ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ลุ้น 3 เดือนสุดท้าย ส่งออกไทยพุ่ง สนค.หวังทั้งปีโต 2% ตามเป้า

เศรษฐกิจ
28 ต.ค. 67
15:35
57
Logo Thai PBS
ลุ้น 3 เดือนสุดท้าย ส่งออกไทยพุ่ง สนค.หวังทั้งปีโต 2% ตามเป้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“สนค.”เผย ส่งออก 9 เดือนขยายตัว 3.9% หรือ 223,176 ล้าน USD หลังก.ย.ขยายตัว1.1% ต่อเนื่อง 3 เดือน ทะลุ 25,000 ล้านUSD เหตุส่งออกสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมเพิ่ม มั่นใจไตรมาสสุดท้ายยังไปได้ ตั้งเป้าทั้งปี 2%

วันนี้ ( 28 ต.ค.2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึง แนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลืออีก 3 เดือน (ต.ค. ธ.ค.) ยังคงเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ทั้งการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การแข็งค่าของเงินบาท ปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตร และการเปลี่ยนแปลงนโยบายการส่งออกข้าวของอินเดียที่อาจกระทบการส่งออกข้าวไทย

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้มั่นใจว่าหาก 3 เดือนสุดท้ายส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 22,533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลให้ทั้งปีส่งออกไทยขยายตัว 2% ตามเป้า และมูลค่าทั้งปียู่ที่ 290,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำนิวไฮมูลค่าการส่งออกอีกครั้ง หลังจากเคยทำไว้แล้วเมื่อปี 2566 ที่ 287,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับ การส่งออกเดือน ก.ย. ขยายตัว 1.1% หรือมีมูลค่า 25,983.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 889,074 ล้านบาท

ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 25,589 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.9% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 886,336 ล้านบาท เกินดุลการค้า 394.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 2,738 ล้านบาท

ภาพรวม รวม 9 เดือน ของปี 2567 (ม.ค.-ก.ย.) การส่งออก มีมูลค่า 223,176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.9% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 7,957,895 ล้านบาท การนำเข้า มูลค่า 229,132.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 8,264,589 ล้านบาท ขาดดุลการค้า 5,956.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 306,694 ล้านบาท

สำหรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้น มาจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 3.5% โดยสินค้าเกษตร เพิ่ม 0.2% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 7.8% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ไก่แปรรูป และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์

ส่วนสินค้าที่หดตัว เช่นผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และผักกระป๋องและผักแปรรูป ทั้งนี้ 9 เดือนของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 5.4%

ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 2% โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่นรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 9 เดือนของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 3.8%

ทางด้านตลาดส่งออกสำคัญ ส่วนใหญ่ขยายตัว ตลาดหลัก เพิ่ม 2.6% โดยสหรัฐฯ เพิ่ม 18.1% สหภาพยุโรป (27) เพิ่ม 4.1% และ CLMV เพิ่ม 8.3% ส่วนจีน ลด 7.8% ญี่ปุ่น ลด 5.5% อาเซียน (5) ลด 6.7%

ตลาดรอง เพิ่ม 1.3% โดยทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 12% ตะวันออกกลาง เพิ่ม 3.5% แอฟริกา เพิ่ม 1.6% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 15% และสหราชอาณาจักร เพิ่ม 29.3% ส่วนเอเชียใต้ ลด 1.6% รัสเซียและกลุ่ม CIS ลด 9.8% ตลาดอื่น ๆ เพิ่ม 39.3%

เป้าส่งออกปี 2567 กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการนัดหมายหารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อประเมินแนวโน้มและสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะประเมินเป้าหมายการทำงานอีกครั้ง
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ช่วงไตรมาส 4 เป็นช่วงรับออเดอร์ ทำการผลิต และส่งมอบ หากตัวเลขการส่งออกทำได้เฉลี่ยเท่ากับปีที่แล้ว การส่งออกปีนี้จะทำได้ไม่ต่ำกว่า 2% แน่นอน และตัวเลขการส่งออก ก็จะทำนิวไฮ โดยจะนิวไฮทั้งเงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินบาท โดยเงินบาทใช้สมมติฐานที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำตัวเลขทั้งปีอยู่ที่ 10 ล้านล้านบาท

ส่วนปัญหาการส่งออก มองว่า ค่าเงินบาทที่อยู่ที่ 33.5-33.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังบริหารจัดการได้ เพราะเอกชนได้ปรับตัวมาระยะหนึ่งแล้ว และถ้าอยู่ระดับนี้ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือเกิน 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อการส่งออก และดีต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 1 ปี 2568 สำหรับเรือ ค่าระวาง ตู้คอนเทนเนอร์ ตอนนี้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

อ่านข่าว:

CIMBT ชี้ "ทรัมป์" ชนะเลือกตั้ง เทรดวอร์ "สหรัฐ-จีน" ระอุอีกรอบ

เช็กเงื่อนไข ค่าไฟฟรี ก.ย.67 ส่วน ต.ค.ลด 30% ผู้ประสบภัยน้ำท่วม

“ทองคำ” เช้านี้ ไม่เปลี่ยนแปลง รูปพรรณขายออกบาทละ 44,200

ข่าวที่เกี่ยวข้อง