วันนี้ (6 ส.ค.2567) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวถึงรายได้ของคนไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 1,285 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า 46 % มีรายได้เพียงพอกับค่าใช่จ่ายแต่ไม่มีเหลือเก็บไว้สำหรับอนาคต
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ขณะที่ 26% มีรายได้มาเพียงพอ ต้องกู้ยืมเป็นบ้างครั้งบางคราว และ 3.3% มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายต้องกู้ยืมเป็นประจำ เช่น จำนำทรัพย์สินที่มี นำเงินออมออกมาใช้ กดเงินจากบัตรเครดิต หางานพิเศษ กู้ยืมจากญาติ กู้ธนาคาร กู้สหกรณ์ และกู้จากนายทุน มีเพียง 5.5% ที่ตอบมีรายได้เพียงพอและมีเงินเหลือเก็บสำหรับใช้จ่ายในอนาคต
สำหรับภาระหนี้พบว่า 31% ตอบมีหนี้สินเพิ่มขึ้น สาเหตุที่มีนี้สินคือ ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เกิดค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด มีภาระทางการเงินในครอบครัวและใช้จ่ายเกินตัว รวมถึงตกงาน ลงทุนที่ล้มเหลว และ 40%ตอบมีหนี้สินเท่าเดิม โดยแนวทางแก้ข 50% ตอบลดค่าใช้จ่าย รองลงมาปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย เพิ่มรายได้ สุดท้ายปรับโครงสร้างหนี้
ประชาชนส่วนใหญ่กังวลมากสุดในด้านค่าครองชีพสูง เศรษฐกิจชะลอตัว แบกภาระหนี้สูง ความมั่นใจต่อรายได้และอาชีพ ดอกเบี้ยทรงตัวสูง
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า เมื่อถามถึงเงินดิจิทัลในกลุ่มที่ได้ตามเงื่อนไข 82.6% ระบุลงทะเบียนแน่นอน โดย 64% ระบุใช้จ่ายทั้งหมด 10,000 บาทในครั้งเดียว ที่เหลือจะแบ่งใช้จ่าย ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและการศึกษาเป็นอันดับแรก โดยเสนอให้เพิ่มจ่ายค่าน้ำมันและพลังงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า มือถือและภาคบริการด้วย
อ่านข่าว:
Temu "สึนามิ"อีคอมเมิร์ซ รุกคืบกินเรียบสินค้าไทย
"ราคาทอง" ลบ 50 บาท ทองรูปพรรณ” ขายออก 39,673บาท
AI พีค "TDRI" ชี้ตลาดแรงงานต้องการสูง 3 เดือน รับ 5 พันตำแหน่ง