เร่งพิสูจน์ร่องรอยคล้าย "รอยตีนไดโนเสาร์" ภูหินร่องกล้า

สิ่งแวดล้อม
29 ก.ค. 67
14:08
1,227
Logo Thai PBS
เร่งพิสูจน์ร่องรอยคล้าย "รอยตีนไดโนเสาร์" ภูหินร่องกล้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักท่องเที่ยวแห่ดูรอยปริศนาคล้าย "รอยตีนไดโนเสาร์" อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก ประสานกรมทรัพยากรธรณีเข้าตรวจสอบ คาดมีลักษณะใกล้เคียงรอยตีนไดโนเสาร์อายุ 120 ล้านปีบริเวณน้ำตกหมันแดงที่เคยพบปี 2549

วันนี้ (29 ก.ค.2567) กรณีนักท่องเที่ยวพบรอยเท้าคล้ายไดโนเสาร์ บริเวณลานกางเต็นท์ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก โดยโพสต์ภาพและสอบถามในกลุ่ม ”นี่ตัวอะไร“ เป็นภาพคล้ายรอยเท้าไดโนเสาร์ 

โดยผู้โพสต์ระบุข้อความว่า “ใช่รอยเท้าไดโนเสาร์หรือไม่มีอยู่หลายรอย หลายแบบ พิกัดที่ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ที่ลานกางเต็นท์ภูหินร่องกล้า

หลังจากนั้น เฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant ” ของ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แชร์โพสต์ดังกล่าว พร้อมระบุข้อความว่า

ดูจากรูปแล้ว น่าจะใช่รอยเท้าไดโนเสาร์พบบริเวณลานกางเต็นท์ ภูหินร่องกล้า ฝากเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบโดยด่วน  ถ้าใช่จริง ๆ จะได้อนุรักษ์ทัน
เร่งพิสูจน์รอยตีนคล้ายไดโนสาร์ที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

เร่งพิสูจน์รอยตีนคล้ายไดโนสาร์ที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

เร่งพิสูจน์รอยตีนคล้ายไดโนสาร์ที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

กรมทรัพยากรธรณีเข้าตรวจสอบ

นายลำยอง ศรีเสวก หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการประสานกรมทรัพยากรธรณี เตรียมเข้ามาตรวจสอบรอยตีนดังกล่าวว่าใช่รอยตีนไดโนเสาร์หรือไม่ รวมทั้งสำรวจชั้นหินอย่างละเอียด โดยขณะนี้ได้มีการนำเชือกมากั้นแนวที่พบไว้แล้ว ซึ่งพบว่ามีนักท่องเที่ยวที่ทราบข่าวทยอยเดินทางมาดูอย่างต่อเนื่อง

เบื้องต้นจุดที่พบมีรอยเท้าที่มีลักษณะคล้ายรอยตีนไดโนเสาร์ 1-2 รอยที่ใกล้เคียง หรืออาจจะสึกกร่อนโดยธรรมชาติเองหรือไม่ จุดแรกมีรอยคล้ายรอยตีนไดโนเสาร์ กลุ่มเดินสองขา และกลุ่มเดินสี่ขา รอยตีนมีขนาดความกว้างและยาว ที่ 30 ซม. รอยเล็ก 20 ซม.คาดว่าในสัปดาห์จะได้คำตอบที่ชัดเจนว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์หรือไม่  

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2549 อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เคยพบรอยตีนไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ 10 รอย ประทับเป็นแนวทางเดิน 3 ทิศทาง ในหมวดหินภูพาน ยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ 120 ล้านปี โดยห่างจากจุดที่เพิ่งเป็นข่าวประมาณ 20 กม.อยู่ฟากน้ำตกหมันแดง แต่จุดที่พบรอยตีนไดโนเสาร์ไม่ได้เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หากเป็นรอยตีนไดโนเสาร์ ก็จะจัดการพื้นที่ป้องกันไม่รอยตีนไดโนเสาร์เสียหายจากน้ำไหลพัดพาดินหินทรายมาสร้างความเสียหาย และพัฒนาเป็นจุดเช็กอิน แหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวของภูหินร่องกล้า 

รู้จักรอยตีนไดโนเสาร์กินเนื้อ 120 ล้านปี

สำหรับรอยตีนไดโนเสาร์กินเนื้อที่พบในบริเวณลานหินน้ำตกหมันแดง พบเมื่อ 23 พ.ย.2549 เป็นรอยตีนไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่คาร์โนซอร์ เป็นรอยตีนขนาดใหญ่มี 3 นิ้ว จำนวนกว่า 17 รอย เรียงเป็นแนวทางเดิน 4 แนวทางเดิน สภาพของรอยตีนมีความชัดเจน ขนาดรอยตีนมีความกว้างประมาณ 30 ซม. ความยาว 40 ซม.มีความยาวช่วงก้าวประมาณ 120-150 เมตร

สภาพทางภูมิศาสตร์ ของแหล่งซากดึกดำบรรพ์ เป็นลานหินทรายริมน้ำหมันแดง ซึ่งเป็นลำห้วยมีน้ำไหลตลอดปี และในพื้นที่เป็นป่าดิบเขา รอยตีนไดโนเสาร์ พบในหินทรายเนื้อละเอียด สีน้ำตาลและสีม่วงแดง หมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช ยุคครีเทเซียสตอนต้น อายุประมาณ 120 ล้านปี

จากนั้นเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2566 ราชกิจานุเบกษา ประกาศกรมทรัพยากรธรณี ขึ้นทะเบียนแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน แหล่งที่ 22 แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ลำน้ำหมันแดง อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า หลังจากนักธรณีวิทยากรมทรัพยากรธรณี และดร.ฌอง เลอ ลูฟ ผู้เชี่ยวชาญไดโนเสาร์ จากประเทศฝรั่งเศสสำรวจพบ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง