ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 12 ธ.ค. ช่วยลูกหนี้ 1.9 ล้านราย ยอดหนี้ 8.9 แสนล้าน

เศรษฐกิจ
11 ธ.ค. 67
16:59
6,314
Logo Thai PBS
เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 12 ธ.ค. ช่วยลูกหนี้ 1.9 ล้านราย ยอดหนี้ 8.9 แสนล้าน
คลัง-ธปท. จับมือแบงก์พาณิชย์-รัฐ เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” 12 ธ.ค.นี้ ช่วยลูกหนี้ 1.9 ล้านราย ยอดหนี้ 8.9 แสนล้านบาท คาดหนี้ครัวเรือนลด 10% เฟสต่อไป พร้อมเดินหน้าเติมเงิน 1 ล้านล้านบาท ให้สินเชื่อชนบท

วันนี้ ( 11 ธ.ค.2567) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง, ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ,สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,สมาคมธนาคารไทย ,สมาคมธนาคารนานาชาติ ,สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Banks) บางแห่ง ได้ลงนามความร่วมมือ มาตรการชั่วคราวเพิ่มเติม ภายใต้ชื่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs เฉพาะกลุ่ม

 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง

ครอบคลุมลูกหนี้รวมจำนวน 2.1 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ 1.9 ล้านราย และมียอดหนี้รวมประมาณ 8.9 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ให้ลดลงมากว่าหลาย 10%

สำกรับโครงการ คุณสู้ เราช่วย จะเปิดลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 12 ธ.ค.67 ถึงวันที่28 ก.พ.68 ประกอบด้วย 2 มาตรการ ผ่านเว็บไซต์ https://www.bot.or.th/khunsoo ได้แก่ มาตรการที่ 1 จ่ายตรง คงทรัพย์ เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน รถ และ SMEs ขนาดเล็กที่มีวงเงินไม่สูงมาก ให้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวดและพักภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี

โดยค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดชำระเงินต้นทั้งหมด ซึ่งปีแรกเริ่มชำระเงินต้น 50% ปีที่ 2 ชำระ 70% และปีที่ 3 ชำระ 90% ขณะที่ดอกเบี้ยที่พักไว้ตลอดระยะเวลา 3 ปี จะได้รับการยกเว้น หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลาของมาตรการ (ชำระเงินตรงเวลาและไม่ทำสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนแรกของการเข้าโครงการฯ)

มาตรการ จ่ายตรง คงทรัพย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่วงเงินไม่สูงมาก ให้สามารถรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทั้งบ้าน รถ และสถานประกอบการไว้ได้ ช่วยบรรเทาภาระหนี้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้กับลูกหนี้

โดยค่างวดที่ลดลงจะทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเหลือสำหรับดำรงชีพเพิ่มเติมระหว่างอยู่ในมาตรการ ขณะที่ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นจะช่วยให้ภาระหนี้โดยรวมของลูกหนี้ลดลง

ส่วนมาตรการที่ 2 จ่าย ปิด จบ เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) แต่มียอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) ลูกหนี้จะต้องเข้ามาเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้บางส่วน

โดยมาตรการ จ่าย ปิด จบมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียและยอดหนี้ไม่สูง สามารถเปลี่ยนสถานะการเป็นหนี้ จากหนี้เสียเป็นปิดจบหนี้และเริ่มต้นใหม่ได้เร็วขึ้น

รมว.คลังกล่าวว่า แหล่งเงินทั้ง 2 มาตรการ มาจาก เงินนำส่งเข้า FIDF ของธนาคารพาณิชย์ (ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินฯ) จำนวน 39,000 ล้านบาท และเงินงบประมาณตาม มาตรา 28 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง เพื่อชดเชยให้แบงก์รัฐ 6 แห่ง จำนวนวน 38,920 ล้านบาท

ขณะที่ระยะต่อไป ภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อที่อยู่ในชนบท ซึ่งจะพิจารณาเติมเงินเข้าไปเกือบ 1 ล้านล้านบาท ผ่านกลไกแบงก์รัฐ ส่วนธนาคารพาณิชย์ จะมีการหารือร่วมกันอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางดำเนินนโยบายการให้สินเชื่อผ่อนปรน โดยจะมีการพิจารณาอีกครั้ง

อ่านข่าว:

 ดีเดย์ 16 ธ.ค. ธ.ก.ส. โอนเงินไร่ 1,000 บาท 4.3 ล้านราย

 ครม.เคาะงบ 1,900 ล้านช่วยค่าไฟกลุ่มเปราะบางย้อนหลัง 4 เดือน

"แอ่วเหนือคนละครึ่ง" ใช้สิทธิ์ทะลุเป้า-หวังเพิ่มมาตรการท่องเที่ยว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง