วันนี้ (1 ธ.ค.2567) น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำท่วม และมอบบัตรประชาชนให้กับประชาชนที่มีสถานทางทะเบียนในพื้นที่ จ.เชียงราย
นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ระบุว่า เป็นเรื่องที่ดีที่นายกรัฐมนตรีเห็นความสำคัญแก้ปัญหาคนไร้สัญชาติ ซึ่งสอดคล้องมติคณะรัฐมนตรี 29 ต.ค.2567 ที่จะมีการพัฒนาสถานทางทะเบียนทางกฎหมายให้กับบุคคลไร้สัญชาติที่ได้รับการสำรวจทะเบียนประวัติไว้ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา
ได้แก่ บัตรผู้ไม่มีสัญชาติไทย บัตรเลข 6 หรือบัตรผู้ไม่มีสถานทางทะเบียน บัตร 0 6 8 และ 9 เป็นมติ ครม.เมื่อปี 2548 และกลุ่มบุคคลที่ตกสำรวจ คนกลุ่มนี้มีประมาณ 3 แสนกว่าคน มีสิทธิมายื่นคำร้องสำนักทะเบียนอำเภอที่ตัวเองมีภูมิลำเนาอยู่เกิน 15 ปี ขึ้นไป มีความกลมกลืนกับสังคมไทย
มีมาตรการที่เปลี่ยนแปลง คือ ผู้มายื่นคำร้องขอมีบัตรสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และใบถิ่นที่อยู่ถาวร ไม่ต้องมีพยานรับรองตัวเอง เมื่อยื่นแล้วจะได้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และใบถิ่นที่อยู่ถาวรวร ภายใน 5 วัน
กลุ่มผู้เฒ่าที่อยู่มานาน เมื่อยื่นขอมีบัตรสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และใบถิ่นที่อยู่ถาวร ต้องรออีก 5 ปี จึงจะมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติไทย ผู้เฒ่าหลายคนอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ตอนเด็ก เป็นเวลา 40-50 ปีแล้ว
อยากให้มีมติคณะรัฐมนตรีหรือมาตรการอย่างใด เมื่อไปยื่นคำร้องที่ได้ใบต่างด้าว และใบถิ่นที่อยู่ถาวรแล้วขอให้แปลงสัญชาติเลยโดยไม่ต้องรอถึง 5ปี
ผู้เฒ่าหรือผู้สูงอายุที่อยู่ประเทศไทยนาน กลมกลืนกับประเทศไทยรอไม่ไหว อายุ70-90 ปีแล้ว
ส่วนกระบวนการแปลงสัญชาติมีความซับซ้อนมาก โดยผู้ใหญ่บ้านพามาอำเภอ ผ่านการสัมภาษณ์ ผ่านคณะทำงานระดับจังหวัด เข้าสู่คณะทำงานระดับกรมการปกครอง เข้าที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกลั่นกรองระดับชาติ
ไปจนถึงขอพระราชทานแปลงสัญสัญชาติเป็นไทย ก่อนจะสาบานตนเป็นพลเมืองดี จงรักภักดีต่อสถาบัน แจ้งกลับไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จึงจะได้ประกาศชื่อในราชกิจจานุเบกษา ทั้งหมดก็อาจใช้เวลานาน 5-10 ปี บางคนเป็นคนต่างด้าวทั่วไปใช้เวลามาก 10 ปียังไม่ได้สัญชาติเลย
จึงอยากขอให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอเป็นมติคณะรัฐมนตรี ให้ผู้เฒ่ายื่นขอใบสำคัญสำคัญคนต่างด้าวได้แล้วขอให้แปลงสัญชาติได้เลยโดยไม่ต้องรอ 5 ปี
ทั้งนี้ขอให้ทบทวน ปรับปรุงกระบวนการแปลงสัญชาติให้กระชับ รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ไม่จำเป็นออก ใช้เวลาให้เร็วที่สุด สำหรับกลุ่มผู้เฒ่าที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย แต่เป็นผู้เฒ่าอาศัยในประเทศไทยมานาน
ส่วนกลุ่มผู้เฒ่าเป็นชาวเขาดังเดิมในประเทศไทย 19 กลุ่ม ถือเป็นกลุ่มดังเดิมติดแผ่นดิน บางคนบันทึกสถานที่เกิดผิด จากการสำรวจของมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา หรือ พชภ. โดยกรมการปกครองให้สามารถแก้ไขได้ให้เป็นจริงได้ด้วยความสุจริต ชาวเขาดั่งเดิมที่เป็นชาวเขาที่มีสิทธิจะมีสิทธิได้สัญชาติไทย ปี 2543 แต่การปฏิบัติยังไม่เป็นผลเท่าที่ควร
สำหรับกลุ่มคน มติคณะรัฐมนตรี 29 ต.ค.2567 ที่จะมีการพัฒนาสถานทางทะเบียนทางกฎหมายให้กับบุคคลไร้สัญชาติที่ได้รับการสำรวจทะเบียนประวัติไว้ตั้งแต่ปี 2542 มีประมาณ 3 แสนกว่าคน กลุ่มชาวเขาดั่งเดิมมีไม่ถึง 1 หมื่นคน
อ่านข่าว : เลื่อนสอบ TGAT/TPAT 2-5 ภาคใต้ตอนล่าง ทปอ.ห่วงน้ำท่วม
คนไทยไม่เห็นด้วยคดียุบพรรคเหมารวม นิด้าโพล เผย 81.37% ชี้ควรมีสิทธิร้องศาลรธน.