ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดประวัติ "อนุทิน ชาญวีรกูล" แคนดิเดตนายกฯ คนที่ 31

การเมือง
15 ส.ค. 67
12:50
8,415
Logo Thai PBS
เปิดประวัติ "อนุทิน ชาญวีรกูล" แคนดิเดตนายกฯ คนที่ 31
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

สปอร์ตไลท์ฉายไปที่ "อนุทิน ชาญวีรกูล" รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยทันที หลังมติศาลรัฐธรรมนูญ 5 : 4 เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2567 วินิจฉัยให้ นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" กรณีแต่งตั้ง "นายพิชิต ชื่นบาน" เป็นรัฐมนตรี และส่งผลให้ "ครม." ทั้งคณะพ้นตามไปด้วย 

อ่านข่าว : "ชัยเกษม" พร้อมนั่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ยันไร้ปัญหาสุขภาพ

แม้ตามขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสภาผู้แทนราษฎร จะต้องเรียกประชุม สส.ทั้งหมดเพื่อลงมติเลือก "นายกฯ และ ครม." ชุดใหม่ ซึ่งจะเข้ารับหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 168 ก่อนเปิดทางให้ "ครม.ชุดที่พ้นจากตำแหน่ง" ทำหน้าที่รักษาการได้  

ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยสิทธิในการเสนอชื่อ "แคนดิเดทนายกฯ" ให้สภาฯ โหวตเห็นชอบต้องเป็นพรรคแกนนำ เป็นพรรคที่มีเสียงมากที่สุด ในที่นี้คือพรรคเพื่อไทย โดยมีชื่อแคนดิเดทนายกฯ อยู่ 2 ชื่อ คือ นายชัยเกษม นิติศิริ และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร

แต่อย่ามองข้ามพรรคที่มีคะแนนเสียงเป็นลำดับสาม อย่าง พรรคภูมิใจไทย ที่ว่ากันว่า "มาแรง" ชนิดหายใจรดต้นคอพรรคเพื่อไทย ทำให้เต็งหาม อาจได้เข้า "วิน" หากเต็งหนึ่ง อย่าง"ชัยเกษม" มีอุบัติเหตุทางการเมือง ทำให้ไม่ได้ไปต่อ 

ไม่ว่าในวันพรุ่งนี้( 16 ส.ค.) หวยการเมือง "รางวัลที่ 1 " จะไปออกมที่ใครก็ตาม แต่อย่ามองข้าม มท.หนู "อนุทิน"เด็ดขาด เพราะอาจกระโดดข้ามจาก "มท.1" ไปเป็นนายกฯได้ไม่ยาก

อ่านข่าว : 16 ส.ค.เคาะโหวต "นายกรัฐมนตรี" คนที่ 31

ประวัติ อนุทิน ชาญวีรกูล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย มีชื่อเล่น "หนู" เกิดวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2509 ปัจจุบันอายุ 58 ปี เป็นลูกชายของ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีต รมว.มหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

นายอนุทิน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ก่อนไปศึกษาต่อที่ สหรัฐฯ​ เมื่อปี พ.ศ.2532 จบระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮอฟสตรา (Hofstra University)​ ที่นิวยอร์ก​

อ่านข่าว : "อนุทิน" ชี้ส้มไม่หล่นถึงภูมิใจไทย-ยังหนุนนายกฯ เพื่อไทย

ไม่เพียงเท่านั้น นายอนุทิน ในปี พ.ศ.2533 ศึกษา Mini MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ.2548 ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ในปี พ.ศ.2553 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 9 (วตท.9),  พ.ศ.2555 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง รุ่นที่ 1 (มหานคร 1)

ปี พ.ศ.2555 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการพัฒนาเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 3 (พ.ต.ส.3), พ.ศ.2555 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 1 (วพน.1), ในปี พ.ศ. 2556 หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 17 (บ.ย.ส.17)

พ.ศ. 2557 ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, พ.ศ. 2559 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ รุ่นที่ 9 (TepCot 9) และ พ.ศ. 2559 โครงการฝึกอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พ.ศ. 2560 หลักสูตรการปฏิรูปธุรกิจและสร้างเครือข่ายนวัตกรรม รุ่นที่ 1 (BRAIN 1), พ.ศ. 2560 หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 (ปธพ.5), พ.ศ. 2560 หลักสูตรการบริหารการท่องเที่ยวสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 (กทส.1)

พ.ศ. 2560 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศานศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, พ.ศ. 2560 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, พ.ศ. 2561 : ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นอกจากนี้ ยังจบหลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 6 (นธป.6) และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61 (วปอ.61) อีกด้วย

ประวัติการทำงาน 

นายอนุทิน ยังเคยประสบการณ์ทำงานที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น 

  • พ.ศ.2532 : Mitsubishi Corporation, New York, U.S.A., Production Engineer
  • พ.ศ.2533 : บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ทางด้านเทคนิค แผนกโครงการทางด้านการเงิน
  • พ.ศ.2533 : บริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด, ผู้จัดการทั่วไป
  • พ.ศ.2534 : บริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน), ผู้จัดการทั่วไป
  • พ.ศ. 2535 : บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน): ผู้จัดการทั่วไป
  • พ.ศ.2537 : บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน): กรรมการรองผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ
  • พ.ศ.2538 : 2547 – บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน): กรรมการผู้จัดการ
  • พ.ศ.2549 : ประธานคณะกรรมการการก่อสร้างโครงการเขตพระราชฐานฯ
  • 2551 - 2561 : ประธานกรรมการ บริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน)

เส้นทางการเมือง

นายอนุทิน เข้าสู่วงการการเมือง เมื่อปี 2539 โดยการรับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ประจวบ ไชยสาส์น) 

  • ในปี 2547 และ 2548 ดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุข
  • ต.ค. 2547 : มี.ค. 2548 รมช.พาณิชย์
  • มี.ค. 2548 : ก.ย. 2549  รมช.สาธารณสุข

ต่อมาในปี 2550 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย ที่ถูกสั่งยุบ เมื่อ 30 พ.ค.2550 

ในปี 2555 นายอนุทิน สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคต้นสังกัดของ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้เป็นบิดา ที่ย้ายมาจากพรรคพลังประชาชน ร่วมกับ "กลุ่มเพื่อนเนวิน" และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคต่อจากบิดา

จากนั้นในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ.2557 นายอนุทิน ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2562 นายอนุทิน ได้ สส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคภูมิใจไทย และเป็นแคนดิเดตนายกฯ ได้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อเป็นสมัยที่ 2 และยังได้รับแต่งตั้งเป็น รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข

การเลือกตั้งปี 2566 นายอนุทิน ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และต่อมาเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ 

กระทั่งมีการจัดตั้งรัฐบาลครั้งใหม่ ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ซึ่งพรรคก้าวไกลส่งไม่ต่อเนื่องจากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แม้จะเป็นพรรคที่ได้เสียงอันดับ 1 ในการเลือกตั้ง โดยพรรคเพื่อไทยได้เชิญพรรคภูมิใจไทยที่มี สส. 71 เสียง ร่วมจัดตั้งรัฐบาล จนประชาชนทั้งประเทศได้เห็นช่วงนาทีสำคัญคือการร่วมดื่มเครื่องดื่มมิ้นต์ช็อก ด้วยบรรยากาศชื่นมื่น

อ่านข่าว : ดีลมินต์ช็อก! "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย" จับมือร่วมตั้งรัฐบาล

มาถึงรัฐบาลใหม่ 2566 หลังจัดตั้งรัฐบาล และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐบาลทั้งคณะ นายอนุทิน ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และคุมกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการ อีก 1 ตำแหน่ง 

และในเดือน ส.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นนายกรัฐมนตรี ปมแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี ชี้ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง มีลักษณะต้องห้าม และให้รัฐมนตรีพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ทำให้ นายอนุทิน มีชื่อเป็นหนึ่งใน 7 แคนดิเตตนายกฯ คนที่ 31 

อ่านข่าว : ฉบับเต็ม! คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ "เศรษฐา" พ้นนายกฯ

เปิดขั้นตอนสรรหา "นายกรัฐมนตรี" คนต่อไป

เปิดชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก มติ 5 : 4 "เศรษฐา" พ้น "นายกฯ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง