ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เหตุผล "ห้ามเขย่าทารกแรง" เสี่ยงบาดเจ็บทางสมองพิการ-ตาย

สังคม
8 พ.ย. 67
16:59
46
Logo Thai PBS
เหตุผล "ห้ามเขย่าทารกแรง" เสี่ยงบาดเจ็บทางสมองพิการ-ตาย
กรมการแพทย์ เตือนห้ามเขย่าทารกวัย 3-8 เดือนแรงๆ เสี่ยงบาดเจ็บทางสมองถึงขั้นเสียชีวิต หรือเสี่ยงพิการ เหตุเขย่าทำให้เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด กระตุกเร็วเนื้อสมองได้รับอันตรายแนะ 4 ท่าอุ้มสัมผัสอบอุ่น

กรณีโซเชียลวิจารณ์พยาบาลคนหนึ่งทำคอนเทนต์มีลักษณะเขย่าทารกแรกเกิด และแกว่งไปมา 

วันนี้ (8 พ.ย.2567)นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันทร์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกว่า การเขย่าเด็กแรงๆ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็ก โดยเฉพาะทารกวัย 3-8 เดือน ได้รับบาดเจ็บทางสมองจนถึงขั้นเสียชีวิต หรือทำให้เด็กพิการตลอดชีวิต เช่น ปัญหาทางสายตา ลมชัก การเรียนรู้ และสติปัญญา

เนื่องจากกล้ามเนื้อคอของทารกยังไม่แข็งแรง เมื่อคอ และศีรษะถูกเหวี่ยงไปมา การเขย่าจะทำให้เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด เกิดเลือดออกในสมอง การเคลื่อนไหวและกระตุกอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อสมองได้รับอันตรายได้

นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า การอุ้มทารกด้วยท่าอุ้มที่ถูกวิธี เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะร่างกายลูกน้อยในขวบปีแรกยังมีการพัฒนาไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร

ดังนั้น การอุ้มลูกด้วยท่าอุ้มลูกที่ถูกวิธี จะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านร่างกาย และจิตใจของลูก ทำให้ลูกน้อยสามารถรู้สึกปลอดภัย สามารถสัมผัสความรัก ความอบอุ่น และช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างคุณพ่อคุณแม่ และบุคคลใกล้ชิดได้เป็นอย่างดี

4 ท่าอุ้มทารกถูกวิธีสื่ออบอุ่น

โดยท่าที่ใช้อุ้มทารก โดยเฉพาะวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน มีดังนี้ ท่าอุ้มไกวเปล เป็นวิธีทั่วไปในการอุ้มลูกน้อยด้วยจังหวะอ่อนโยนมีความเป็นธรรมชาติและง่ายที่สุด สามารถสบตาลูกน้อยได้โดยตรง สื่อถึงความรัก ความผูกพันได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่และเป็นท่าที่ใช้ให้นมลูกได้อีกด้วย

นอกจากท่าอุ้มพาดบ่า ทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย อีกทั้งสามารถเหยียดตัวได้อย่างสบาย ๆ โดยสามารถใช้ท่าอุ้มท่านี้หลังให้นมและช่วยให้ทารกเรอได้

ส่วนท่าอุ้มนอนคว่ำ เป็นท่าที่ใช้อุ้มลูกน้อยเพื่อกล่อมให้พวกเขานอนหลับและช่วยให้เรอได้ และท่าอุ้มหันหน้าเข้าหากัน เป็นการอุ้มทารกที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถสื่อสารกับเจ้าตัวเล็กได้ดีที่สุด เนื่องจากสามารถสบตากันได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

พว.ศิริลักษณ์ ถาวรวัฒนะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยใน กล่าวว่า การอุ้มลูกทารก ผู้อุ้มต้องไม่เกร็งและรู้สึกมั่นใจ โดยใช้มือประคองคอ ศีรษะและลำตัวของทารกเสมอ เพียงเท่านี้เจ้าตัวเล็กก็สามารถสัมผัสถึงสายใยแห่งรักได้อย่างเต็มที่ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขย่าตัวเด็กเพื่อกล่อมนอน

หรือถ้าเป็นเด็กแรกเกิด สามารถตรวจประเมินสภาพการตอบสนองทั่วไปของเด็ก อาจจะใช้วิธีลูบสัมผัสเบา ๆ อย่างไรก็ตาม ก่อนอุ้มทารกน้อยทุกครั้ง อย่าลืมล้างมือให้สะอาด เพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังพัฒนาไม่เต็มที่ เชื้อโรคที่ติดอยู่ตามมือของเราอาจทำให้ทารกป่วยได้

อ่านข่าว

กลโกง "ฟิลแฟน" สว.แจ๊ะเตือนเอ๊ะไว้ก่อน กันตกเป็นเหยื่อรักปลอม

เช็กอาการ "โรคฉี่หนูในเด็ก" หมอเตือนเลี่ยงลุยน้ำท่วม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง