พ.ย.2567 สายพันธุ์ KP.3.1.1 พบมากที่สุด ในสัดส่วน 45.6% มีอัตราการพบลดลงเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 45

ส่วนสายพันธุ์ XEC พบเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 28.4% สายพันธุ์ JN.1 พบสัดส่วน 13.1% ขณะที่สายพันธุ์ KP.3 , KP.2, JN.1.18 ขณะที่สายพันธุ์ Recombinant และ LB.1 มีแนวโน้มลดลง คิดเป็น 7.7%  1.5%, 1.3%, 1.2% และ 1% ตามลำดับ

อ่านข่าว ค่าฝุ่น PM 2.5 กทม.เช้านี้เกินมาตรฐาน 70 พื้นที่ ติดอันดับ 9 โลก

ขณะนี้สายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด 1,480 คน คิดเป็นสัดส่วนสะสม 66.23% ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่พบในไทย

ขณะที่ทั่วโลกพบจำนวน 426,852 คน จาก 131 ประเทศ (อ้างอิงฐานข้อมูล CoV-spectrum ณ วันที่ 1 ม.ค.-7 ม.ค.2568)

สายพันธุ์โควิด 19 ระบาดในไทยยังไม่พบสายพันธุ์ใหม่

สายพันธุ์โควิด 19 ระบาดในไทยยังไม่พบสายพันธุ์ใหม่

สายพันธุ์โควิด 19 ระบาดในไทยยังไม่พบสายพันธุ์ใหม่

นพ.ยงยศ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังคงเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมในรอบ 30 วัน ระหว่างวันที่ 23 พ.ย.-22 ธ.ค.2567 จำนวน 45 คน พบเป็นสายพันธุ์ JN.1มากที่สุด รองลงมาคือ XEC, KP.2 ซึ่งการเฝ้าระวังติดตามสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ จะช่วยส่งเสริมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการในการรับมือในอนาคต

โดยประเทศไทยเผยแพร่ ข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมสะสม ในฐานข้อมูลกลาง GISAID จำนวน 47,369 คน นับตั้งแต่เริ่มสถานการณ์ระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศไทย

อ่านข่าว จีนรับมือไวรัส HMPV กำลังระบาดหนักในหน้าหนาว

ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังแนะนำให้บุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและมีอาการรุนแรง เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างน้อย 1 เข็ม และรับเข็มต่อไปห่างจากเข็มแรก 6-12 เดือน ผู้ที่ต้องติดต่อหรือสัมผัสกับกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มเสี่ยงควรรับวัคซีน ร่วมกับการปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การปิดปาก ปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และการล้างมือเป็นประจำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง