ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"นักกฎหมาย" ตอบคำถาม ทำไมข้อพิพาท "ที่ดินเขากระโดง" ยังไม่จบ

การเมือง
28 พ.ย. 67
11:57
14,439
Logo Thai PBS
"นักกฎหมาย" ตอบคำถาม ทำไมข้อพิพาท "ที่ดินเขากระโดง" ยังไม่จบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"นักกฎหมาย" ไล่เรียงคดีที่ดินเขากระโดง กว่า 5,000 ไร่ จ.บุรีรัมย์ ชี้ประเด็นสำคัญ เหตุใดข้อพิพาทที่ดินยังไม่จบ เชื่อยังใช้เวลาอีกนาน

วันนี้ (28 พ.ย.2567) นายเจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ให้สัมภาษณ์ ในรายการ "ประจักษ์ จับประเด็น" ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีพิพาทที่ดินเขากระโดง โดยระบุว่า กรณีดังกล่าวขณะนี้ในทางกฎหมายมีคำพิพากษามาแล้ว 3 ศาล คือ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค3 และศาลปกครองกลาง ซึ่งต้องพิจารณาว่าคำพิพากษาว่า เป็นอย่างไร

หากไล่เรียงโดยสรุปจะพบว่า กรณีศาลฎีกา นั้นชาวบ้านขอออกโฉนดที่ดินและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คัดค้านการออกโฉนด และท้ายที่สุดศาลฎีกาบอกว่า ออกโฉนดไม่ได้เพราะเป็นที่การรถไฟฯ กรณีที่ 2.ชาวบ้านจะขอออกโฉนดที่ดินและยื่นไปถึงศาลอุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์ฯก็บอกเช่นกันว่า ออกโฉนดไม่ได้เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นที่ของการรถไฟฯ ทั้ง 2 กรณีนี้ หากพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อมีคำสั่งบังคับออกมาจะผูกพันเฉพาะคู่ความ คือ ชาวบ้าน 35 ราย และชาวบ้านกลุ่มที่ 2

นายเจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

นายเจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

นายเจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

ดังนั้น เมื่อมาถึงคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งศาลปกครองกลางก็เห็นว่า พื้นที่เขากระโดง จำนวน 5,080 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟ กรมที่ดินไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ และศาลปกครองกลางให้ไปตั้งคณะกรรมการกลางร่วมกันระหว่าง รฟท.และ กรมที่ดิน เพื่อหาทางออก

แต่กรมที่ดินเห็นว่า การทางรถไฟฯ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่สามารถร่วมตั้งคณะกรรมการกลางร่วมกันได้ ดังนั้นกรมที่ดินจึงดำเนินการประมวลกฎหมายที่ดิน ม.61 ว่าจะดำเนินการแบบใด โดยขอให้การรถไฟฯ ส่งแผนที่มาให้ซึ่งต้องเป็นฉบับปี พ.ศ.2464 ซึ่งเป็นฉบับที่เกิดขึ้นในระหว่างการจัดซื้อและดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในแนวทางรถไฟพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งแผนที่ที่ได้จากการรถไฟฯนั้นเป็นฉบับปี พ.ศ.2539 ซึ่งไม่ใช่แผนที่ ฉบับ พ.ศ.2464 ตามที่ควรจะเป็น

ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง เนื้อที่ 5,080 ไร่ มีมาอย่างยาวนาน

ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง เนื้อที่ 5,080 ไร่ มีมาอย่างยาวนาน

ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง เนื้อที่ 5,080 ไร่ มีมาอย่างยาวนาน

ดังนั้น ทางกรมที่ดินจึงหาแผนที่ฉบับอื่นมาใช้ประกอบ ซึ่งมีแผนที่ประมาณ 4 ฉบับ คือ แผนที่ฉบับปี พ.ศ.2497 และ แผนที่ฉบับปี พ.ศ 2511 แผนที่ฉบับปี พ.ศ 2529 และ แผนที่ฉบับปี พ.ศ.2557 ซึ่งแผนที่เหล่านี้ ข้อมูลไม่ตรงกัน เช่นกรณี ความยาวของทางรถไฟซึ่งมีระยะ 8 กม.แต่เมื่อใช้ดาวเทียมวัด ความยาวทางรถไฟอยู่ที่ 6.2 กม. ซึ่งไม่ตรงกัน

ดังนั้น กรมที่ดินจึงขอแผนที่จากการรถไฟฯมาใช้ ซึ่งการรถไฟก็ไม่ได้นำแผนที่มาให้ ดังนั้น เรื่องทางกฎหมายจึงยังหยุดที่ตรงนี้ หากการรถไฟฯต้องการจะสืบสิทธิ์ของที่ดินดังกล่าวก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย และกรมที่ดินก็จะดำเนินการให้

นายเจษฎร์ ยังกล่าวว่า หากมองในฝั่งการเมือง ซึ่งขณะนี้ทราบว่า ตระกูลชิดชอบมีที่ดินอยู่ราว 200 กว่าไร่ และยังมีพื้นที่ของชาวบ้านด้วยที่อยู่ในพื้นที่ดินเขากระโดง อย่างไรก็ตาม หากการรถไฟฯมีแผนที่ว่ามีสิทธิ์ในที่ดิน 5,000 ไร่ ก็ต้องคืนให้กับการรถไฟฯ แต่การรถไฟยังไม่มีเอกสารและหลักฐานที่ลงตัวได้ว่าจุดไหนเป็นของการรถไฟ อย่างไรก็ตามการรถไฟฯก็ต้องดำเนินการต่อ

ที่ยังไม่จบ ก็อาจจะบอกได้ เพราะต้องไปดำเนินการต่อ เพราะการรถไฟต้องไปสืบสิทธิ์ ในทางกฎหมายที่สามารถทำได้ก็ทำได้เท่านี้ เพราะไม่รู้ว่าเขตอยู่ตรงไหน แผนที่ก็มีหลายฉบับ

ในทางการเมือง หากเห็นว่ามีผู้กระทำการไม่ชอบในกรณีดังกล่าว ก็ดำเนินการฟ้องร้องไปตามขั้นตอน แต่ก็ต้องไปเทียบกับกรณีสนามกอล์ฟอัลไพน์ แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด ดังนั้น กรณีเขากระโดงก็ต้องมาเปรียบเทียบทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ว่าเป็นอย่างไร โดยนำข้อเท็จจริงมาปรับกับข้อกฎหมาย

กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย กฎหมายต้องเป็นใหญ่เสมอ เราปกครองด้วยกฎหมายไม่ใช่ด้วยคน

นายเจษฎร์ ยังกล่าวว่า ยกตัวอย่างว่า กรณีนี้หากชาวบ้านในพื้นที่เขากระโดงซื้อที่ดินจากตระกูลการเมืองดังจริง ต้องไปดูว่าวันนี้ประเด็น คืออะไร ขณะนี้ข้อพิพาทยังอยู่ที่กรณีที่ดิน ไม่ใช่การเอาผิดบุคคล เพราะฉะนั้นขณะนี้ยังอยู่ที่ศาลฯบอกว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ และศาลปกครองกลางบอกว่า ไปดำเนินให้เป็นที่ของการรถไฟฯ โดยกำหนดแนวให้เรียบร้อย จากนั้นจึงจะดำเนินการต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีพยานหลักฐานไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าเป็นของใคร อย่างไร แต่ในเรื่องการเมืองก็ยังคงถกเถียงกันไปได้ แต่ท้ายที่สุดจะจบที่กฎหมาย หากใครทำผิดกฎหมายก็จะถูกกฎหมายลงโทษในท้ายที่สุด

ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง เนื้อที่ 5,080 ไร่ มีมาอย่างยาวนาน

ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง เนื้อที่ 5,080 ไร่ มีมาอย่างยาวนาน

ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง เนื้อที่ 5,080 ไร่ มีมาอย่างยาวนาน

ทั้ง นี้ในมุมของการรถไฟ ก็มียังอุปสรรค คือ ขณะนี้คนที่ทำงานเกี่ยวข้องคงไม่มีคนที่ทำงานในยุคที่ผ่านมาคือปี พ.ศ.2464 แล้ว พ.ศ.2497 หรือในปี พ.ศ.2557 อาจจะยังพอมีอยู่ หรือ เลขในแผนที่ก็ยังไม่ตรงกัน การยิงดาวเทียมก็ไม่ตรงกับที่การรถไฟฯมี ซึ่งแต่ละฝ่ายยังคงสับสน อย่างไรก็ตาม หากการรถไฟฯ บอกว่าที่ดังกล่าวเป็นของการรถไฟก็จะต้องไปหาหลักฐานมา

ขณะที่กรมที่ดินฯก็ยังคงสับสนว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งในส่วนของศาลปกครองกลางอาจไปต่อได้ในชั้นของศาลปกครองสูงสุด ขณะที่ชั้นของศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็จบแล้ว โดยจบผูกพันกับบรรดาคนที่อยู่เป็นคู่ความไม่ใช่ทุกคน (900 ราย) ที่อยู่ในที่ 5,080 ไร่

ทั้งนี้ ยังต้องดำเนินการต่อไป คือ อาจมีขั้นตอนของศาลปกครองสูงสุด และคาดว่าจะใช้เวลาอีกนานเพราะตามที่ศาลมีคำพิพากษา คือ กรณีของชาวบ้าน 35 คน และอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องดำเนินการให้หมดครบทั้ง 900 คน  ซึ่งก็จะใช้เวลาค่อนข้างนาน รวมถึงหลักฐานที่มีอยู่ยังไม่สามารถใช้ได้ รวมถึงหลักฐานแผนที่ปี พ.ศ.2464 ในการพิสูจน์ว่าเป็นของใคร อย่างไร ก็ต้องใช้เวลานาน แต่การรถไฟฯซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไป

 

 

 

อ่านข่าว : รฟท.ปฏิเสธเลือกปฏิบัติ กรณี "เขากระโดง" ยืนยันทำตามขั้นตอน 

ศาลปกครองพิพากษากรมที่ดินละเลยปฏิบัติหน้าที่ ปมที่ดินเขากระโดง

กรมที่ดิน ชี้แจงที่ดินเขากระโดง ยืนยันทำตามคำพิพากษาศาลฯ   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง