วันนี้ (7 พ.ย.2567) คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎร ตั้งประเด็นสอบข้อเท็จจริง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร ขอพักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ
โดยการเชิญพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และผอ.โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เข้าให้ข้อมูล แต่มีเพียง "ตัวแทน" จาก 2 โรงพยาบาลที่เข้าให้ข้อมูลเท่านั้น
และจากการตั้งประเด็นสอบข้อเท็จจริง พล.ต.ต.สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์ อดีตรองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ อ้างอิงว่า ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือทำการรักษานายทักษิณ จึงไม่ทราบเกี่ยวกับเวชระเบียน และขณะนั้นอยู่ระหว่างพักร้อน ซึ่งตอนนี้ ก็เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด หรือเออรี่รีไทร์
ในช่วงนั้นรับผิดชอบงานด้านการเงิน ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับห้องผู้ป่วยไม่ทราบตอนนั้น ยืนเออรี่ร์ไทร์แล้ว ก่อนที่ย้ายคนไข้มาที่ จึงไม่รู้รายละเอียดในส่วนนี้
ส่วนนพ.วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผอ.ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ กล่าวว่า ถ้าผู้ป่วยมีอาการวิกฤต ก็สามารถส่งต่อผู้ต้องขังไปโรงพยาบาลอื่น ๆ ได้ แต่ไม่สามารถลงในรายละเอียดได้ เนื่องจากเป็นฝ่ายบริหารองค์กร
อ่านข่าว "แพทองธาร" ลั่นปมเวชระเบียน "ทักษิณ" นอน รพ.ชั้น 14 ยึดกม.
พล.ต.ต.สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์ อดีตรองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ
แต่กรณีที่สำคัญเช่น ผู้ต้องหาป่วยติดเตียง กลุ่มเปราะบางที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็จะจะย้ายมาที่พยาบาลเรือนจำทั้ง 142 แห่ง แต่ภารกิจของบุคลากรแพทย์ใน กทม.ในช่วงนั้นมีแพทย์ 15 คน ยังต้องลงพื้นที่ทั้ง 7 แห่งด้วยทำให้บุคลา กรที่ปฏิบัติงานมี 4-5 คน จึงมีข้อจำกัดในการดูแลผู้ป่วย ในกรณีที่มีผู้ต้องขังวิกฤตก็จะส่งตัวไปยังโรงพยาบาล โรงเรียนแพทย์ แต่้มีมาตรฐานในการดูแล
จากที่ตั้งประเด็น กรณีการพักรักษาอาการป่วยของนายทักษิณ ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เป็นไปโดยถูกต้อง ตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ทั้งการ "ขอ" ไปพักรักษาตัว และความต่อเนื่อง "อยู่ยาว"
นพ.วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผอ.ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์
นายรังสิมันต์ โรม ชี้ว่า มีปัญหา ทั้งในเชิงความชอบธรรมและข้อกฎหมาย และพบข้อเคลือบแคลงในกระบวนการตัดสินใจและอนุมัติ เพราะบทบาทของหมอในโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีน้อยมาก สุดท้ายเป็นการโยนกันไปมาและอ้างติดภารกิจ
จากการติดตามรองนายแพทย์ใหญ่ เคยระบุว่าการที่นายทักษิณ ต้องอยู่ไม่ได้อยู่ที่การตัดสินใจของ รพ.ราชทัณฑ์ แต่เป็นการตัดสินใจของหมอเจ้าของไข้ และไม่แน่ใจว่าการรักษาตัวนาน เป็นการตัดสินใจของใคร ไม่มีใครยืนยันได้
ตกลงแล้วนายทักษิณป่วยจริงหรือไม่ หรือนายทักษิณ อาจจะมีส่วนในการตัดสินใจการรักษา
นายรังสิมันต์ โรม คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎร
ประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้านายทักษิณ ไม่ป่วยจริง ก็เป็นไปได้ว่า นายทักษิณ อาจมีส่วนในการตัดสินใจ หรืออาจทำให้เกิดการหลงเชื่อ แล้วประสานและส่งตัว ไปโรงพยาบาลตำรวจ กลายเป็นว่าสุดท้ายนายทักษิณไปอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นการอยู่ด้วยความชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงยืนยันที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้รับข้อมูลว่า นายทักษิณ ไปพักรักษา ที่โรงพยาบาลตำรวจห้องพิเศษ มีค่าใช้จ่ายจำนวน 8,500 บาท ตลอดระยะเวลาการพักรักษาตัว อาจมีค่าใช้จ่ายถึง 1 ล้านบาท โดยรายละเอียด กรรมาธิการฯ จะประชุมพิจารณาและตั้งประเด็น เพื่อสอบข้อเท็จจริงต่อไป